ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะดวงใหม่ 'HAT-P-26b' ช่วยไขปริศนาการก่อกำเนิดของดาวเคราะห์


The atmosphere of the distant “warm Neptune” HAT-P-26b, illustrated here, is unexpectedly primitive, composed primarily of hydrogen and helium. By combining observations from NASA’s Hubble and Spitzer space telescopes, researchers determined that, unlike
The atmosphere of the distant “warm Neptune” HAT-P-26b, illustrated here, is unexpectedly primitive, composed primarily of hydrogen and helium. By combining observations from NASA’s Hubble and Spitzer space telescopes, researchers determined that, unlike
please wait

No media source currently available

0:00 0:04:03 0:00

นักดาราศาสตร์เรียกดาวเคราะห์ HAT-P-26b ซึ่งเป็นดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะดวงนี้ว่า "Warm Neptune" มีขนาดเท่ากับดาวเคราะห์เนปจูน กับดาวเคราะห์ยูเรนัส

ดาวเคราะห์นอกระบบดวงนี้ีมีชั้นบรรยากาศระยะเริ่มต้นที่ประกอบด้วยแก๊สไฮโดรเจนกับเเก๊สฮีเลี่ยมเกือบทั้งหมด นักดาราศาสตร์ชี้ว่าชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะไม่มีเมฆ และมีสัญญาณว่ามีน้ำ

นักดาราศาสตร์พบดาวเคราะห์ดวงนี้ในปี ค.ศ. 2011 เเม้ว่าจะมีขนาดเท่ากับดาวเนปจูน เเละดาวยูเรนัส ดาวเคราะห์ดวงนี้ก่อกำเนิดขึ้นใกล้กับดาวฤกษ์ที่มันโคจรรอบๆ หรืออาจจะเกิดขึ้นในช่วงหลังจากที่ระบบดวงดาวระบบนี้กำเนิดขึ้น หรืออาจจะเป็นทั้งสองกรณี

Hannah Wakeford นักวิจัยที่ Goddard Space Flight Center ที่เมือง Greenbelt รัฐ Maryland ขององค์การสำรวจอวกาศเเห่งสหรัฐฯ หรือนาซ่า กล่าวว่า ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้เริ่มต้นการศึกษาชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบนี้เเล้ว และได้พบว่ามีข้อมูลที่ตรงกันข้ามกับความเชื่อเกี่ยวกับการกำเนิดขึ้นของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ

Wakeford เป็นผู้ร่างรายงานผลการวิจัยเกี่ยวกับดาวเคราะห์ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Science ไปเมื่อเร็วๆ นี้

บทวิเคราะห์เกี่ยวกับชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ HAT-P-26b นี้ทำได้ด้วยการใช้กล้องส่องดูดาวในอวกาศ Spitzer กับ Hubble เพื่อสังเกตุดูดาวเคราะห์ดวงนี้ขณะโคจรรอบๆ ดวงฤกษ์

การสังเกตุด้วยวิธีนี้ช่วยให้นักดาราศาสตร์ได้ค้นคว้าชั้นบรรายากาศของดาวเคราะห์เเละวิเคราะห์ความยาวของคลื่นเเสงที่เดินทางผ่านชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบดวงนี้

ทีมนักดาราศาสตร์ยังใช้ข้อมูลที่ได้ วิเคราะห์ค่าความเป็นโลหะของดาวเคราะห์นอกระบบดวงนี้อีกด้วย โดยความเป็นโลหะใช้ในการระบุได้ว่าดาวเคราะห์ก่อกำเนิดขึ้นอย่างไร

ยกตัวอย่าง ดาวพฤหัสมีค่าความเป็นโลหะราว 2 ใน 5 ของค่าความเป็นโลหะของดวงอาทิตย์ ส่วนดาวเสาร์มีค่าความเป็นโลหะมากกว่า 10 เท่าตัว

นักดาราศาสตร์กล่าวว่า ดาวเคราะห์เหล่านี้ซึ่งมักเรียกว่าดาวเคราะห์แก๊สยักษ์มีส่วนประกอบเกือบทั้งหมดเป็นเเก๊สไฮโดรเจนและฮีเลี่ยม ส่วนดาวเคราะห์อีกสองดวงคือ เนปจูน กับ ยูเรนัส ซึ่งได้ชื่อว่าดาวเคราะห์น้ำเเข็งยักษ์ มีความเป็นโลหะราว 100 เท่าเมื่อเทียบกับดวงอาทิตย์

บรรดานักดาราศาสตร์กล่าวว่า นั่นเป็นเพราะว่า เนปจูน กับ ยูเรนัส กำเนิดขึ้นในส่วนที่หนาวเย็นของจานฝุ่นละอองที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ทั้งสองถูกชนด้วยฝุ่นละอองที่เย็นเป็นน้ำเเข็งและมีค่าความเป็นโลหะสูง

ส่วนดาวพฤหัส กับ ดาวเสาร์ ก่อตัวขึ้นในจานฝุ่นละอองที่อุ่นกว่า หมายความว่าดาวเคราะห์ทั้งสองถูกวัสดุที่มีค่าความเป็นโลหะสูงเเละเย็นเป็นน้ำเเข็งพุ่งชนน้อยกว่า

ลักษณะการกำเนิดของดาวเคราะห์ดังกล่าวนี้พบในดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะอีกสองดวงคือดาวเคราะห์ HAT-P-11b กับดาวเคราะห์ WASP-43b เเต่ดาวเคราะห์นอกระบบ HAT-P-26b ดวงล่าสุดนี้กลับมีลักษณะที่เเตกต่างออกไป เพราะทั้งๆ ที่ตั้งอยู่ในระยะวงโคจรที่ใกล้กับดาวฤกษ์ของมัน เเต่กลับมีค่าความเป็นโลหะต่ำคล้ายๆ กับดาวพฤหัส

David Sing นักดาราศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย Exeter และผู้ร่วมร่างผลการศึกษาดาวเคราะห์นอกระบบดวงนี้ กล่าวว่า "ผลการวิเคราะห์นี้เเสดงให้เห็นว่าดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะมีความหลากหลายมากกว่าที่เราคาดคิดเอาไว้ ซึ่งช่วยให้เราเข้าใจมากขึ้นว่าดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะก่อตัวขึ้นแตกต่างจากการก่อตัวของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอย่างไร"

(เรียบเรียงโดย ทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทย)

XS
SM
MD
LG