ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ปักกิ่งเกมส์: ปัญหาสภาพจิตใจนักกีฬาถูกพูดถึงอย่างเปิดเผยมากขึ้น


Beijing Olympics Curling
Beijing Olympics Curling

ปัจจุบัน สังคมค่อยๆเปิดกว้างกับประเด็นสุขภาพจิตของนักกีฬา โดยเห็นว่าปัญหานี้เป็นเรื่องปกติมากขึ้น โดยเฉพาะที่กรุงปักกิ่งซึ่งกำลังจัดการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาวอยู่

การพูดถึงประเด็นข้างต้นพัฒนาไปไกลมากหากเทียบกับเมื่อหกเดือนที่ผ่านมา เพราะในช่วงเวลานั้นผู้คนต่างตกใจที่ ซิโมน ไบล์ส นักยิมนาสติกทีมชาติสหรัฐฯ และนาโอมิ โอซากะ นักเทนนิสหญิงประกาศถอนตัวจากเวทีระดับโลกเนื่องจากสภาพจิตใจที่ย่ำแย่

สำนักข่าวเอพีรายงานว่า โดยปกติ นักกีฬาหลายคนมักจะออกมาพูดถึงแรงกดดันและระบุถึงปัญหาสภาพจิตใจอย่างผิวเผิน แต่หลังจากที่เกิดกรณีของ ซิโมน ไบล์ส ขึ้น หลายๆคนพูดถึงประเด็นสุขภาพจิตใจในที่สาธารณะมากขึ้น รวมทั้ง ไมเคิล เฟลป์ส อดีตนักกีฬาว่ายน้ำโอลิมปิกชายของสหรัฐฯที่สามารถคว้าเหรียญทองจำนวนมากจากเวทีโอลิมปิกหลายครั้งๆ ซึ่งเขาได้ออกมาพูดประโยคสำคัญว่า “มันโอเค หากคุณรู้สึกไม่โอเค”

ทางด้าน โคลอี้ คิม นักกีฬาสโนว์บอร์ดหญิงทีมชาติสหรัฐฯซึ่งเคยคว้าเหรีญทองจาก ‘เปียงชาง เกมส์ 2018’ ที่เกาหลีใต้ได้ แต่ตัดสินใจโดยชั่ววูบโยนเหรียญทองของเธอทิ้งถังขยะ เพราะสภาพจิตใจที่ย่ำแย่จากการถูก

โจมตีบนโลกโซเชียลอย่างหนัก ได้บอกกับสำนักข่าวเอพีว่า “ฉันคิดว่าบทเรียนที่สำคัญที่สุดจากการแข่งขันโอลิมปิกครั้งที่แล้วของฉัน คือ การเปิดใจพูดให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้”

BEIJING 2022 WINTER OLYMPICS: Editor's choice - 12 February 2022
BEIJING 2022 WINTER OLYMPICS: Editor's choice - 12 February 2022

นักกีฬาสาวผู้นี้แสดงความคิดเห็นข้างต้นหลังเธอคว้าเหรียญทองโอลิมปิกได้ไม่กี่วันที่ผ่านมาจากการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาวที่กรุงปักกิ่ง เธอพร้อมกล่าวเสริมว่า “ฉันรู้สึกดีที่สามารถพูดถึงสิ่งที่ฉันกำลังเผชิญอยู่ได้ จริงๆ แล้ว การทำเช่นนี้เป็นสิ่งที่ดีมากต่อสุขภาพของฉัน”

นักกีฬาสโนว์บอร์ดของทีมชาติสหรัฐฯอีกคนหนึ่ง เจมี่ แอนเดอร์สัน ที่พลาดเหรียญโอลิมปิกจากการแข่งขันรอบนี้ได้โพสต์ลงบนอิสตาแกรมเกี่ยวกับความเครียดที่เกิดขึ้นจากการเเข่งขันด้วย

