ลิ้งค์เชื่อมต่อ

อดีตเลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ ย้ำ การแก้ไขวิกฤติเมียนมาต้องเกิดขึ้นโดยด่วน


Anti-coup protesters shout slogan with a banner reading ''Carry on revolution! We do not accept as the military slave,'' in Kamayut township of Yangon, Myanmar, Monday, April 19, 2021. Anti-coup protesters kept public demonstrations going despite…
Anti-coup protesters shout slogan with a banner reading ''Carry on revolution! We do not accept as the military slave,'' in Kamayut township of Yangon, Myanmar, Monday, April 19, 2021. Anti-coup protesters kept public demonstrations going despite…

อดีตเลขาธิการใหญ่องค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) บัน คี-มุน ออกมาประณามเหตุนองเลือดในเมียนมา พร้อมเรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและอาเซียนให้ลงมือดำเนินการที่จำเป็นโดยด่วน “เพื่อป้องกันภัยภยันตรายใหญ่หลวง” และความรุนแรงที่อาจยกระดับเพิ่มขึ้นจากนี้

FILE - Former United Nations Secretary General Ban Ki-moon in New York, September 24, 2019.
FILE - Former United Nations Secretary General Ban Ki-moon in New York, September 24, 2019.

บัน คี-มูน อดีตเลขาธิการใหญ่ยูเอ็น กล่าวในวันจันทร์ว่า ตนขอ “ประณามความโหดเหี้ยมในการใช้กำลังที่อาจทำให้ถึงตายต่อพลเรือนทั้งหลาย และการคุมขัง นางอองซานซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐพม่า และประธานาธิบดี วิน มินท์ รวมทั้งผู้ชุมนุมนับพัน” ด้วย

สถานการณ์ความรุนแรงในเมียนมาที่เกิดขึ้นหลังประชาชนออกมาชุมนุมประท้วงต่อต้านการก่อรัฐประหารโดยกองทัพเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ และกองทัพส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ปราบปราม ส่งผลให้มีพลเรือนเสียชีวิตแล้วไม่น้อยกว่า 700 คน ซึ่งรวมถึงเด็กหลายสิบคนด้วย ตามรายงานของกลุ่มปกป้องสิทธิมนุษยชนหลายกลุ่ม

บัน คี-มูน ซึ่งปัจจุบันเป็นสมาชิกของกลุ่มเอลเดอร์ส (The Elders) อันประกอบด้วยผู้นำโลกต่างๆ ที่มาร่วมระดมความคิดในการแก้ไขปัญหาสำคัญๆของโลก เคยมีบทบาทในการช่วยนำพาเมียนมาให้กลับคืนสู่ระบอบประชาธิปไตย เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งอดีตเลขาธิการใหญ่ยูเอ็น ได้พยายามติดต่อกองทัพเมียนมา เพื่อขอเดินทางเข้าประเทศ แต่คำขอนั้นถูกรัฐบาลทหารเมียนมาปฏิเสธไป

บัน กล่าวว่า “ภาระหน้าที่ที่รออยู่เบื้องหน้านั้นเต็มไปด้วยสิ่งท้าทายอันน่ากลัว และต้องการความร่วมมือร่วมใจจากยูเอ็น อาเซียน และประเทศต่างๆ ในภูมิภาค เพื่อช่วยหลีกลี้ภัยพิบัติ และนำพาเมียนมากลับคืนสู่เส้นทางของการเปลี่ยนถ่ายตามระบอบประชาธิปไตยอย่างสันติ”

อดีตเลขาธิการใหญ่ยูเอ็น ยังกล่าวด้วยว่า ทุกกลุ่มที่กล่าวมานั้นมี “โอกาสไม่มาก” ที่จะร่วมมือกันเพื่อยุติความรุนแรงที่เกิดขึ้นในเมียนมา พร้อมเรียกร้องให้ อันโตนิโอ กูเทอเรซ เลขาธิการใหญ่องค์การสหประชาชาติคนปัจจุบัน ให้ติดต่อกับกองทัพเมียนมาโดยตรงเพื่อระงับเหตุรุนแรงต่างๆ ไม่ให้ยกระดับขึ้นด้วย

ในส่วนของอาเซียนนั้น บัน ระบุว่า สมาชิกกลุ่มทั้งหลายต้องสามัคคีกัน และยุตินโยบายไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศสมาชิกได้แล้ว

Myanmar's State Counsellor Aung San Suu Kyi attends the plenary session of the 34th Association of Southeast Asian Nations (ASEAN) Summit in Bangkok on June 22, 2019. (Photo by Lillian SUWANRUMPHA / AFP)
Myanmar's State Counsellor Aung San Suu Kyi attends the plenary session of the 34th Association of Southeast Asian Nations (ASEAN) Summit in Bangkok on June 22, 2019. (Photo by Lillian SUWANRUMPHA / AFP)

ในวันที่ 24 เมษายนนี้ ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนมีกำหนดเข้าประชุมสุดยอดนัดพิเศษที่อินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพ เพื่อหารือประเด็นสถานการณ์ในเมียนมา

นอกจากนั้น อดีตเลขาธิการใหญ่ยูเอ็น ได้ร้องขอให้ประเทศสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ให้ลงมือทำการใดๆ ในเรื่องนี้ เพื่อ “ปกป้องพลเมืองของเมียนมา” ด้วยการพิจารณาใช้เครื่องมือต่างๆ ที่มีอยู่ โดยไม่ได้ระบุรายละเอียดใดๆ

ทั้งนี้ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ มีอำนาจในการดำเนินการหลายอย่าง ซึ่งรวมถึงการลงโทษทางเศรษฐกิจและคำสั่งห้ามซื้อขายอาวุธ แต่ยังไม่มีการลงมติดำเนินการใดๆ เนื่องจากเชื่อกันว่าจะถูกต่อต้านอย่างหนักจากจีน ที่เป็นสมาชิกพร้อมอำนาจวีโต้

หวางยี่ รัฐมนตรีต่างประเทศจีน ซึ่งเข้าร่วมการประชุมระดับสูงของคณะมนตรีที่จัดขึ้นแบบออนไลน์ ส่งสัญญาณชัดเจนว่า จีนไม่เห็นด้วยกับมาตรการดังกล่าว และย้ำจุดยืนของรัฐบาลกรุงปักกิ่งที่ปฏิเสธคำขู่การใช้กำลัง พร้อมกล่าวว่า การเจรจาสันติภาพและกระบวนการไกล่เกลี่ยคือหนทางที่เหมาะสมกว่า ทั้งยังเรียกร้องให้สมาชิกอาเซียนร่วมผลักดันกระบวนการปรองดองสมานฉันท์ตามหนทางของกลุ่ม เพื่อลดความตึงเครียดในเมียนมาด้วย

XS
SM
MD
LG