ลิ้งค์เชื่อมต่อ

“อัลปากา” ความหวังใหม่ในการผลิตวัคซีนโควิด-19


Tyson the Alpaca is pictured on the farm in an undisclosed location in Germany, where he was immunised with coronavirus proteins leading to an antibody discovery that may aid human treatments for COVID-19, May 19 2020. (Karolinska Institute/Preclinics gmB
Tyson the Alpaca is pictured on the farm in an undisclosed location in Germany, where he was immunised with coronavirus proteins leading to an antibody discovery that may aid human treatments for COVID-19, May 19 2020. (Karolinska Institute/Preclinics gmB
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:12 0:00

นักวิทยาศาสตร์ที่ประเทศสวีเดน พยายามหาวิธีรักษาหรือผลิตวัคซีนป้องกันโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ โดยใช้ประโยชน์จากสัตว์เลี้ยงในฟาร์ม

นักวิจัยจากสถาบัน Karolinska ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยการแพทย์ใกล้กับกรุงสตอกโฮล์มกำลังฝากความหวังไว้กับเจ้าอัลปากา สัตว์ในตระกูลอูฐคล้ายกับลามา

นักวิทยาศาสตร์เริ่มต้นด้วยการสร้างโปรตีนที่เรียกว่า "Spike" ซึ่งเป็นโปรตีนที่ทำให้คนติดเชื้อโคโรนาไวรัสขึ้นมาใหม่ จากนั้นฉีดโปรตีนสไปค์เข้าไปที่เจ้าอัลปากาอายุ 12 ปี จากเยอรมนี ซึ่งมีชื่อว่า "ไทสัน"

จากนั้นนักวิจัยเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อดูว่า อัลปากาสามารถพัฒนาสารภูมิต้านทาน หรือ แอนติบอดี เพื่อต่อสู้กับโปรตีนสไปค์นี้ได้หรือไม่ โดยแอนติบอดีดังกล่าวมีขนาดเล็กมากและรู้จักกันในชื่อ nanobodies

ในแถลงการณ์ต่อสื่อมวลชน นักวิจัยเรียกกระบวนการดังกล่าวว่า “neutralizing antibodies” หรือการลดอันตรายของเชื้อไวรัสนั้น

คุณเจอรัลด์ แม็คอินเนอร์นีย์ หัวหน้าทีมวิจัยในสวีเดน กล่าวว่า ความหวังของการศึกษาวิจัยนี้ก็คือ การทำให้สารภูมิต้านทานสามารถยับยั้งโปรตีนของไวรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้เชื้อโคโรนาไวรัสไม่สามารถเข้าสู่เซลล์และแพร่กระจายต่อไปได้ โดยผลที่ได้จากการทดลองนี้อาจถูกนำไปใช้พัฒนายาหรือวัคซีนที่ใช้ในการรักษาโควิด-19

แม็คอินเนอร์นีย์ กล่าวว่า ทีมวิจัยของเขาเริ่มทำการวิจัยเรื่องนี้ตั้งแต่เดือนมกราคม เพราะเชื่อว่าโคโรนาไวรัสจะกลายเป็นโรคระบาดใหญ่ที่ร้ายแรง โดยทีมของเขาได้พบหลักฐานว่าแอนติบอดีดังกล่าวสามารถใช้กับมนุษย์ได้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากโคโรนาไวรัสสามารถกลายพันธุ์ได้ค่อนข้างง่าย ดังนั้นนักวิจัยจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาแอนติบอดืที่แตกต่างกันหลาย ๆ ชนิด

การศึกษาแสดงให้เห็นว่า อัลปากาและสัตว์ชนิดอื่น ๆ ที่อยู่ในตระกูลเดียวกับอูฐ เป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องของการผลิต nanobodies ซึ่งนักวิทยาศาสตร์สามารถทำการทดลองกับสัตว์จำพวกนี้ได้ง่าย นอกจากนี้ยังพบว่า ปลาฉลามก็ผลิต nanobodies ด้วยเช่นเดียวกัน แต่การทดลองในฉลามนั้นยากกว่าอัลปากา

ตอนนี้นักวิจัยในสวีเดนกำลังก้าวไปสู่ขั้นตอนต่อไปซึ่งอาจมีการทดลองกับสัตว์ชนิดอื่น ๆ เช่น หนู หรือแฮมสเตอร์ ซึ่งนักวิจัยบอกว่า สำหรับเจ้าไทสัน อัลปากาอายุ 12 ปีตัวนี้ งานของมันเสร็จสิ้นลงแล้ว และมันคงจะปลดเกษียณในอีกไม่ช้า ก่อนที่จะกลับไปใช้ชีวิตอยู่ในฟาร์มที่เยอรมนี ที่มันจากมา

XS
SM
MD
LG