ลิ้งค์เชื่อมต่อ

'50 ปี ATM' ก้าวต่อไปบนความท้าทายในสังคม “ไร้เงินสด”


please wait

No media source currently available

0:00 0:05:19 0:00

50 ปี ที่ตู้ ATM หรือ Automated Teller Machine ถือกำเนิดขึ้นบนโลกที่ประเทศอังกฤษ เปรียบเหมือนอายุของคนที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมานานท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง ซึ่งไม่รู้ว่าตู้เอทีเอ็ม จะต้องเข้าสู่วัยเกษียณอายุในเร็ววันนี้หรือไม่ จากการก้าวเข้ามาของสังคมไร้เงินสด

ATM หรือ Automated Teller Machine ถือกำเนิดขึ้นโดย John Shepherd-Barron เมื่อปี 2510 ที่ธนาคาร Barclays นำไปติดตั้งชานกรุงลอนดอน โดยนำแนวคิดของตู้กดขนม หรือ vending machine มาปรับใช้ และเรียกกันว่า Hole in the Wall

โดยในช่วงแรกบัตร ATM จะเป็นแผ่นกระดาษที่มีแถบแม่เหล็ก ซึ่งต้องกดรหัสผ่าน 4 ตัวเพื่อให้ถอนเงินได้ครั้งละ 10 ปอนด์เท่านั้น

ข้อมูลจาก ATM Industry Association ระบุว่า ปัจจุบันเฉพาะสหรัฐฯ มีตู้ ATM 3 ล้านตู้ และส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นของธนาคาร แต่จะมีของภาคเอกชน ที่ไปตั้งตู้กดเงินสดในร้านค้าและธุรกิจของตัวเอง เพื่อให้ได้ค่าธรรมเนียมในการถอนเงิน ขณะนี้ธนบัตร 20 ดอลลาร์ถูกพิมพ์ขึ้นมาใหม่มากเป็นอันดับ 2 ในบรรดาธนบัตรทั้งหมดของสหรัฐฯ ขณะที่อันดับ 1 ยังคงเป็นธนบัตร 1 ดอลลาร์

ล่วงเลยมากว่า 50 ปี ATM ก็ต้องเจอกับความท้าทายใหม่ คือ สังคมไร้เงินสด หรือ Cashless Society ที่ถูกพูดถึงอย่างมากในปัจจุบัน จากการจ่ายเงินด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลากหลายรูปแบบ

ประเทศที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดเห็นจะเป็นสวีเดน ที่เมื่อปีก่อน มีการใช้เงินสดและเหรียญเพียงแค่ 1% ทั่วประเทศ และเป็นต้นกำเนิดของเทคโนโลยี iZettle และ Swish ที่มาจากแนวคิดของ Start-up สวีดิช ที่กลายเป็นเทคโนโลยีอ่านบัตรเครดิตแบบพกพาตัวแรกๆ ของโลกที่ได้รับความนิยม

ส่วนสหรัฐฯ และยุโรป มีการพึ่งพาเงินสดเพียงแค่ 7% เท่านั้น

ขณะที่หลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะอาเซียน ตื่นตัวกับสังคมไร้เงินสด อย่างที่รัฐบาลสิงคโปร์ ประกาศในการเป็นประเทศแรกของอาเซียนที่จะเข้าสู่สังคมไร้เงินสดให้ได้ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

ยิ่งไปกว่านั้น บรรดาผู้บริหาร Visa และ Mastercard จ้าของบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ก็เริ่มหนาวๆ ร้อนๆ กับการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมไร้เงินสดเช่นกัน แต่กลับมองว่า น่าจะเป็นสังคมไร้บัตร มากกว่าไร้เงินสด ซึ่งการพัฒนาเทคโนโลยีเป็นสิ่งจำเป็น

"ข้อดี" ของสังคมไร้เงินสด ก็คือ การติดตามการเคลื่อนไหวของการใช้จ่ายก็ง่ายและสะดวก รวมทั้งง่ายต่อการบริหารจัดการเงินส่วนบุคคล รวมทั้งในระดับรัฐบาลด้วย

แต่ "ข้อเสีย" คือ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ที่คนรุ่นเก่ายากจะเข้าใจ อาจนำไปสู่ปัญหาการบริหารจัดการเงินของคนวัยเกษียณ ในสังคมผู้สูงอายุที่คืบคลานเข้ามาในหลายประเทศ ขณะเดียวกัน ยังมีเรื่องของความปลอดภัยของระบบสถาบันการเงินจากการคุกคามบนโลกไซเบอร์ ปัญหาคอรัปชัน รวมทั้งวินัยทางการเงินของคนในสังคมนั้นๆ ด้วย

อย่างไรก็ตาม Diebold Nixdorf ผู้ผลิตตู้เอทีเอ็มรายใหญ่ที่สุดในโลก เชื่อมั่นว่า ATM จะยังคงเป็นที่ต้องการอยู่ในระยะเวลานี้ เพราะ 85% ของธุรกรรมการเงินทั่วโลกยังคงพึ่งพาเงินสด

ขณะเดียวกัน ATM ก็ไม่ได้หยุดอยู่แค่การกดเงินสดเพียงอย่างเดียว เพราะมีฟังก์ชันที่หลากหลาย ทั้งเช็คยอดเงิน โอนเงิน จ่ายบิล และซื้อสินค้าและบริการผ่านตู้ ATM มากจนถึงขนาดที่ว่าสามารถเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์แทนเจ้าหน้าที่ในธนาคารได้แล้ว

ล่าสุดบริษัท NCR ผู้ผลิตตู้ ATM ได้นำเอาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เข้าไปใช้ในตู้ ATM ให้สามารถจดจำใบหน้าท่าทางของเจ้าของบัญชี เพื่อความปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางการเงินด้วย

XS
SM
MD
LG