ลิ้งค์เชื่อมต่อ

จีนประกาศปกป้อง ”หลุมสีฟ้า หรือ หลุมมังกร” ในทะเลจีนใต้


FILE - This file aerial view taken on July 27, 2012 shows part of the city of Sansha on the island of Yongxing, also known as Woody island in the disputed Paracel chain, which China now considers part of Hainan province.
FILE - This file aerial view taken on July 27, 2012 shows part of the city of Sansha on the island of Yongxing, also known as Woody island in the disputed Paracel chain, which China now considers part of Hainan province.

หลุมมังกรในหมู่เกาะพาราเซลดังกล่าวมีความลึกจากผิวน้ำถึง 301 เมตร

please wait

No media source currently available

0:00 0:02:17 0:00

รัฐบาลเมือง Sansha ของจีน ซึ่งตั้งอยู่บนหมู่เกาะพาราเซลในทะเลจีนใต้ ออกคำสั่งห้ามเรือท่องเที่ยว เรือประมง และเรือสำรวจที่ไม่ได้รับอนุญาต เข้าใกล้หลุมสีฟ้าหรือ “Blue Hole” แห่งหนึ่ง ซึ่งจีนเรียกว่า "หลุมมังกร" ใกล้เกาะ Yongle

จีนให้เหตุผลว่าเพื่อปกป้องระบบนิเวศน์ในบริเวณรอบๆ “หลุมสีฟ้า” ซึ่งได้ชื่อจากสีของน้ำทะเลที่แตกต่างจากผิวน้ำบริเวณใกล้เคียงนี้ มีความกว้างที่ปากหลุมบนผิวน้ำ 130 เมตร ลึก 301 เมตร และมีความกว้างที่ส่วนฐานที่อยู่บนพื้นทะเลใต้น้ำ 36 เมตร

และจัดเป็นหลุมทะเลที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติที่ลึกที่สุดด้วย

Dragon Hole, in the Paracel Islands
Dragon Hole, in the Paracel Islands

อย่างไรก็ตาม นาย Fabrizio Bozzato นักวิจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของมหาวิทยาลัย Tamkang ในไต้หวัน ชี้ว่าคำประกาศปกป้องด้านสิ่งแวดล้อมของจีน เป็นเพียงมาตรการด้านการทูตสาธารณะเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีเท่านั้น

หลังจากที่จีนได้ถมทะเลในหลายพื้นที่ของทะเลจีนใต้และทำลายพันธุ์ปลาใกล้แนวปะการังไปหลายชนิด

หมู่เกาะพาราเซล ซึ่งอยู่กึ่งกลางระหว่างจีนกับเวียดนามนี้ เป็นกรณีพิพาทระหว่างประเทศทั้งสองมานานแล้ว และจีนได้ประกาศอ้างกรรมสิทธิ์ในหมู่เกาะดังกล่าวมาตั้งแต่ปี 2499

XS
SM
MD
LG