ลิ้งค์เชื่อมต่อ

องค์การอนามัยโลกจัดระบบติดตามดู "ไวรัสซิก้า" ระยะยาว ชี้ยังต้องเรียนรู้อีกมาก


REUTERS - HEALTH ZIKA VENEZUELA
REUTERS - HEALTH ZIKA VENEZUELA
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:01 0:00

เมื่อองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ประกาศว่าโรคที่มาจากเชื้อไวรัส Zika เป็นสภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขโลกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมานั้น ความรู้เกี่ยวกับเชื้อไวรัสชนิดนี้มีน้อยมาก

นับแต่นั้นมา สิ่งที่องค์การอนามัยโลกได้เรียนรู้ก็คือ เชื้อไวรัสชนิดนี้จะยังคงแพร่เชื้อต่อไป และโรคที่เกิดขึ้นจากเชื้อไวรัสดังกล่าว สามารถทำให้เด็กเกิดใหม่มีสมองเล็กผิดปกติ

Peter Salama ผู้บริหารโครงการฉุกเฉินของ WHO กล่าวเมื่อเร็วๆนี้ว่า ยังมีความรู้เกี่ยวกับเชื้อไวรัสนี้น้อยมาก และจะต้องศึกษากันต่อไปอีก ดังนั้น WHO จึงได้เปลี่ยนสถานภาพของโครงการฉุกเฉินเกี่ยวกับเชื้อไวรัส Zika เป็นโครงการศึกษาระยะกลางและระยะยาว

เจ้าหน้าที่ของ WHO ผู้นี้กล่าวว่า องค์การอนามัยโลกจะทำงานต่อไปกับประเทศต่างๆ เพื่อจะได้เตรียมตัวรับมือกับโรคร้ายนี้ด้วยเครื่องมือใหม่ๆ ด้วยข้อมูลที่ดีขึ้น และด้วยคำแนะนำทางวิทยาศาสตร์ที่ดีที่สุดเท่าที่จะมีได้

ส่วน Anthony Costello ผู้อำนวยการเรื่องสุขภาพมารดา เด็กเกิดใหม่ เด็กและวัยรุ่น ขององค์การอนามัยโลก บอกว่าแม้ Zika จะไม่เป็นเรื่องฉุกเฉินอย่างเป็นทางการอีกต่อไป แต่ก็ยังควรถือว่าเป็นปัญหาสำคัญทางสุขภาพต่อไปด้วย

เจ้าหน้าที่ของ WHO ผู้นี้ กล่าวว่า มีเชื้อไวรัส Zika แพร่อยู่ใน 69 ประเทศในช่วงสองปีที่ผ่านมา โดยเชื้อไวรัสนี้ทำให้เกิดความเสียหายต่อสมอง ซึ่งกลายเป็นอาการทุพพลภาพระยะยาวได้ เฉพาะในบราซิลมีผู้ป่วยด้วยเชื้อไวรัสนี้ 2,100 รายแล้วและคาดว่าจะมีเพิ่มอีก 1,000 ราย

องค์การอนามัยโลกได้ร้องขอความช่วยเหลือเป็นเงิน 112 ล้านดอลลาร์เพื่อต่อสู้กับโรคนี้ ในขณะนี้ได้รับเงินแล้ว 50 ล้านดอลลาร์

นอกจากจะให้ความช่วยเหลือประเทศต่างๆ ต่อสู้กับเชื้อไวรัส Zika แล้ว องค์การอนามัยโลกประกาศว่า จะช่วยประเทศต่างๆ จัดตั้งระบบติดตามสอดส่องเชื้อไวรัสชนิดนี้ รวมทั้งร่วมมือกับประเทศต่างๆในการพัฒนาและจัดทำแผนรับมือกับการต่อสู้เชื้อไวรัสนี้ด้วย

XS
SM
MD
LG