ลิ้งค์เชื่อมต่อ

รู้จัก 'myME' โรงเรียนเคลื่อนที่สำหรับเด็กยากจนในเมียนมา


Myanmar Education
Myanmar Education
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:42 0:00

​แรงงานเด็กชาวเมียนมาก้าวเข้าสู่ตลาดแรงงานในภาคบริการและอุตสาหกรรม จนต้องหันหลังให้กับการศึกษาเพื่อหารายได้จุนเจือครอบครัว แต่ล่าสุดมีชายชาวเมียนมาคนหนึ่งที่หวนกลับบ้านเกิดและนำเทคโนโลยีการศึกษาเคลื่อนที่ ที่เรียกกันว่า myME เพื่อเปิดโอกาสให้กับเยาวชนในเมียนมาให้มีชีวิตที่ดีขึ้น

ภารกิจในทุกๆวันของเด็กชาย ซอว์ กุ โด วัย 15 ปี คือ กวาดพื้น ล้างจาน และเช็ดโต๊ะอาหาร เขาใช้เวลาทำงานร่วม 11 ชั่วโมงในร้านอาหารของนครย่างกุ้ง ของเมียนมา และมีวันหยุดเพียงเดือนละ 2 วัน ด้วยค่าแรง 60 ดอลลาร์ หรือราว 2 พันบาทต่อเดือนเท่านั้น

เด็กชายซอว์ ต้องลาออกจากโรงเรียนตั้งแต่ชั้น ป.2 จากครอบครัวมาเพื่อมาทำงานในนครย่างกุ้งนับแต่นั้นเป็นต้นมา เพื่อหารายได้ช่วยเหลือพ่อแม่ที่รับจ้างรายวันเพื่อเลี้ยงดูพี่น้องอีก 5 คน

ชีวิตของเด็กชายซอว์ คือ สิ่งที่เยาวชนกว่า 1 ล้านคนในเมียนมาต้องเผชิญ ชาวเมียนมากว่า 25 เปอร์เซนต์อยู่ในภาวะยากจน เด็กถึง 1 ใน 5 ต้องลาออกจากโรงเรียนเพื่อหางานทำ แม้รัฐบาลเมียนมาจะมีกฏหมายห้ามเยาวชนอายุต่ำกว่า 14 ปีทำงาน และอนุญาตให้เด็กอายุต่ำกว่า 16 ปีทำงานได้ในชั่วโมงจำกัด แต่ก็ไม่ได้หยุดปัญหาแรงงานเด็กเหล่านี้ได้

ระหว่างที่เด็กจำนวนมากต้องออกจากโรงเรียนมาหลายปี ก็มีคนกลุ่มหนึ่งที่นำโรงเรียนเคลื่อนที่ไปหาพวกเขาแทน

เด็กชายซอว์และเพื่อนๆในร้านอาหาร ล้อมวงกันหลังเลิกงาน เพื่อเรียนภาษาอังกฤษ ในโครงการ Myanmar Mobile Education Project ที่เรียกสั้นๆว่า myME โครงการสอนหนังสือเคลื่อนที่ ครอบคลุมวิชาคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ รวมทั้งการฝึกอาชีพ อย่างการโรงแรมและงานตัดเย็บ

myME Project
myME Project

นี่คือไอเดียของนายทิม เอ ฮาร์ดี้ Executive Director และผู้ร่วมก่อตั้งของโครงการ myME ที่ย้ายไปอยู่ในอเมริกาเมื่อ 28 ปีก่อนหวนกลับมาพัฒนาบ้านเกิดด้วยการศึกษาเมื่อ 5 ปีที่แล้ว และประสบความสำเร็จอย่างมาก

นายทิม บอกว่า เมื่อเขากลับมาเยือนเมียนมาเมื่อ 5 ปีที่แล้ว เขาพบว่ามีเด็กวัยรุ่นจำนวนมากที่ทำงานตามร้านขายชาและร้านอาหารข้างถนน แทนที่จะได้ไปเรียนหนังสือ ซึ่งเป็นเรื่องที่เจ็บปวดมาก

เป้าหมายของ myME คือการช่วยเหลือเด็กเหล่านี้ให้ได้รับการศึกษาและทักษะ เพื่อพัฒนาตัวเองให้มีอาชีพที่สร้างรายได้สูงขึ้น

หนึ่งในนักเรียนที่ประสบความสำเร็จ คือ นอว์ เอ เอ เนง ที่ภาษาอังกฤษและการฝึกทักษะการตัดเย็บ ทำให้เธอได้เข้ามาทำงานในร้านตัดเย็บเสื้อผ้า และมีรายได้เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวจากเดิมที่เธอต้องทำงานในร้านขายชาทั่วไปในนครย่างกุ้ง

ปัจจุบัน โครงการ myME ได้งบประมาณสนับสนุนจากภาคเอกชน 2 แสนดอลลาร์ หรือราว 6 ล้าน 8 แสนบาทต่อปี เปิดสอนพนักงาน 5 ร้อยคน เป็นเวลา 3 วันต่อสัปดาห์ ตามร้านขายชา 35 แห่งทั่วเมียนมา

XS
SM
MD
LG