ทีมนักวิทยาศาสตร์เริ่มโครงการสำรวจมหาสมุทรอินเดียนาน 3 ปี

In this image taken from drone video, the Ocean Zephyr is docked in Bremerhaven, Germany, Wednesday Jan. 23, 2019.

Your browser doesn’t support HTML5

Scientists Exploring India Ocean Depths

การสำรวจมหาสมุทรอินเดียครั้งนี้ถือเป็นงานที่ทะเยอทะยานมาก และจะเป็นการสำรวจมหาสมุทรแห่งใหญ่เเห่งสุดท้ายบนโลกที่ยังไม่เคยถูกสำรวจมาก่อน มหาสมุทรอินเดียกินพื้นที่น้ำทะเลที่กว้างใหญ่มาก ซึ่งเริ่มปรากฏให้เห็นถึงผลกระทบจากภาวะโลกร้อนเเล้ว

การเข้าใจระบบนิเวศวิทยาของมหาสมุทรอินเดียมีความสำคัญ เพราะนอกจากจะสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสัตว์ต่างๆ ที่อาศัยในมหาสมุทรเเล้ว ยังมีคนราว 2,500 ล้านคนที่อาศัยในประเทศต่างๆ ที่ติดกับมหาสมุทรอินเดีย ตั้งเเต่แอฟริกาตะวันออก คาบสมุทรอาหรับ เอเชียใต้ เเละเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โครงการ Nekton Mission นี้ได้รับการสนับสนุนจากองค์การต่างๆมากกว่า 40 แห่ง จะทำการสำรวจใต้ทะเลในจุดต่างๆ ของมหาสมุทรอินเดียตลอด 3 ปีข้างหน้า

ผลการวิจัยนี้จะนำไปเสนอในงานประชุมเกี่ยวกับสภาพของมหาสมุทรอินเดียที่จะจัดชึ้นในปลายปี ค.ศ. 2021 หรืออีกสามปีข้างหน้า

เรือสำรวจโอเชี่ยน เซฟเฟอร์ (Ocean Zephyr) เดินทางออกจากท่าเรือ เบรมเมอร์ฮาเฟน (Bremerhaven) ในเยอรมนี ช่วงเเรกของการเดินทาง ทีมนักวิจัยจะใช้เวลา 7 สัปดาห์สำรวจชีวิตใต้ทะเล ร่างแผนที่พื้นทะเลเเละหย่อนเซ็นเซอร์ลงไปลึกใต้ทะเลถึง 2,000 เมตร หรือ 6,560 ฟุต ในทะเลรอบสาธารณรัฐเซเซลส์ (Seychelles) ซึ่งเป็นประเทศกลุ่มเกาะในมหาสมุทรอินเดีย

The Nekton Mission's Ocean Zephyr supply ship stands docked in Bremerhaven, Germany, Wednesday Jan. 23, 2019. (AP Photo/Stephen Barker)

นักวิทยาศาสตร์มีความรู้น้อยมากเกี่ยวกับชีวิตใต้ทะเลที่อยู่ลึกลงไปเกินกว่า 30 เมตร หรือ 100 ฟุต ซึ่งทีมนักวิทยาศาสตร์จากอังกฤษเเละจากประเทศเซเซลส์จะทำการสำรวจโดยใช้เรือดำน้ำที่มีคนประจำการสองลำ เเละจะใช้เรือดำน้ำที่บังคับทางไกลอีกหนึ่งลำในเดือนมีนาคมเเละเมษายน

รอนนี่ จูโม (Ronny Jumeau) เอกอักราชทูตของประเทศเซเซลส์ประจำองค์การสหประชาชาติ กล่าวว่า การสำรวจนี้มีความสำคัญในการช่วยประเทศหมู่เกาะเเห่งนี้เข้าใจดินเเดนท้องทะเลที่เเสนกว้างใหญ่ของตน

ในขณะที่ประเทศเซเซลส์มีเกาะถึง 115 เเห่ง แต่หากนำพื้นที่ดินมารวมกันเเล้วจะมีขนาดเพียง 455 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น เทียบเท่ากับขนาดของเมืองซาน แอนโตนิโอ้ ในรัฐเท็กซัส เเละเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศกินพื้นที่ทะเล 1 ล้าน 4 แสนตารางกิโลเมตร มีขนาดใหญ่เกือบเท่ากับรัฐอลาสก้า

จูโม กล่าวว่า ประเทศเซเซลส์มุ่งที่จะกลายเป็นผู้นำด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ “blue economy” ที่ใช้ทรัพยากรของท้องทะเล ประเทศหมู่เกาะนี้พึ่งพาการประมงเเละการท่องเที่ยวเป็นหลัก แต่เมื่อเร็วๆ นี้ ได้เริ่มต้นศึกษาความเป็นไปได้ในการขุดน้ำมันเเละเเก๊สจากใต้ทะเล

เขากล่าวว่า กุญเเจสำคัญคือการรู้ว่ามีอะไรอยู่ใต้ทะเลที่ล้อมรอบประเทศบ้าง อยู่จุดใด เเละมีคุณค่าอย่างไรบ้าง เขากล่าวว่าความรู้ที่เท่าทันนี้จะช่วยตัดสินใจได้ว่ามีอะไรบ้างที่จะนำไปใช้ประโยชน์และอะไรที่ควรปกป้องเเละอนุรักษ์

จูโม กล่าวว่า การสำรวจทางทะเลเพื่อการวิจัยอย่างโครงการ Nekton Mission นี้มีความสำคัญมากที่จะช่วยให้อุดช่องว่างทางความรู้เหล่านี้เเละสร้างความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับมหาสมุทรเเละเเหล่งทรัพยากร เพื่อช่วยให้ตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาดเพื่อวางแผนอนาคตแก่เศรษฐกิจ “blue economy” ของประเทศเซเซลส์

ประเทศหมู่เกาะเเห่งนี้มีประชากรน้อยกว่า 100,000 คน เเละเริ่มได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนเเล้ว ไม่ว่าจะเป็นน้ำทะเลที่อุ่นขึ้น ทำให้ปะการังเกิดภาวะกัดขาว

คัลลัม โรเบิร์ตส (Callum Roberts) นักชีววิทยาทางทะเลที่มหาวิทยาลัยยอร์ค ในอังกฤษ ซึ่งเป็นผู้จัดการดูเเลทรัพย์สินของโครงการสำรวจนี้กล่าวว่า มหาสมุทรอินเดียกำลังประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางนิเวศวิทยาอย่างรวดเร็วเพราะกิจกรรมของมนุษย์

เขากล่าวว่า ประเทศหมู่เกาะเซเซลส์มีความสำคัญต่อการอนุรักษ์ทางทะเลในมหาสมุทรอินเดียเเละทั่วโลก

ลูซี่ วูดดอล หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของโครงการจากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด กล่าวว่า ทีมนักวิจัยคาดว่าจะค้นพบสัตว์ทะเลใหม่ๆ อีกหลายสิบชนิด ตั้งเเต่ปะการังไปจนถึงสัตว์ที่ใหญ่กว่า เช่น ฉลาม dog-sharks

(เรียบเรียงโดย ทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)