ย้อนดู 5 ปี “ปฏิบัติการกวาดล้าง” ชาวโรฮีนจา

Rohingya Women Protest in Kutipalong Refugee camp in 2019, on the second year ceremony of the genocide.

ชาวโรฮีนจารำลึกครบรอบ 5 ปีเหตุความรุนแรงจาก “ปฏิบัติการกวาดล้าง” โดยรัฐบาลเมียนมาได้ปราบปรามชนกลุ่มน้อยกลุ่มนี้ในรัฐยะไข่ด้วยความรุนแรงเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ปี ค.ศ. 2017 ซึ่งส่งผลให้ชาวโรฮีนจากว่า 700,000 ต้องอพยพจากเมียนมาไปอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยในบังกลาเทศและทหารระดับสูงในเมียนมาถูกตั้งข้อหาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (genocide)

รายงานขององค์การแพทย์ไร้พรมแดน ระบุว่า กองทัพเมียนมาทำการสังหารชาวโรฮีนจาไปราว 6,700 คนในช่วงเดือนแรกของปฏิบัติการดังกล่าว และอีกหลายพันคนในเดือนต่อ ขณะที่ เหยื่อผู้รอดชีวิตได้เล่าถึงเหตุการณ์ข่มขืน ทำร้าย และเผาบ้านเรือนของชาวมุสลิมโรฮีนจา ที่ทำให้นานาประเทศร่วมกันประณามเมียนมาอย่างหนัก แต่ก็ไม่ได้ทำให้สถานการณ์เลวร้ายต่าง ๆ ยุติลงเลย โดยเฉพาะหลังจากที่กองทัพเมียนมาก่อรัฐประหารเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ของปีที่แล้ว

ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา สหรัฐฯ ประกาศว่า การกระทำของเมียนมาต่อชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมโรฮีนจา ถือเป็นการ "สังหารล้างเผ่าพันธุ์" แต่รัฐบาลทหารเมียนมาไม่สนใจแรงกดดันจากเวทีโลก และชี้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นกับชาวโรฮีนจาเป็นเรื่องจำเป็นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการโจมตีจากชาวโรฮีนจาหัวรุนแรง

แดน ซัลลิแวน รองผู้อำนวยการแห่ง Refugee International’s Asia and Africa กล่าวว่า “ทั่วโลกเห็นชัดถึงความรุนแรงที่กองทัพเมียนมาทำ (ต่อชาวโรฮีนจา) และสิ่งที่เกิดขึ้นได้ทำให้ชมกลุ่มน้อยกลุ่มอื่นในเมียนมาได้รับรู้ถึงความโหดร้ายที่ชาวโรงฮีนจาเผชิญ ซึ่งคนเหล่านี้เคยไม่เชื่อว่า ทหารเมียนมาทำสิ่งเหล่านี้จริง หรือเคยเลือกที่จะเชื่อคำโกหกของทหารเมียนมา”

แม้จะเกิดความพยายามในการรวมตัวชนกันของชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ ในเมียนมาขึ้น แต่ ควา วิน ผู้อำนวยการเครือข่ายมนุษยธรรมในเมียนมาย้ำว่า การที่จะล้มบุคคลต่าง ๆ ที่ร่วมกันทำการรัฐประหารได้ ทุกฝ่ายทุกรวมตัวกันและต้องทำงานร่วมกันด้วย

Border Guard Police stand at edge of Sittwe IDP camp in August 2017, a few days after the start of the clearance operation.

ประเทศเมียนมามีกลุ่มชาติพันธุ์ราว 135 กลุ่ม แต่กฎหมายเรื่องสัญญาชาติที่ออกมาในปี 1982 ไม่มีการรับรองสัญชาติเมียนมาและสิทธิ์ต่าง ๆ ให้แก่ชาวโรฮีนจา พวกเขาจึงกลายเป็นเหยื่อความรุนแรงและมักได้รับการปฏิบัติที่ไม่ยุติธรรมตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ปัจจุบัน ค่ายผู้ลี้ภัยที่แออัดของชาวโรฮีนจาในบังกลาเทศมีสภาพความเป็นอยู่ที่น่าเป็นห่วงและมีข้อบังคับเคร่งครัดมากมาย

ผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจารายหนึ่งที่ไม่ต้องการเปิดเผยตัวตนและอาศัยอยู่ในค่ายกูตูปาลองซึ่งเป็นค่ายผู้ลี้ภัยที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ให้สัมภาษณ์กับวีโอเอว่า “ตั้งแต่การก่อสร้างรั้วล้อมรอบค่ายผู้ลี้ภัยสำเร็จลง ผู้ลี้ภัยในค่ายประสบปัญหาการเดินทางจากค่ายหนึ่งไปสู่อีกค่ายหนึ่ง แม้บางจุดที่จะเดินทางไปอยู่ภายในรั้วก็ตาม นั่นก็เป็นเพราะเจ้าหน้าที่ที่มาควบคุมและเหตุผลอื่น ๆ อีกมากมาย”

ผู้ลี้ภัยวัย 25 ปีข้างต้น อธิบายว่า แม้รั้วจะช่วยเสริมเรื่องความปลอดภัย แต่ตำรวจมักรีดไถชาวโรฮีนจามากกว่าที่จะปกป้องพวกเขา และค่าโดยสารรถแท็กซี่เพิ่มขึ้นเท่าตัวเนื่องจากคนขับต้องจ่ายเงินมากที่จุดตรวจของด่านต่าง ๆ

ซึ่งในระหว่างที่หลายคนต่างตั้งตารอดูว่าสภาพในค่ายผู้ลี้ภัยจะดีขึ้นหรือไม่ องค์กรเพื่อสิทธิมนุษยชนต่างๆ รวมทั้ง มิเชลล์ บาเชเล็ต ข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ได้เรียกร้องรัฐบาลบังกลาเทศให้เปิดโอกาสทางการศึกษาและเปิดชั้นเรียนให้แก่เยาวชนชาวโรฮีนจาเพื่อที่พวกเขาจะกลับเข้าสู่สังคมเมียนมาได้ในอนาคต

A Rohingya family at a settlement village near Sittwe in August 2017, a few days after the clearance operation began. Travel restrictions forbid anyone in the village from traveling.

เมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา มิเชลล์ บาเชเล็ต ได้เดินทางไปเยี่ยมค่ายผู้ลี้ภัยข้างต้นและพูดคุยถึงประเด็นและตัวเลือกในการส่งชาวโรฮีนจากลับเมียนมา โดยเธอกล่าวว่า ผู้ลี้ภัยชาวมุสลิมโรฮีนจาล้วนอยากกลับ แต่ยืนกรานว่า จะกลับเมียนมาต่อเมื่อพวกเขาได้รับการรับรองสัญชาติให้เป็นชาวเมียนมา เมื่อสิทธิของพวกเขาได้รับการเคารพและสามารถกลับไปใช้ผืนดินของพวกเขาทำมาหากินได้

เจ้าหน้าที่หน่วยงานด้านมนุษยธรรมรายหนึ่งซึ่งเป็นชาวโรฮีนจาและมีประสบการณ์การทำงานในรัฐยะไข่แต่ต้องการเปิดเผยตัวตน ได้ให้สัมภาษณ์กับ วีโอเอ ผ่านทางโทรศัพท์ ว่า โอกาสที่จะเกิดการส่งชาวโรฮีนจากลับเมียนมามีน้อยมาก เพราะในเมียนมา โดยเฉพาะเมืองมองดอว์ในรัฐยะไข่ ไม่มีการเตรียมการรองรับใด ๆ ให้ผู้ลี้ภัยกลับเลย

อย่างไรก็ตาม ก้าวสำคัญสำหรับความยุติธรรมของชาวโรฮีนจาได้เกิดขึ้นเมื่อเดือนที่ผ่านมาที่กรุงเฮกของประเทศเนเธอร์แลนด์ เพราะศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลกปฏิเสธการคัดค้านการไต่สวนคดีชะตากรรมของชาวโรฮีนจาที่รัฐบาลทหารเมียนมายื่นมา และเดินหน้าพิจารณาคดีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวโรฮีนจาอย่างเต็มรูปแบบแล้ว

A village hut burns to the ground in Rakhine in September 2017.

แต่แม้จะมีหลักฐานมากมายที่จะพิสูจน์ความผิดในคดีนี้ได้ นักวิเคราะห์ต่างย้ำว่า ต้องมีการกดดันเมียนมามากกว่าที่เป็นอยู่โดยเร็ว เพราะการไต่สวนคดีนี้น่าจะกินเวลานานอีกหลายปีกว่าจะสิ้นสุด

  • ที่มา: วีโอเอ