ลิ้งค์เชื่อมต่อ

โอลิมปิกฤดูหนาวปักกิ่ง กับการเยือน “บ้านเกิด” ของเหล่านักกีฬาต่างชาติเชื้อสายจีน


FILE - Alysa Liu, of the United States, performs during the women's free skating at the ISU Grand Prix of Figure Skating NHK Trophy competition in Tokyo, Japan, Nov. 13, 2021.
FILE - Alysa Liu, of the United States, performs during the women's free skating at the ISU Grand Prix of Figure Skating NHK Trophy competition in Tokyo, Japan, Nov. 13, 2021.

นอกจากความสำคัญทางด้านการกีฬาแล้ว การแข่งขันโอลิมปิดฤดูหนาวที่กรุงปักกิ่งยังได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าแข่งขันจากต่างชาติ โดยเฉพาะนักกีฬาที่มีเชื้อสายจีนแต่ลงแข่งในนามของประเทศอื่น ได้มีโอกาสย้อนสำรวจรากเหง้าของตัวเองมากขึ้น

การเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว ‘ปักกิ่ง เกมส์ 2022’ ของนักกีฬาชาติต่างๆ ที่มีเชื้อสายจีนผสมเปรียบเสมือนการหวนกลับบ้านเกิดที่เต็มไปด้วยความซับซ้อนและละเอียดอ่อน และถือเป็นโอกาสสำคัญในการสะท้อนตัวตนของพวกเขาและจิตวิญญาณของกีฬาโอลิมปิก

แมนดิสัน ซ็อก นักกีฬาโอลิมปิกเต้นรำน้ำแข็ง (ice dancer) ของทีมชาติสหรัฐฯ บอกสำนักข่าวเอพีว่า “ทุกครั้งที่ฉันอยู่บนรสบัส (ที่กรุงปักกิ่ง) ฉันมักจะมองออกไปนอกหน้าต่างและศึกษาเมือง ฉันจินตนาการถึงรกรากและบรรพบุรุษของฉัน มันเป็นความรู้สึกดีๆ ที่ว่าฉันเองเป็นมีความส่วนหนึ่งของผืนดินนี้” โดยบิดาของนักกีฬาสาวผู้นี้เป็นชาวรัฐฮาวายที่มีเชื้อสายจีนผสม

อาจารย์ด้านประวัติศาสตร์แห่ง University of Massachusetts วิทยาเขตแอมเฮิร์สต์ ริชาร์ด ชู อธิบายว่า Chinese diaspora หรือ กลุ่มคนที่มีเชื้อสายจีนแต่อาศัยอยู่นอกประเทศจีนนั้นมีประวัติศาสตร์ยาวนานย้อนกลับไปถึงศตวรรษที่ 16 และมีความหลากหลายมาก คือมีตั้งแต่ชั้นแรงงานระดับล่างในสมัยการล่าอาณานิคม ไปจนถึงผู้ที่จบการศึกษาระดับสูงและย้ายไปต่างประเทศเพื่อหาโอกาสที่ดีกว่า รวมทั้งเด็กผู้หญิงจีนจำนวนมากที่ถูกชาวต่างชาติรับไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรมในช่วงที่ทางการจีนใช้นโยบายลูกคนเดียว

ความหลากหลายนี้ส่งผลต่อการรับรู้และดำรงความเป็นจีนของผู้ที่มีเชื้อสายจีนในประเทศต่าง ๆ ซึ่งมีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมแตกต่างกันด้วย

ประเด็นเกี่ยวกับอัตลักษณ์ความเป็นจีน (Chinese identity) จึงเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อน โดยอย่างยิ่งกับชาวฮ่องกงและไต้หวันที่มีความขัดแย้งทางการเมืองกับทางการจีนมานาน นักกีฬาสเก็ตน้ำแข็งของสหรัฐฯ แคเร็น เช็น ซึ่งครอบครัวอพยพมาจากไต้หวัน บอกกับเอพีว่า เธอเป็นคนทั้งไต้หวันและคนจีน และมักใช้สองคำแทนกันบ่อยครั้ง

