ลิ้งค์เชื่อมต่อ

พม่าเร่งเครื่องเศรษฐกิจผลิตสินค้าส่งออกท่ามกลางอุปสรรคเรื่องปัญหาแรงงาน


Myanmar Seeking to Turn Tide of Investment, Manufacturing
please wait

No media source currently available

0:00 0:02:43 0:00

Myanmar Seeking to Turn Tide of Investment, Manufacturing

please wait

No media source currently available

0:00 0:03:51 0:00

รัฐบาลเมียนมาร์ภายใต้การนำของพรรคสันนิบาตเพื่อประชาธิปไตย ต้องการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยการผลักดันภาคการผลิต

นโยบายสำคัญประการหนึ่งคือการสร้างภาคแรงงาน ให้สามารถตอบรับกับกิจกรรมการผลิตที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว

ภารกิจดังกล่าวเป็นงานที่ไม่ง่าย เพราะก่อนการเปิดประเทศไม่นานนี้ การศึกษาและโอกาสด้านอาชีพของชาวเมียนมาร์ถูกบั่นทอนภายใต้รัฐบาลทหารที่กุมอำนาจมายาวนาน 50 ปี

ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจส่งออกของเมียนมาร์เติบโตสองเท่าจนมีขนาด 1,100 ล้านดอลลาร์ ณ สิ้นปีปิดงบการเงินที่แล้ว และได้จ้างคนงาน 380,000 ภายในประเทศ

นอกจากนั้นรัฐบาลออกกฎหมายด้านการลงทุนที่ให้สิทธิพิเศษทางภาษี และที่เป็นข่าวดีอีกประการหนึ่งคือ สหรัฐฯ ได้ยกเลิกมาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจต่อเมียนมาร์เมื่อเดือนกันยายน

สมาคมผู้ผลิตสินค้าเครื่องนุ่มห่มของเมียนมาร์ประเมินว่า จะสามารถเพิ่มการจ้างงานเป็น 1 ล้าน 5 แสนคน ภายใน 8 ปีจากนี้ คุณ Khine Khine Nwe เลขาธิการของสมาคม กล่าวว่า ภาคการผลิตสินค้าเครื่องนุ่มห่มมีโอกาสเติบโตแน่นอน เพราะได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนและจากต่างประเทศด้วย

อย่างไรก็ตาม เมียนมาร์ยังเสียเปรียบเรื่องกฎเกณฑ์ต่างๆ เพราะรัฐบาลไม่มีประสบการณ์เพียงพอในการให้รายละเอียดด้านกฎหมาย ที่ทำให้ภาคธุรกิจสามารถคาดการณ์ถึงสถานการณ์ในอนาคตได้

Sai Muang กล่าวว่าโรงงานของตนได้รับประโยชน์จากความช่วยเหลือจากต่างชาติ ในการปรับมาตรฐานเรื่องกฎเกณฑ์ด้านแรงงานและมาตรฐานการผลิต แต่โดยภาพรวมแล้วการขาดประสบการณ์ในการบริหารเศรษฐกิจและการผลิตสินค้าป้อนตลาดโลก ยังคงเป็นจุดอ่อนของเมียนมาร์

คุณ ปิยะมาล พิชัยวงศ์ เจ้าหน้าที่แห่งองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labor Organization) ประจำสำนักงานที่เมียนมาร์ กล่าวว่าเมียนมาร์ไม่เคยเป็นประเทศที่อยู่ภายใต้ระบบกฎหมาย ดังนั้นจึงไม่มีเกณฑ์อ้างอิงเมื่อมองย้อนกลับไปในอดีต

ปัจจุบันองค์การแรงงานระหว่างประเทศของสหประชาชาติกำลังทำงานร่วมกับรัฐบาลเมียนมาร์ เพื่อร่างกฎหมายด้านแรงงานใหม่ ขณะเดียวกันจำนวนการประท้วงขอขึ้นค่าแรงเพิ่มมากขึ้น หลังจากที่ค่าแรงขั้นต่ำถูกกำหนดไว้ที่ 2.75 ดอลลาร์ หรือ ราว 100 บาท ต่อวันเมื่อปีที่แล้ว

นอกจากนั้นสหภาพแรงงานท้วงติงเรื่องที่ว่า สมาชิกของสหภาพถูกเอาเรื่อง และแรงงานโดยทั่วไปยังขาดความเข้าใจเรื่องสิทธิ์ของตน ส่วนนายจ้างยังคงต้องปรับตัวอย่างมากที่จะทำตามกฎหมาย

(รายงานโดย Daniel de Carteret / เรียบเรียงโดย รัตพล อ่อนสนิท)

XS
SM
MD
LG