ลิ้งค์เชื่อมต่อ

สหประชาชาติเตือนเด็กพม่าเสียชีวิตเนื่องจากภาวะขาดอาหาร


ในวันพุธนี้ นาย Ban Ki Moon เลขาธิการใหญ่องค์การสหประชาชาติจะเดินทางถึงพม่า ในขณะที่นาย John Holmes ผู้รับผิดชอบด้านกิจการบรรเทาทุกข์ของสหประชาชาติ มาถึงพม่าแล้วเมื่อวันอาทิตย์ เพื่อพยายามกดดันรัฐบาลพม่าให้ยอมรับความช่วยเหลือ จากต่างประเทศมากยิ่งขึ้น

ในขณะที่หน่วยงานที่ทำงานเรื่องเด็กเตือนว่า จะมีเด็กอีกนับหมื่นคนในพม่าที่ต้องเสียชีวิต เพราะการอดอาหาร หากความช่วยเหลือยังเข้าไปไม่ถึงใน 2-3 สัปดาห์ข้างหน้า

ตัวเลขอย่างเป็นทางการของรัฐบาลพม่า เกี่ยวกับผู้หญิงชีวิตจากไซโคลนนากิสในขณะนี้คือ 78,000 คน และมีอีก 56,000 คนที่ยังหายสาบสูญไป แต่หน่วยงานบรรเทาทุกข์ต่างๆ เชื่อว่าจำนวนผู้เสียชีวิตที่แท้จริงนั้น อาจจะถึงราว 1 แสน 3 หมื่นคน

เมื่อวันอาทิตย์หย่วยงาน Save the Children ของอังกฤษ เตือนว่ามีเด็กพม่าอีกนับหมื่นคน ที่อาจต้องเสียชีวิตลงเพราะการขาดอาหารในช่วง 2-3 สัปดาห์ข้างหน้า ถ้าความช่วยเหลือฉุกเฉินยังเข้าไปไม่ถึง และคุณ Amanda Pitt โฆษกของโครงการบรรเทาทุกข์ฉุกเฉินของสหประชาชาติ ก็บอกว่า ขณะนี้มีเด็กในพม่าถึงราว 1 ล้านคนซึ่งต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน

ปัญหาซึ่งมีอยู่ในขณะนี้มาจากการที่รัฐบาลพม่ายังไม่ยอมเปิดรับความช่วยเหลือจากต่าง ประเทศอย่างเต็มที่ และเลขาธิการใหญ่องค์การสหประชาชาติ ได้ส่งนาย John Holmes ผู้รับผิดชอบด้านกิจการบรรเทาทุกข์ไปยังพม่าเมื่อวันอาทิตย์ เพื่อเจรจาให้รัฐบาลพม่า ยอมอนุญาติให้เจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์ต่างชาติ เข้าไปทำงานช่วยผู้ประสบภัยมากขึ้น

องค์การสหประชาชาติให้ตัวเลขว่า มีผู้คนถึงราว 2 ล้าน 5 แสนคน ซึ่งได้รับผลกระทบจากพายุไซโคลนครั้งนี้ และคุณ Shanta Bloeman โฆษกสตรีขององค์การเด็กยูนิเซฟในประเทศไทย ก็บอกด้วยว่า ในบรรดาผู้รับเคราะห์นั้น เป็นเด็กถึง 30-40 เปอร์เซนต์

โฆษกขององค์การยูนิเซฟชี้ว่า ปัญหาที่เด็กเหล่านี้ประสบอยู่ นอกจากต้องอยู่ในที่แจ้งกลางฤดูฝน และมีโรคระบาดร้ายแรงต่างๆ อย่างเช่นอหิวาตกโรคแล้ว เด็กๆ ในพม่ายังเสี่ยงต่อการฉกฉวยประโยชน์ และการถูกล่วงเกินทางเพศด้วย

เจ้าหน้าที่หน่ายงานบรรเทาทุกข์ประมาณว่า ขณะนี้ความช่วยเหลือต่างๆ ที่ต่างชาติส่งเข้าไปนั้น ถึงมือผู้ประสบภัยในพม่าไม่ถึง 30 เปอร์เซนต์ และคุณ Steve Marshall โฆษกของทีมสหประชาชาติในพม่าก็ชี้ว่า ปัญหาที่มีอยู่ในขณะนี้ก็คือการเข้าถึงผู้ประสบภัยอย่างแท้จริง

และเกี่ยวกับเรื่องนี้ เมื่อวันเสาร์ นายก รมต. Gordon Brown ของอังกฤษ ได้กล่าวตำหนิรัฐบาลพม่าอย่างรุนแรง ที่ไม่ยอมให้เจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์ระหว่างประเทศเข้าไปช่วยเหลือประชาชนของตน

ผู้นำรัฐบาลอังกฤษชี้ว่า ปัญหาซึ่งเกิดจากภัยธรรมชาติอันร้ายแรงนี้ ถูกทำให้เลวร้ายลงไปอีกด้วยน้ำมือของมนุษย์ จากการปล่อยปละละเลย และการปฏิบัติอย่างไร้มนุษยธรรมจการะบอบการปกครองในพม่า

ขณะนี้อังกฤษกำลังพยายามส่งความช่วยเหลือเข้าไปยังพม่า ผ่านทางประเทศต่างๆ ที่เป็นสมาชิกของสมาคมอาเซียน และสมาคมอาเซียนเองก็ถูกตำหนิเช่นกัน จากความล่าช้าในการสนับสนุนปฏิบัติการบรรเทาทุกข์ต่างๆ มีกำหนดการจะประชุมกันที่สิงค์โปร์ในวันจันทร์นี้ เพื่อหารือเรื่องการประสานงานและความร่วมมือ

XS
SM
MD
LG