ลิ้งค์เชื่อมต่อ

วิเคราะห์: ดอลลาร์แข็งค่า กับผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก


Strengthening Dollar Presents Challenges for Global Markets
Strengthening Dollar Presents Challenges for Global Markets

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับตัวแข็งค่าขึ้นมากเป็นพิเศษเมื่อเทียบกับสกุลเงินต่าง ๆ โดยในช่วงฤดูร้อนปีนี้ เมื่อเทียบค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ กับค่าเงินยูโร ค่าเงินเยนญี่ปุ่น และค่าเงินสกุลอื่น ๆ พบว่า มีอัตราแลกเปลี่ยนที่สูงขึ้นซึ่งกำลังส่งผลกระทบทั้งต่อในประเทศสหรัฐฯ รวมถึงประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก

ค่าเงินดอลลาร์ปรับตัวแข็งค่าขึ้นตั้งแต่ปีที่ผ่านมา และการแข็งค่าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงฤดูร้อนของปีนี้ โดยเชื่อว่ามาจากหลายปัจจัย ทั้งการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด ตัดสินใจเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอย่างจริงจังเพื่อรับมือกับภาวะเงินเฟ้อ รวมถึงนักลงทุนทั่วโลกต่างโยกย้ายสินทรัพย์ไปยังการลงทุนที่เชื่อว่าปลอดภัยในอเมริกา หลังเกิดความไม่แน่นอนจากสงครามในยูเครน

Exchange rates for U.S dollars and the euro currencies are displayed outside a change office, July 13, 2022 in Paris. The euro this month fell to parity with the dollar for the first time in nearly 20 years.
Exchange rates for U.S dollars and the euro currencies are displayed outside a change office, July 13, 2022 in Paris. The euro this month fell to parity with the dollar for the first time in nearly 20 years.

ทั้งปัจจัยเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นและความเป็นไปได้ที่จะเกิดภาวะเงินเฟ้อในสหรัฐฯ สร้างแรงกดดันต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลก และเพิ่มความตึงเครียดต่อประเทศยากจนที่มีหนี้เงินกู้ในสกุลดอลลาร์

อีกแรงขับเคลื่อนที่สำคัญที่สุด ที่ทำให้เงินสกุลดอลลาร์แข็งค่าขึ้น คือนโยบายอัตราดอกเบี้ยใหม่ของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในช่วงเริ่มต้นปี 2022 อัตราดอกเบี้ยเป้าหมายอยู่ระหว่าง 0% ถึง 0.25% อย่างไรก็ดี ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจำนวน 3 ครั้ง มาอยู่ที่ระดับ 1.50% ถึง 1.75% อีกทั้งยังส่งสัญญาณที่จะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอีกในอนาคต

GLOBAL-FOREX/
GLOBAL-FOREX/

ในขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้วอื่น ๆ อัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งรวมถึงประเทศในยุโรป ที่ธนาคารกลางยุโรปมีความล่าช้าในเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย การดำเนินการอย่างแข็งกร้าวจากเฟด ส่งผลให้การฝากเงินดอลลาร์ไว้ในบัญชีมีความน่าดึงดูดมากยิ่งขึ้น และผลักให้ค่าเงินดอลลาร์สูงขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นจากทั่วโลก

นอกเหนือจากเหตุผลด้านอัตราดอกเบี้ยแล้ว นักลงทุนต่างชาติจำนวนมากทำการย้ายทรัพย์สินไปยังประเทศสหรัฐฯ เพราะรู้สึกปลอดภัยและเห็นแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีกว่า โดยหลีกเลี่ยงการนำเงินไปวางไว้ในประเทศที่พัฒนาแล้วอื่น ๆ ส่วนประเทศในกลุ่มยุโรปต่างต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนต่าง ๆ อันเป็นผลสืบเนื่องจากสงครามในยูเครน ซึ่งรัสเซียกำลังถูกชาติตะวันตกคว่ำบาตรอย่างหนัก ส่งผลให้เกิดการควบคุมก๊าซธรรมชาติในกลุ่มประเทศยุโรป ที่เป็นพลังงานสำหรับอุตสาหกรรมและครัวเรือน สิ่งที่เกิดขึ้นไม่มีความชัดเจนว่าก๊าซธรรมชาติที่ถูกจำกัดไปนั้น จะส่งผลอย่างไรต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ

