ลิ้งค์เชื่อมต่อ

หลายประเทศในเอเชียกำลังประสบปัญหาภาวะเงินเฟ้อ รวมทั้งประเทศไทย สหประชาชาติประมาณว่าชาวเอเชียหลายสิบล้านคนจะตกหรือคงอยู่ในสภาพยากจนปีนี้


หลายประเทศในเอเชียกำลังประสบปัญหาภาวะเงินเฟ้อ รวมทั้งประเทศไทย สหประชาชาติประมาณว่าชาวเอเชียหลายสิบล้านคนจะตกหรือคงอยู่ในสภาพยากจนปีนี้
หลายประเทศในเอเชียกำลังประสบปัญหาภาวะเงินเฟ้อ รวมทั้งประเทศไทย สหประชาชาติประมาณว่าชาวเอเชียหลายสิบล้านคนจะตกหรือคงอยู่ในสภาพยากจนปีนี้

ราคาสินค้าสำหรับผู้บริโภคกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในหลายประเทศในเอเชีย และองค์การสหประชาชาติประมาณว่า จะทำให้คนในเอเชียระหว่าง 10 – 42 ล้านคน ตกอยู่ในความยากจน หรือไม่หลุดพ้นออกมาจากสภาพความยากจนในปีนี้ รัฐบาลในเอเชียกำลังใช้มาตรการการให้เงินอุดหนุนและการควบคุมราคาเพื่อช่วยผู้บริโภครับมือกับภาวะเงินเฟ้อ แต่ในระยะยาวนักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า จะต้องมีการเพิ่มผลผลิต โดยเฉพาะทางด้านการเกษตร และประเทศที่ผลิตสินค้าเกษตรอย่างประเทศไทย ควรฉวยโอกาสกอบโกยผลประโยชน์จากการที่ราคาอาหารในตลาดเพิ่มสูงขึ้น

ราคาสินค้าสำหรับผู้บริโภคกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในหลายประเทศในเอเชีย และองค์การสหประชาชาติประมาณว่า จะทำให้คนในเอเชียระหว่าง 10 – 42 ล้านคน ตกอยู่ในความยากจน หรือไม่หลุดพ้นออกมาจากสภาพความยากจนในปีนี้

แต่สำหรับธุรกิจย่อย อย่างพ่อค้าขายก๋วยเตี๋ยวและกล้วยทอดในกรุงเทพฯ พ่อค้าแม่ขายเหล่านี้บอกว่าต้องขึ้นราคาขายหรือไม่ก็ต้องลดปริมาณอาหารลง เพราะกำไรหดตัวลงอยู่เรื่อยๆ

นาย Federico Gil Sander นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารโลกบอกว่า ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะ เศรษฐกิจกำลังไปได้สวยและผู้ขายคิดว่าจะถ่ายทอดราคาของที่เพิ่มขึ้นให้กับผู้บริโภคเป็นบางส่วน เพราะไม่มีทางจะถ่ายทอดได้ 100%

ขณะเดียวกัน รัฐบาลในเอเชียกำลังใช้มาตรการการให้เงินอุดหนุนและการควบคุมราคาเพื่อช่วยผู้บริโภค อย่างในประเทศไทย มีการจำกัดราคาน้ำมันดีเซิลและน้ำมันเบนซิน ส่วนฟิลิปปินส์ให้เงินอุดหนุนสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงแก่คนขับรับจ้าง

รัฐบาลฮ่องกงสัญญาว่าจะใช้เงินจากงบประมาณเกินดุลเพื่ออุดหนุนผู้บริโภค รวมทั้งการให้เงินสดด้วย ในเดือนกุมภาพันธ์ อัตราภาวะเงินเฟ้อในฮ่องกงเพิ่มสูงเป็นประวัติการณ์สำหรับช่วง 30 เดือนที่ผ่านมา

นางสาว Connie Bolland นักเศรษฐศาสตร์ระดับหัวหน้าของ Economic Research Associates ในฮ่องกงให้ความเห็นว่า เงินอุดหนุนดังกล่าวช่วยผ่อนคลายภาระให้กับผู้มีรายได้ต่ำ แต่คิดว่าจำนวนที่ให้น้อยเกินกว่าจะเป็นประโยชน์ได้จริง

ธนาคารโลกเรียกร้องให้มุ่งจุดการให้เงินอุดหนุนที่จะเป็นประโยชน์แก่คนยากจนที่สุดจริงๆ ซึ่งนาย Federico Gil Sander เห็นด้วย และกล่าวต่อไปว่า สำหรับระยะยาวแล้ว จะต้องมีการตอบสนองทางอุปทาน กล่าวคือ ปริมาณสินค้าและบริการจะต้องเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะภาคการเกษตรจะต้องผลิตอาหารเพิ่มขึ้น ซึ่งหลายประเทศในเอเชียมีศักยภาพที่จะทำเช่นนั้นได้

งานศึกษาวิจัยของธนาคารโลกบ่งชี้ว่า ในขณะที่ราคาอาหารเพิ่มสูงขึ้น รายได้โดยเฉลี่ยของชาวไร่ชาวนาในประเทศไทยสูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้นักวิจัยแนะนำว่า ประเทศอย่างเช่นประเทศไทย ควรเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร เพื่อทำกำไรให้ได้มากที่สุดจากราคาอาหารที่สูงขึ้นอยู่เรื่อยๆ ในตลาด

XS
SM
MD
LG