ลิ้งค์เชื่อมต่อ

เวียดนามไฟเขียวกฏหมายความมั่นคงไซเบอร์


Two women use social networking site Tumblr in a cafe in Hanoi
Two women use social networking site Tumblr in a cafe in Hanoi

กลุ่มสิทธิ์กังวลเสรีภาพทางความคิดเห็นจะถูกควบคุมหลังเวียดนามไฟเขียวกฏหมายความมั่นคงไซเบอร์

please wait

No media source currently available

0:00 0:02:34 0:00

กฏหมายความมั่นคงทางไซเบอร์ฉบับใหม่ของเวียดนาม บังคับให้ผู้เสนอข้อมูลทางออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นกูเกิ้ล เเละเฟซบุ๊ก ต้องลบเนื้อหาหรือข้อมูลที่ทางการเวียดนามเห็นว่าไม่เหมาะสม ออกจากหน้าหน้าเว็บไซท์ภายใน 24 ชั่วโมง เเละต้องจัดเก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ไว้ในเซิร์ฟเวอร์ที่ตั้งอยู่ในเวียดนามเท่านั้น ตลอดจนต้องเปิดสำนักงานในเวียดนาม

บรรดานักพิทักษ์สิทธิมนุษยชนต่างเเสดงความกังวลว่า กฏหมายความมั่นคงทางไซเบอร์ที่ฝ่ายนิติบัญญัติของเวียดนามอนุมัติออกมาบังคับใช้นี้ จะกระทบต่อเสรีภาพด้านการเเสดงความคิดเห็น

แคลร์ อักการ์ (Clare Agar) ผู้อำนวยการด้าน global operations แห่ง Amnesty International ได้ออกแถลงการณ์ประนามการผ่านกฏหมายนี้ของเวียดนามเมื่อวันอังคารที่ 12 มิถุนายนที่ผ่านมา เธอกล่าวว่า สื่อทางออนไลน์เป็นเหมือนแหล่งหลบพักจากการจำกัดเสรีภาพทางความคิดเห็นทางการเมืองเเละสังคมในเวียดนาม เพราะเป็นช่องทางที่ประชาชนสามารถใช้ในการเเสดงความคิดเห็นโดยไม่ต้องเกรงกลัวการควบคุมจากรัฐบาลเวียดนาม

อักการ์กล่าวว่า กฏหมายเพื่อความมั่นคงทางไซเบอร์ของเวียดนามนี้ จะทำให้ประชาชนไม่มีช่องทางที่ปลอดภัยในการเเสดงความคิดเห็นหลงเหลืออยู่

สหรัฐฯ เเละแคนาดาได้เร่งเร้าให้เวียดนามชะลอการผ่านร่างกฏหมายนี้ออกไปก่อน โดยชี้ว่า มีความกังวลว่ากฏหมายนี้จะสร้างอุปสรรคเเก่ความมั่นคงทางไซเบอร์ของเวียดนาม ตลอดจนอนาคตของนวัตกรรมทางเทคโนโลยีของประเทศ

สมาคมการสื่อสารทางดิจิตัลแห่งเวียดนาม (Vietnam Digital Communication Association) ชี้ว่า กฏหมายความมั่นคงทางไซเบอร์ของเวียดนาม อาจลดผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือจีดีพีลงราวร้อยละ 1.7 เเละทำให้การลงทุนจากต่างประเทศที่อยู่ที่ร้อยละ 3.1 หดหายไปทั้งหมด

โว จง เวียต (Vo Trong Viet) ประธานคณะกรรมาธิการด้านกลาโหมเเละความมั่นคงของรัฐบาลเวียดนาม กล่าวยอมรับว่า การบังคับให้ผู้นำเสนอข้อมูลทางออนไลน์เปิดศูนย์ข้อมูลภายในเวียดนามอาจจะทำให้ค่าใช้จ่ายของบริษัทเหล่านี้สูงขึ้น เเต่กล่าวว่าข้อบังคับนี้มีความจำเป็นเพื่อรับประกันความมั่นคงทางไซเบอร์ของประเทศ

(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)

XS
SM
MD
LG