วิลเลียม ไรช์ ประธานด้านธุรกิจระหว่างประเทศจากศูนย์ Center for Strategic and International Studies ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว VOA ว่า “เราเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย เป็นสกุลเงินที่มีความน่าเชื่อถือ เราจะไม่ยึดเงินจากบัญชีของประชาชน เมื่อพิจารณาเทียบกับธนาคารกลางยุโรปในการจัดการเรื่องอัตราดอกเบี้ย ทิศทางที่เฟดตัดสินใจคือทางที่ควรจะเป็นไป”

ส่วนผลกระทบในประเทศสหรัฐฯ ต่อประเด็นเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น มีความแตกต่างกันออกไป สำหรับชาวอเมริกันที่เดินทางไปต่างประเทศจะพบว่า เงินในกระเป๋ามีมูลค่าที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงธุรกิจนำเข้าก็ได้ประโยชน์เมื่อซื้อสินค้าจากประเทศที่ค่าเงินอ่อนตัวถ้าเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์

LEBANON-CRISIS/CASH BOUQUETS
LEBANON-CRISIS/CASH BOUQUETS

ในภาวะเงินเฟ้อที่ส่งผลให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น ต้นทุนการนำเข้าที่ลดลงมีส่วนช่วยเหลือผู้บริโภคในสหรัฐฯ อย่างไรก็ดีสิ่งนี้อาจจะไม่ได้ช่วยมากเท่าใดนัก แม้ค่าเงินดอลลาร์จะได้เปรียบในหลายประเทศ แต่เมื่อเทียบกับสกุลเงินของประเทศคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดจำนวน 3 รายได้แก่ แคนาดา เม็กซิโก และจีน จะพบว่า การแข็งค่าของดอลลาร์ได้เปรียบน้อยที่สุดในสกุลเงินกลุ่มนี้

ผลกระทบไม่ได้มีแต่เฉพาะแง่บวกเท่านั้น

ไรช์ กล่าวว่า “ภาคการผลิตและธุรกิจส่งออกจากสหรัฐฯ จะพบว่า มีราคาที่สูงขึ้น และจะไปเพิ่มการขาดดุลการค้าที่มีมูลค่ามหาศาลอยู่แล้ว ดังนั้น ผู้กำหนดนโยบายจำเป็นต้องเลือกว่าจะรับมือกับภาวะเงินเฟ้อหรือปัญหาขาดดุลการค้า”

ไรช์ เสริมด้วยว่า “ปกติแล้ว หลังจากที่เงินดอลลาร์แข็งค่าเป็นระยะเวลานาน จะเกิดความขัดแย้งทางการเมืองในสหรัฐฯ สร้างแรงกดดันให้เฟดต้องลดอัตราดอกเบี้ยลง เพื่อทำให้สินค้าของสหรัฐฯ สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก”

เมื่อดอลลาร์แข็งค่า อาจส่งผลเชิงลบต่อเศรษฐกิจโลก มอริส ออบส์ฟิลด์ นักวิชาการอาวุโสจากสถาบัน Peterson Institute for International Economics และยังเป็นอาจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย University of California วิทยาเขตเบิร์คลีย์ อีกทั้งเคยเป็นหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของกองทุน International Monetary Fund เขาแสดงความเห็นต่อสำนักข่าว VOA ว่า “ในระดับโลก เงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น จะเกี่ยวข้องกับการเติบโตที่ช้าลง และปริมาณการค้าระหว่างประเทศที่ลดลง ซึ่งนับเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศเกิดใหม่ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์จะต่ำลง และจะส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออก”

ออบส์ฟิลด์ ยังแสดงความกังวลว่า “ดอลลาร์ที่แข็งค่าจะสร้างความลำบากต่อกลุ่มประเทศที่ยากจน โดยประเทศในกลุ่มนี้จะเผชิญการลดลงของอุปสงค์และผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ ขณะที่ต้นทุนการชำระหนี้กลับเพิ่มสูงขึ้น ตลาดเกิดใหม่ยังคงกู้ยืมในสกุลเงินต่างประเทศ และเมื่อเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น จะทำให้หนี้ทั้งหมดเพิ่มขึ้น จนสร้างความเสียหายต่อสภาวะทางการเงินของประเทศเหล่านี้”

ในระยะสั้น ออบส์ฟิลด์เชื่อว่า เราจะเห็นค่าเงินของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ แต่ถ้าในระยะ 6 เดือน ประเทศสหรัฐฯ เข้าสู่สภาวะเศรษฐกิจถดถอย เฟดจะมีท่าทีผ่อนคลาย สำหรับกลุ่มประเทศที่เศรษฐกิจไม่ได้ย่ำแย่กว่าสหรัฐฯ จะพบว่าเงินดอลลาร์มีแนวโน้มที่จะอ่อนตัวลง

  • ที่มา: วีโอเอ
XS
SM
MD
LG