ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักจิตวิทยาอธิบายทฤษฎี 'ทำไมหุ่นยนต์เหมือนมนุษย์ทำให้คนกลัว!?'


robot
robot
please wait

No media source currently available

0:00 0:04:09 0:00

นักวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาหุ่นยนต์ออกมาทุกรูปร่างเเละขนาด หุ่นยนต์บางตัวน่ารักเเละทำให้คนยิ้ม บางตัวอาจดูเหมือนคนมากเกินไปเเละทำให้หลายคนรู้สึกไม่สะดวกใจ เเม้แต่บรรดานักวิจัยเอง

โจนาธาน แกร็ทช์ ผู้อำนวยการด้านการวิจัยหุ่นยนต์ (Virtual Human Research) ที่สถาบันเทคโนโลยีสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเซาธ์เทิร์น เเคลิฟอร์เนีย กล่าวว่า เขารู้ดีว่าหุ่นยนต์ทำงานอย่างไรเเละรู้ว่าเป็นเพียงเเค่หุ่นยนต์เท่านั้น เเต่ความที่หุ่นยนต์มีหน้าตาเหมือนมนุษย์มากขึ้น แต่เคลื่อนไหวได้ไม่เหมือนคน จึงทำให้เขารู้สึกแปลกๆ

ความรู้สึกกลัวของคนเราที่เห็นว่าหุ่นยนต์มีหน้าตาเเละรูปร่างเหมือนคนมากขึ้นนี้ เรียกกันว่า "uncanny valley"

ศาสตราจารย์แกร็ทช์ อาจารย์ด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์เเละจิตวิทยากล่าวว่า มีคำอธิบายหลายอย่างเกี่ยวกับเบื้องหลังของความรู้สึกนี้ อย่างเเรกคือเป็นปฏิกริยาทางชีววิทยาของคนเรา เมื่อสังเกตุเห็นความผิดปกติไม่เหมือนจริงบางอย่างของหุ่นยนต์โดยสัญชาตญาณ

เขากล่าวว่า ในงานวิจัยของเขา เขาศึกษาอารมณ์ของคนเเละการใช้การบ่งบอกทางอารมณ์เป็นตัวช่วยอ่านความรู้สึกของผู้อื่น เเละเขาคิดว่ายิ่งเราพยายามพัฒนาหุ่นยนต์ให้เหมือนคนจริงมากขึ้น คนเราก็จะยิ่งจับผิดหุ่นยนต์มากขึ้นเเละยิ่งสร้างความรู้สึกทางลบมากขึ้น

คำอธิบายที่สอง อาจเป็นเพราะว่า ยิ่งหุ่นยนต์มีหน้าตาเหมือนมนุษย์มากขึ้น ก็ยิ่งทำให้คนรู้สึกกลัวว่าความเป็นมนุษย์กำลังถูกคุกคาม

ศาสตราจารย์แกร็ทช์ กล่าวว่า เดิมทีมนุษย์ถูกมองว่าเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวที่มีความฉลาด แต่มาถึงตอนนี้ เราเข้าใจมากขึ้นว่ามีสัตว์จำนวนมากที่สามารถทำสิ่งที่คนเราทำได้ เรารู้ว่าคอมพิวเตอร์มีความฉลาดมากขึ้น จึงเหลือเพียงความรู้สึกทางอารมณ์เท่านั้นที่ทำให้คนเเตกต่าง

แต่ในตอนนี้ หุ่นยนต์เหล่านี้ได้รับการพัฒนาให้มีความรู้สึกทางอารมณ์ จึงอาจสร้างความรู้สึกกลัวแก่คนเราว่าความเป็นมนุษย์กำลังถูกคุกคาม

ด้าน จอห์น เรบูลา (John Rebula) แห่งศูนย์วิจัยหุ่นยนต์ มหาวิทยาลัยเซาธ์เทิร์น เเคลิฟอร์เนีย กำลังพัฒนาหุ่นยนต์เหมือนคนที่ชื่อว่า Hermes ซึ่งเดินเหินได้เหมือนคนมากขึ้น ดูเป็นธรรมชาติเเละมีความสมดุลมากขึ้น เขากล่าวว่า หน้าตาของหุ่นยนต์ไม่จำเป็นต้องเหมือนคนเเละดูออกว่าไม่จริง

เขากล่าวว่า ทีมงานมองว่าหุ่นยนต์ที่เหมือนมนุษย์เหล่านี้เป็นเพียงเครื่องมือในการวิจัยที่ทีมงานจะแกะออกเป็นชิ้นๆ เเล้วประกอบกลับเข้าไปใหม่ ซ้ำๆ อย่างนี้ตลอดเวลา จึงไม่มีความจำเป็นต้องสร้างใบหน้าหุ่นยนต์ให้เหมือนคนจริงๆ

เเละคนที่ออกแบบหุ่นยนต์ให้ทำงานร่วมกับมนุษย์มักจะระลึกถึงความรู้สึกกลัวตามทฤษฎี "uncanny valley" นี้เสมอเมื่อมาถึงการพัฒนารูปร่างเเละหน้าตาของหุ่นยนต์

(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)

XS
SM
MD
LG