และนักกีฬาสกีสาวทีมชาติเดียวกันอย่าง มิเคลา ซิฟฟริน ที่แพ้การแข่งขันเช่นกันก็ได้ออกมาระบุถึงปัญหาสุขภาพจิตของเธอด้วย โดยเธอให้เหตุผลรู้สึกว่าโกรธที่พ่อของเธอที่เพิ่งเสียชีวิตไปไม่สามารถมาให้กำลังใจเธอท่ีสนามการแข่งขันครั้งนี้ได้

ซิฟฟริน ได้บอกเล่าเรื่องถึงความแปรปรวนด้านสุขภาพจิตเวลาแข่งขันเพิ่มเติมลงบนอินสตราแกรม และยังได้ซื้อพื้นที่โฆษณาจากช่องทางโซเชียลมีเดียที่ระบุว่า “ใช่แล้ว ฉันเองก็เป็นมนุษย์” การสื่อสารลักษณะนี้นั้น แตกต่างจากสมัยก่อนมากที่นักกีฬาส่วนใหญ่มักจะถ่ายทอดเรื่องราวความเป็นสุดยอดของตนเอง

เจส บาร์ทลีย์ ผู้อำนวยการด้านสุขภาพจิตของทีมชาติสหรัฐฯ กล่าวว่าการที่นักกีฬาออกมาพูดถึงเรื่องสุขภาพจิตมากขึ้นเป็นสิ่งที่น่าชื่นชม เพราะจะทำให้ประเด็นดังกล่าวกลายเป็นเรื่องปกติมากขึ้น และนอกจากนี้ ยังเป็นการส่งเสริมให้ผู้คนให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพจิตและสุขภาพร่างกายให้เท่าเทียมกันมากขึ้นอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม นักกีฬาบางคน เช่น หลุยส์ วิโน นักกีฬาสโนว์บอร์ดชายทีมชาติอิตาลี บอกกับสำนักข่าวเอพีว่า เขาดีใจที่ประเด็นปัญหาสุขภาพจิตได้รับการพูดถึงมากขึ้น แต่เขาชอบที่จะจัดการและพูดถึงปัญหาประเภทนี้แบบส่วนตัวมากกว่า

นักกีฬาชายผู้นี้อธิบายว่า “ผมคิดว่าบางคนเลือกที่จะปรึกษาและรับมือปัญหาสุขภาพจิตกับคนใกล้ตัวของพวกเขามากกว่า โดยสำหรับผม มันไม่มีวิธีไหนที่ถูกหรือผิด ตราบใดที่เรารู้ตัว(ว่ากำลังเผชิญปัญหา)และไม่ละเลยให้มันก่ออันตรายต่อตัวเรา ดังนั้น ผมจึงไม่คิดว่าเราต้องออกมาพูดถึงปัญหาดังกล่าวในพิ้นที่สาธารณะ”

สำนักข่าวเอพีรายงานว่า นักกีฬาจำนวนมากยังคงเลือกที่จะพูดถึงปัญหาสภาพจิตใจในที่สาธารณะต่อไป เพราะพวกเขาต้องการให้เรื่องสุขภาพจิตกลาย เรื่องปัญหาทั่วไป

อแมนด้า ฟีแอลค์ หัวหน้าศูนย์สุขภาพจิตเพื่อเยาวชน The Dorm แห่งนครนิวยอร์กและอดีตนักกีฬาสเก็ตลีลา กล่าวว่า แม้เธอรู้สึกดีที่ผู้คนเปิดใจคุยเรื่องสุขภาพจิตมากขึ้น แต่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่แท้จริงกับประเด็นข้างต้นยังคงต้องใช้ระยะเวลา เนื่องจากวัฒนธรรมในแต่ละประเทศมีข้อจำกัดจากอคติในระดับต่างกันเรื่องการพูดเกี่ยวกับสุขภาพจิตอย่างเปิดเผย

  • ที่มา: เอพี
XS
SM
MD
LG