ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ป่วยกายใจไม่แพ้! เปิดใจ ‘นพ.วิรุฬ ลิ้มสวาท’ คุณหมอไทยผู้พิชิตดุษฎีบัณฑิต ม.ฮาร์วาร์ด ตอนที่ 2


ดร. วิรุฬ ลิ้มสวาท
ดร. วิรุฬ ลิ้มสวาท

แม้จะจบการศึกษาจากคณะมานุษยวิทยาดุษฎีบัณฑิต จากมหาวิทยาลัย Harvard ได้ไม่นาน แต่ นพ.วิรุฬ ลิ้มสวาท ยังคงรู้สึกเหมือนกับการเดินทางอันแสนยาวนาน

“เฮ้อ .. ต้องถอนหายใจยาวๆหลายๆครั้ง .. ในช่วง 2 ปีแรก ผมได้ทุนจากองค์การอนามัยโลกที่คณะมานุษยวิทยาที่ Harvard .. สิ่งที่พบก็คือว่า เราเคยเป็นแถวหน้าเป็นเบอร์ 1 ในห้องเรียนเมืองไทย มาถึงมันเปลี่ยนไปอีกแบบนึง .. "

"จากเดิมเราคิดว่าคนที่เก่งคือคนที่มีความรู้กว้างขวางที่สุด แต่ปรากฏว่า ความรู้ที่รู้อยู่แล้ว .. เพียงไม่นานมันจะกลายเป็นความรู้ที่ล้าหลังไปแล้ว .. เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญของการเรียนปริญญาโทและปริญญาเอกนั้น คือ การตั้งคำถาม กล้าที่จะเป็นตัวของตัวเอง กล้าวิพากษ์ว่าเราไม่เห็นด้วย แล้วค่อยๆเรียนรู้ ว่าสิ่งที่เราไม่เห็นด้วย มันถูกหรือยังไม่สมบูรณ์ยังไง นั่นคือกระบวนการเรียนรู้ครับ”

ดร. วิรุฬ ลิ้มสวาท
ดร. วิรุฬ ลิ้มสวาท

แม้จะต้องถึงกับถอนหายใจกันหลายครั้งเมื่อต้องพูดถึงการเรียนในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยในฝันที่อยากจบการศึกษา แต่ที่ประทับใจมากที่สุดในรั้ว Harvard คือ ความใส่ใจของคณาจารย์ที่นั่น

“อาจารย์นี่มีความใส่ใจลูกศิษย์แต่ละคนในฐานะคนหนึ่งคนมากๆ มาตอนแรกๆยังเขียนภาษาอังกฤษไม่แข็งแรง ผมส่งเปเปอร์ไปให้อาจารย์ อาจารย์ท่านเป็นอาจารย์อาวุโสและมีลูกศิษย์มาก แต่สิ่งที่ท่านส่งกลับมา คือ ท่านอ่านทุกตัวอักษร และใช้ดินสอเติมให้ ว่าตัวนี้เติม s ตรงนี้ต้องแก้ tense เป็นแบบนี้ อันนี้คือความประทับใจว่าท่านมีความใส่ใจ”

ไม่เพียงแต่คุณหมอวิรุฬที่ต้องปรับตัว แต่ครอบครัวของคุณวิรุฬ คุณบุหงา ภรรยาและลูก ก็ต้องย้ายมาอยู่ในสหรัฐฯด้วยเช่นกัน และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของเส้นทางชีวิตที่เหมือนรถไฟเหาะตีลังกา

ดร. วิรุฬ ลิ้มสวาท
ดร. วิรุฬ ลิ้มสวาท

“นี่ก็เป็นประสบการณ์ที่ค่อนข้างเข้มข้น .. พอมาถึงเนี่ย 2-3 เดือนแรกอาการก็กำเริบขึ้นอีก ก็ต้องพาภรรยาตระเวนเข้าห้องฉุกเฉิน"

ดร. วิรุฬ ลิ้มสวาท
ดร. วิรุฬ ลิ้มสวาท

"ก็มีคุณหมอแนะนำว่าให้ทำเด็กหลอดแก้วอีกครั้ง ภรรยาผมก็กลับเมืองไทยไปทำเด็กหลอดแก้ว แต่คนที่ 3 มาเองเป็น surprise แต่มีปัญหาหรือรกต่ำต้องผ่าคลอดอย่างเดียว ทำให้เป็นห่วงมากทั้งแม่ทั้งลูก”