เธอกล่าวเสริมว่า เธอจะพยายามใช้ภาษาจีนให้มากที่สุดระหว่างที่อยู่ที่กรุงปักกิ่ง และเธอรู้สึกภูมิใจที่สามารถแสดงภูมิหลังของเธอบนลานน้ำแข็งผ่านการสเก็ตด้วยเพลง ‘Butterfly Lovers Violin Concerto’ ซึ่งเป็นเพลงบรรเลงสไตล์คลาสสิคแบบสากลที่มีกลิ่นอายของความเป็นจีนผสมอยู่ หลายคนเรียกเพลงนี้ว่าเป็น "โรมิโอกับจูเลียต เวอร์ชั่นจีน"

การแข่งขัน ‘ปักกิ่ง เกมส์’ ของนักกีฬาโอลิมปิกหลายคนที่มีเชื้อสายจีนจึงแสดงให้เห็นความหลากหลายของคนจีนที่พลัดถิ่นเพราะนักกีฬาบางคนมีเชื้อชาติและวัฒนธรรมอื่นผสมกับจีนอยู่ บางคนมีเชื้อสายจีนย้อนกลับไปหนึ่ง สอง หรือหลายรุ่น ขณะที่นักกีฬาบางคนแม้มีภูมิหลังคล้ายกันแต่ก็เลือกที่จะแสดงออกต่างกัน เช่น กรณีของนักกีฬาโอลิมปิกสเก็ตชาย นาธาน เช็น และ นักกีฬาโอลิมปิกสกีหญิง ไอลีน กู่ โดยผู้เข้าแข่งขันทั้งสองคนเกิดและโตที่สหรัฐฯ จากพ่อแม่ที่อพยพมาจากประเทศจีนเหมือนกัน แต่นาธานลงแข่งในนามสหรัฐฯ ส่วนไอลีนนั้นลงแข่งในนามของประเทศจีน

การตัดสินของไอลีนได้เรียกเสียงฮือฮาในแวดวงกีฬามาก แต่ก็แสดงให้เห็นถึงการที่นักกีฬาเลือกที่จะแสดงออกความเป็นตัวเอง ดังนั้น ‘ปักกิ่ง เกมส์’ ที่เปิดโอกาสให้นักกีฬาเชื้อสายจีนหลายๆ คนมาเยือนแผ่นดินจึนเป็นครั้งแรก จึงมีความหมายมากทั้งในเรื่องความสำเร็จในด้านอาชีพนักกีฬาและความสำเร็จส่วนตัว

อลิสา หลิว นักกีฬาโอลิมปิกสเก็ตหญิงทีมสหรัฐฯ ที่กำลังจะเยือนประเทศจีนเป็นครั้งแรก มีบิดาเป็นผู้ลี้ภัยทางการเมืองจากประเทศจีนและอพยพมาตั้งถิ่นฐานที่นครซานฟรานซิสโก บิดาของเธอมีความผูกพันและความต้องการที่จะกลับไปเหยียบแผ่นบ้านเกิดที่ประเทศจีนมาก แต่ไม่สามารถทำได้เพราะข้อจำกัดข้างต้น ดังนั้น การที่อลิสาสามารถลงแข่งในประเทศจีนได้จึงถือเป็นก้าวสำคัญของครอบครัวของเธอ

ขณะที่ นักกีฬาฮอกกี้น้ำแข็งจากประเทศแคนาดา จอร์จ โฮ ซาง ที่มีเชื้อสายจาไมก้ากับจีน และได้รับการเลี้ยงดูมาในวัฒนธรรมยุโรปผสมกับยิว ได้บอกกับเอพีว่า การที่เขาลงแข่งในนามประเทศแคนาดานั้นสะท้อนให้เห็นถึงการหลอมรวมกันของเชื้อชาติต่างๆ ที่ถือเป็นจิตวิญญาณที่แท้จริงของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก

ที่มา: สำนักข่าวเอพี

XS
SM
MD
LG