ลิ้งค์เชื่อมต่อ

อาเซียนกับบทบาทคนกลางในการแก้ไขข้อพิพาทในทะเลจีนใต้


<!--AV-->

ขณะนี้ประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน 10 ประเทศ กำลังเร่งจัดทำร่างระเบียบข้อบังคับว่าด้วยเรื่องทะเลจีนใต้ เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งระหว่างจีนกับประเทศสมาชิกสมาคมอาเซียนหลายประเทศ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม มาเลเซียและบรูไน

ในการประชุมเศรษฐกิจโลกหรือ World Economic Forum ที่กรุงเทพฯ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียนกล่าวชี้แจงว่า สมาคมอาเซียนจำเป็นต้องเข้าร่วมในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ โดย อาเซียนและจีนได้ตกลงกันในเบื้องต้นว่าจะแก้ไขปัญหาครั้งนี้โดยสันติวิธี และว่าจีนรู้ดีว่าขอบเขตความรับผิดชอบและผลประโยชน์ของจีนในทะเลจีนใต้นั้นคืออะไร

เลขาธิการอาเซียนยังบอกด้วยหัวใจสำคัญของการหารือระหว่างประเทศสมาชิกสมาคมอาเซียนในขณะนี้คือ ระเบียบข้อบังคับว่าด้วยเรื่องทะเลจีนใต้ที่ระบุถึงแนวทางปฏิบัติของประเทศที่มีส่วนเกี่ยวข้องในข้อพิพาทครั้งนี้ ซึ่งดร.สุรินทร์ชี้ว่าจีนต้องการเข้ามามีบทบาทสำคัญในการร่างระเบียบข้อบังคับดังกล่าว

ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ กล่าวว่าอาเซียนพร้อมที่จะจัดให้มีการประชุม จัดให้มีเวทีหารือ กระบวนการและการสนับสนุนอื่นๆ เพื่อแสดงให้ทั่วโลกเห็นว่าอาเซียนสามารถจัดการความขัดแย้งครั้งนี้ไม่ให้ลุกลามเป็นความรุนแรงได้

ทางด้านศาสตราจารย์ Zha Daojiong แห่งมหาวิทยาลัยปักกิ่งในประเทศจีน กล่าวว่าบทบาทของอาเซียนในการจัดการความขัดแย้งในทะเลจีนใต้และสร้างความมั่นคงในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น เป็นบทบาทที่มีความสำคัญอย่างยิ่งและจะขาดเสียมิได้

ทางด้านนักเศรษฐศาสตร์ Rajiv Biswas ระบุเช่นกันว่าการเจรจาด้านความมั่นคงในระยะยาวมีความสำคัญต่อภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่หลายประเทศในเอเชียใช้งบประมาณด้านการทหารเพิ่มขึ้นมหาศาลเช่นในปัจจุบัน

นักเศรษฐศาสตร์ผู้นี้ระบุว่าอำนาจทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นของเอเชียควรมาพร้อมกับความรับผิดชอบด้านเสถียรภาพความมั่นคงของภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกเช่นกัน ซึ่งเห็นได้ชัดว่ารัฐบาลหลายประเทศในเอเชียกำลังเดินมาถูกทางแล้ว และการจะทำให้เอเชียมีความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจและความมั่นคงปลอดภัยมากยิ่งขึ้นนั้น คือการการกระชับความสัมพันธ์กับประเทศพันธมิตรที่เป็นมหาอำนาจทั้งทางการทหารและเศรษฐกิจ เช่นสหรัฐ รัสเซีย ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

XS
SM
MD
LG