ลิ้งค์เชื่อมต่อ

วิเคราะห์: อัตลักษณ์ที่ชัดขึ้นของชาวฮ่องกง เมื่อปักกิ่ง ‘ประเมินสถานการณ์พลาด’


Protesters hold signs following a day of violence over a proposed extradition bill, outside the Legislative Council building in Hong Kong, China, June 13, 2019.
Protesters hold signs following a day of violence over a proposed extradition bill, outside the Legislative Council building in Hong Kong, China, June 13, 2019.
please wait

No media source currently available

0:00 0:04:13 0:00

การประท้วงในฮ่องกงที่มีผู้ร่วมชุมนุมหลายแสนคน โหมกระเเสการถกเถียงถึงบทบาทของจีนต่อการปกครองในฮ่องกงมากขึ้น และการปราบปรามฝูงชนเมื่อวันพุธ ที่ทำให้มีผู้บาดเจ็บอย่างน้อย 72 คน ยิ่งเพิ่มประเด็นการถกเถียงให้เข้มข้นยิ่งขึ้น

เเม้จุดกำเนิดของการรวมตัวของฝูงชนครั้งนี้ คือเรื่องกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดน แต่นักวิเคราะห์มองว่าเรื่องนี้สะท้อนถึงความพยายามแทรกแซงฮ่องกงโดยจีนแผ่นดินใหญ่ และอาจถือเป็นการประเมินสถานการณ์ผิดของทางการปักกิ่ง

ภายใต้กฎหมายฉบับนี้ ฮ่องกงจะสามารถส่งตัวผู้ต้องหาไปดำเนินคดีที่จีนแผ่นดินใหญ่ได้ รวมทั้งที่เขตแดนอื่น เช่น มาเก๊าและไต้หวัน ซึ่งทางรัฐบาลปักกิ่งระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนในการปกครอง โดยไม่จำเป็นต้องมีข้อตกลงส่งผู้ร้ายข้ามแดนอย่างถาวรต่อกัน

ผู้ไม่เห็นด้วยกับกฎหมายดังกล่าวมองว่า จำเลยผู้ถูกส่งตัวออกจากฮ่องกงไปยังจีนจะสูญเสียสิทธิ์ที่พึงมี เมื่ออยู่ภายใต้การดำเนินการทางกฎหมายในระบอบของจีนแผ่นดินใหญ่

นักรณรงค์เรื่องกฎหมายผู้หนึ่งที่ให้สัมภาษณ์กับวีโอเอ โดยไม่ประสงค์จะออกนามว่า การประท้วงครั้งใหญ่ในประเด็นนี้ แสดงให้เห็นถึงทัศนะคติในแง่ลบของคนในฮ่องกงต่อระบบกฎหมายของจีน

แม้กฎหมายระบุว่า การส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่เกิดขึ้นได้ง่ายขึ้น จะมุ่งไปที่คดีรุนแรงและคดีเศรษฐกิจเท่านั้น

แต่แหล่งข่าวผู้นี้ระบุว่า กฎหมายสามารถถูกใช้เพื่อจัดการกับบุคคลที่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ไม่ชอบ และอาจถูกนำไปเป็นเครื่องมือกดขี่เสรีภาพทางการเมืองและศาสนาได้

เขากล่าวว่าการกดขี่ที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าในประเทศจีน ช่วยยืนยันในเครื่องนี้


ขณะเดียวกัน ปีเตอร์ ดาห์ลิน ผู้อำนวยการองค์กรเพื่อสิทธิมนุษยชน Safeguard Defenders กล่าวว่า ครั้งนี้ถือเป็นการมองสถานการณ์ผิดโดยทางการจีน

เขาบอกว่า กระเเสต่อต้านจีน ได้เเรงหนุนอย่างมาก เมื่อเกิดการผลักดันกฎหมายดังกล่าวโดยผู้บริหารสูงสุดของฮ่องกง แคร์รี่ แลม ซึ่งได้รับการหนุนหลังโดยรัฐบาลปักกิ่ง

และคนจำนวนมากรู้สึกว่าบทบาทหน้าที่ของความเป็นประชากรฮ่องกงคือการต่อต้านรัฐบาลคอมมิวนิสต์ของจีน

นักวิเคราะห์ผู้นี้กล่าว น่าสังเกตว่าตำรวจปราบจลาจล ที่เข้าสลายฝูงชนเรือนแสน เมื่อวันพุธ ใช้มาตรการที่รุนแรงกว่าการปราบปราม กลุ่มเคลื่อนไหว Umbrella Movement เมื่อ 5 ปีก่อน

ในครั้งนั้นกลุ่มนักศึกษาปักหลักประท้วงเป็นเวลา 2 เดือนเพื่อให้ฮ่องกงสามารถเลือกผู้บริหารของตนเองได้โดยตรง ซึ่งในภายหลังทางการก็มิใด้อ่อนข้อใดๆ ต่อคำเรียกร้องของผู้ชุมนุม

สำหรับการประท้วงครั้งล่าสุดนี้ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีน เก็ง ชวง กล่าวประณามความรุนแรง และการบั่นทอนความมั่นคงและความรุ่งเรืองของฮ่องกง

Protesters hold pictures of Hong Kong Chief Executive Carrie Lam as protesters march along a downtown street against the proposed amendments to an extradition law in Hong Kong Sunday, June 9, 2019.19.
Protesters hold pictures of Hong Kong Chief Executive Carrie Lam as protesters march along a downtown street against the proposed amendments to an extradition law in Hong Kong Sunday, June 9, 2019.19.

ในเวลานี้การพูดถึงการชุมนุมที่ฮ่องกง และการอภิปรายเกี่ยวกับกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามเเดนยังคงเป็นเรื่องต้องห้าม ข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตถูกปิดกั้น และลบให้เกลี้ยงมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้โดยทางการปักกิ่ง

แต่ยังคงเป็นการยากที่จะยุติการการแลกเปลี่ยนความคิด วิเคราะห์และวิจารณ์ในหมู่ชาวฮ่องกง ที่เพิ่งผ่านเหตุการณ์การเคลื่อนไหวครั้งสำคัญนี้มาสดๆ ร้อนๆ

(รัตพล อ่อนสนิท เรียบเรียงจากรายงานของผู้สื่อข่าว Bill Ide และ Joyce Huang)

XS
SM
MD
LG