"นัยสำคัญ" จากการเยือนเอเชียครั้งสุดท้ายของประธานาธิบดีโอบาม่า กับอนาคตของข้อตกลงการค้าเสรี TPP

Opponents of the Trans Pacific Partnership (TPP) trade agreement protest outside the White House in Washington, Feb. 3, 2016.

อนาคตของความพยายามของสหรัฐที่จะปรับนโยบายเข้าหาเอเชียเวลานี้ขึ้นอยู่กับข้อตกลงการค้าภาคพื้นแปซิฟิก หรือ TPP ซึ่งรัฐสภาสหรัฐยังไม่ได้ให้ความเห็นชอบ

Your browser doesn’t support HTML5

Obama Asia TPP

ประธานาธิบดี Barack Obama กำลังจะเดินทางไปร่วมการประชุม G-20 ที่ประเทศจีนสุดสัปดาห์นี้ และต่อไปที่ประเทศลาวสำหรับการประชุมสุดยอด ASEAN และเอเชียตะวันออก

การเดินทางไปเอเชียของประธานาธิบดี Barack Obama ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 11 และครั้งสุดท้าย โดยแผนของประธานาธิบดีสหรัฐที่ต้องการจะให้อเมริกาเป็นผู้นำคนหนึ่งในเอเชียนั้น ขึ้นอยู่กับว่ารัฐสภาสหรัฐจะสนับสนุนข้อตกลงการค้าภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) หรือไม่?

Matthew Goodman อดีตที่ปรึกษานโยบายต่างประเทศของประธานาธิบดี Obama และเวลานี้เป็นนักวิเคราะห์ของ CSIS ซึ่งเป็น Think Tank แห่งหนึ่งในกรุงวอชิงตัน บอกว่า ถ้าทำไม่สำเร็จ ก็จะเป็นความผิดหวังอย่างมากทีเดียวสำหรับมรดกตกทอดที่ประธานาธิบดี Obama หวังจะทิ้งไว้ให้

ในวันพฤหัสบดีที่แล้ว วุฒิสมาชิก Mitch McConnell ผู้นำเสียงข้างมากในวุฒิสภาสหรัฐ และสังกัดพรรครีพับลิกัน กล่าวว่า วุฒิสภาจะไม่ลงคะแนนเสียงเรื่อง TPP ในสมัยประชุมนี้ โดยจะรอให้ประธานาธิบดีคนใหม่ ซึ่งจะเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคม ศกหน้าเป็นผู้รับช่วงต่อไป

ปัญหาก็คือ ผู้สมัครช่วงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐจากพรรคใหญ่ทั้งสองพรรค คือนาย Donald Trump จากพรรครีพับลิกัน และนาง Hillary Clinton จากพรรคเดโมแครต ได้กล่าวแสดงความไม่เห็นด้วยกับ TPP ทั้งคู่

ประธานาธิบดี Obama ได้กล่าวไว้ว่า TPP จะยกระดับมาตรฐานแรงงานและสิ่งแวดล้อม และปรับแก้ปัญหาที่ได้ประสบจากข้อตกลงการค้าอื่นๆ เช่น ข้อตกลงการเสรีอเมริกาเหนือ หรือ NAFTA รวมทั้งเปิดโอกาสให้บริษัทธุรกิจอเมริกันทั้งใหญ่และเล็ก เข้าถึงตลาดที่กำลังโตรวดเร็วที่สุดในโลกด้วย

แต่การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจจาก TPP แม้จะแตกต่างกัน แต่ส่วนใหญ่ชี้ว่าจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐน้อยมาก

สถาบัน Peterson ซึ่งเป็น Think Tank ทางเศรษฐกิจในกรุงวอชิงตัน ให้ตัวเลขไว้ว่า สหรัฐจะได้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจจาก TPP ไม่เกิน 0.5% หลังจาก 15 ปี

แต่นาย Josh Earnest โฆษกทำเนียบไว้ท์เฮ้าส์ กล่าวว่า ผลการสำรวจความคิดเห็นคนอเมริกันแสดงให้เห็นว่า คนส่วนใหญ่สนับสนุนข้อตกลงการค้าฉบับนี้ และกล่าวแสดงความหวังว่า ยังมีหนทางที่จะให้รัฐสภาลงมติให้ความเห็นชอบได้ทันวันที่ 20 มกราคมปีหน้า

นักวิเคราะห์ของสถาบัน Carnegie Endowment for International Peace นาย Douglas Paal ให้ความเห็นว่า ถ้าไม่มี TPP อเมริกาจะสูญเสียความน่าเชื่อถือเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในหมู่ประเทศพันธมิตรในเอเชีย

และว่าเอเชียจะเหลือทางเลือกเพียงทางเดียว คือจีน เพราะอเมริกาจะไม่เป็นที่น่าสนใจต่อประเทศเหล่านี้อีกต่อไป

TPP Countries and Other Global Trade Agreements