ลิ้งค์เชื่อมต่อ

จับทิศทางลมความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ เมื่อท่าทีของจีนยังคงแข็งกร้าว


แม้รายงานของสื่อจีนจะแสดงความหวังถึงการได้ข้อสรุปแนวทางปฏิบัติหรือ 'code of conduct' ความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ภายในปีหน้า แต่หลายฝ่ายเชื่อว่าท่าทีที่แข็งกร้าวของจีนไม่ได้ช่วยให้บรรลุผลเร็วขึ้น

please wait

No media source currently available

0:00 0:03:18 0:00

สื่อของทางการจีนรายงานสัปดาห์นี้ว่า รัฐบาลปักกิ่งหวังว่าในกลางปีหน้าจะสามารถสรุปของแนวทางการปฏิบัติ หรือ 'code of conduct' สำหรับความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ ที่กรุงปักกิ่งเป็นคู่กรณีกับหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Code of conduct ฉบับนี้ซึ่งจะมีผลทางกฎหมาย คาราคาซังมานาน ท่ามกลางความตึงเครียดที่มากขึ้นในความขัดแย้งดังกล่าว ดังนั้นความหวังที่จะเกิดความคืบหน้าของเอกสารสำคัญฉบับนี้จึงถูกน่าจับตามองอย่างมาก

สื่อ China Daily ของจีนรายงานว่า นักการทูตฝ่ายจีนและฝ่ายประเทศ ASEAN อนุมัติช่องทางการติดต่อระหว่างกันหากเกิดเหตุฉุกเฉิน ทั้งสองฝ่ายคาดว่ากลางปีหน้าน่าจะสามารถสรุปร่าง code of conduce ได้

นักวิเคราะห์บางคนเห็นว่า โอกาสของความตกลงกันอาจไม่สดใสอย่างที่คิด เพราะที่ผ่านมาจีนมีท่าทีที่แข็งกร้าวมากขึ้นกับเรื่องความขัดแย้งนี้

อุณหภูมิความขัดแย้งเพิ่มขึ้นล่าสุดเมื่อศาลระหว่างประเทศที่กรุง Hague ตัดสินไม่ยอมรับการอ้างสิทธิ์เหนือพื้นที่ในทะเลจีนใต้ของจีนด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์

Greg Poling ผู้อำนวยการโครงการ Asia Maritime Transparency Initiative แห่ง CSIS หรือ Center for Strategic and International Studies กล่าวว่าในช่วงสองปีที่ผ่านมา แนวทางของกรุงปักกิ่งเพิ่มความแข็งกร้าวขึ้นอย่างชัดเจน

ในช่วงดังกล่าว จีนสร้างเกาะเพื่อเพิ่มขนาดโขดหินและแนวปะการังที่จมน้ำอยู่ให้กลายเป็นพื้นที่เทียม ในบริเวณที่จีนมีความขัดแย้งเรื่องกรรมสิทธิ์กับประเทศต่างๆ

นัยยะจากโครงการก่อสร้างดังกล่าว คือ จีนมีข้ออ้างที่จะบังคับใช้กฎหมาย และเปิดทางให้มีการเพิ่มบทบาททางทหารในจุดดังกล่าวได้อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ตามความเห็นของ Greg Poling

คำถามที่หลายคนสงสัยคือสหรัฐฯ ควรวางตัวอย่างไรหากจีนยังคงยืนกรานที่จะอ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนที่มีปัญหา

Greg Poling แห่ง CSIS กล่าววา ถ้าจีนมองว่ากรรมสิทธ์เหนือดินแดนในทะเลจีนใต้เป็นประเด็นหลักที่รัฐบาลให้ความสำคัญ ฝ่ายสหรัฐฯ ควรชั่งน้ำหนักว่าผลพวงจากการขัดกับจีนในเรื่องนี้จะคุ้มกับความเสี่ยงหรือไม่

เขากล่าวว่า ประเทศต่างๆ ซึ่งรวมถึงสหรัฐฯ และพันธมิตร เช่น ญี่ปุ่น อาจพยายามป้องปรามจีนไม่ให้แข็งกร้าวมากนัก และในระยะยาวก็คงต้องประณามจีนตามวิธีทางการทูต โดยหวังว่า ในที่สุดปักกิ่งจะรู้ตัวว่าการกระทำที่เป็นอยู่ไม่ใช่แนวทางที่ควรทำในฐานะประเทศมหาอำนาจของโลก

เพราะนั่นอาจบั่นทอนผลประโยชน์แห่งชาติอื่นๆ ของจีนในระยะยาวด้วย!


(รายงานโดย Steve Miller / เรียบเรียงโดยรัตพล อ่อนสนิท)

XS
SM
MD
LG