ไม่เพียงแต่การต่อสู้ของสมาชิกในครอบครัวเท่านั้น โรคร้ายที่เคยเกิดขึ้นกับคุณหมอวิรุฬ ก็กลับมาเล่นงานในช่วงโค้งสุดท้ายของการศึกษาอีกเช่นกัน

ดร. วิรุฬ ลิ้มสวาท
ดร. วิรุฬ ลิ้มสวาท

“ปี 2556 ตอนนั้นผมสมัครเข้าหลักสูตรปริญญาเอก และได้ทุนปริญญาเอกแล้ว ตอนนั้นช่วงซัมเมอร์ ผมก็ปวดหัว ก็เลยไปห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลและพบว่าก้อนเนื้อมันงอกเพิ่มมากขึ้น และตัดสินว่าต้องผ่าตัดอีกครั้งนึง”

แม้จะเจออุปสรรคมากแค่ไหน แต่สิ่งคุณหมอก็จะลุกกลับขึ้นมาสู้อีกครั้ง ด้วยความคิดที่ว่า

ดร. วิรุฬ ลิ้มสวาท
ดร. วิรุฬ ลิ้มสวาท

“ผมยึดถือคำสอนของพระราชบิดา (สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล) ที่ว่า True Success is not in the learning, but in its application to the benefit of mankind. ผมคิดว่ามันเป็นความตั้งใจที่จะกลับไปทำประโยชน์ในที่ที่จากมา ผมเลยคิดว่า .. ถ้าผมหยุดมันก็สูญเปล่า!"

"มีหลายครั้งที่รู้สึกว่าไม่ไหว มีหลายครั้งที่รู้สึกว่าเป็นไปไม่ได้ แต่ภาพที่เราอยากเห็น คือ รอยยิ้มของผู้คน ทั้งคนไข้ ทั้งคนในวงการแพทย์ ให้ทุกคนมีความสุขขึ้นได้ .. ก็เป็นแรงผลักดันว่ายังไงก็ต้องจบให้ได้!”

อีกด้านหนึ่ง ในมุมมองของ Arthur Kleinman อาจารย์คณะมานุษยวิทยา จาก Harvard Medical School ชื่นชมผลงานและความตั้งใจของคุณหมอวิรุฬว่ามีความโดดเด่นเป็นอย่างยิ่ง

ดร. วิรุฬ ลิ้มสวาท
ดร. วิรุฬ ลิ้มสวาท

สิ่งที่เขาประทับใจในตัวคุณหมอวิรุฬ คือ แพทย์ไทยที่มีเลือดนักสู้และมีคุณธรรม ที่อยากจะสร้างมาตรฐานทางสาธารณสุขสำหรับผู้คนที่อยู่ชนบท บทบาทของเขาไม่เพียงแต่น่าประทับใจ แต่ยังต้องการความเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงความตั้งใจอันแรงกล้าของเขา

ดร. วิรุฬ ลิ้มสวาท
ดร. วิรุฬ ลิ้มสวาท

คุณหมอทิ้งท้ายในบทสัมภาษณ์กับ VOA ภาคภาษาไทยไว้อย่างน่าสนใจสำหรับผู้ที่กำลังท้อแท้สิ้นหวัง หรือเจอกับอุปสรรคมากมายในชีวิตด้วยว่า

“We have no choice but to be hopeful คือเราไม่มีทางเลือกนอกจากมีความหวังเท่านั้น ผมกลับไปด้วยความรู้สึกนี้

"ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นยังไงในตอนนี้ สิ่งเดียวที่เราต้องมีอยู่คือความหวัง ... แต่ความหวัง อย่างเดียวมันไม่พอ เราต้องการคนที่กล้าออกมาทำในสิ่งที่เราเชื่อมั่นว่าเราทำได้”

หลังจากนี้ นพ.วิรุฬ ลิ้มสวาท จะกลับไปปฏิบัติหน้าที่ ณ สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข พร้อมกับครอบครัว

ดร. วิรุฬ ลิ้มสวาท
ดร. วิรุฬ ลิ้มสวาท

XS
SM
MD
LG