นักลงทุนชาวฝรั่งเศสเข้าไปผลิตช็อคโกเเล็ตในเวียดนามโดยใช้เม็ดโกโก้ปลูกในประเทศเพื่อส่งไปขายต่างประเทศทั้งในยุโรป อเมริกาและออสเตรเลีย
เวียดนามปลูกต้นโกโก้มานานแล้ว แต่ยังไม่ได้ผลผลิตมากนัก เมื่อปีที่แล้วเวียดนามผลิตเม็ดโกโก้ได้ประมาณห้าพันตัน ถือว่ายังน้อยมากหากเทียบกับอินโดนีเซีย ประเทศผู้ปลูกโกโก้รายใหญ่อันดับที่สามของโลกที่ผลิตเม็ดโกโก้ได้ปีละห้าแสนตัน
เม็ดโกโก้เวียดนามเกือบทั้งหมดจะถูกส่งออกไปยังต่างประเทศเพื่อแปรรูเป็นผงโกโก้ แม้เม็ดโกโก้จากเวียดนามจะยังมีคุณภาพไม่สูงนัก แต่ก็มีนักลงทุนชาวฝรั่งเศสสองคนนำผงโกโก้ของเวียดนามไปผลิตเป็นแท่งช็อคโกแลตขายในชื่อ Marou และกำลังพยายามปรับปรุงคุณภาพช็อคโกแล็ตจากเวียดนามให้เป็นที่ยอมรับ
คุณวินเซ็น มูครู และคุณเเซมมูเอล มาครูต้า เป็นเจ้าของช็อคโกแลตยี่ห้อมาครูที่ใช้จุดขายที่ว่าช็อคโกแลตของเขาเป็นช็อคโกแลตยี่ห้อแรกในโลกที่มีแหล่งที่มาเพียงเเห่งเดียว
บริษัทช็อคโกเเลตมาครูเริ่มต้นผลิตช็อคโกแล็ตเเท่งในเวียดนามจากโก้โก้ท้องถิ่นเมื่อสามปีที่แล้ว โดยต้องการใช้เม็ดโกโก้ปีละ 10-20 ตัน ทางบริษัทจัดซื้อเม็ดโกโก้จากชาวนาในจังหวัดต่างๆทั่วเวียดนามและผลิตเป็นช็อคโกเเล็ตในโรงงานขนาดย่อมของบริษัท ตั้งอยู่ในนอกเมืองโฮจิมินท์ซิตี้
คุณมาครูต้ากล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าทางบริษัทรับซื้อเม็ดโกโก้จากชาวนาในห้าจังหวัดของเวียดนาม ตนเองกับคุณวินเซ็น มูครู จะเดินทางไปพบกับชาวนาเเต่ละเจ้าเป็นประจำทุกเดือน ในบางจังหวัด มีชาวนาหลายคนที่ทำธุรกิจกับบริษัทแต่ในบางจังหวัดมีชาวนาเพียงรายเดียว
ช็อคโกแลตยี่ห้อมาครูได้รับความสนใจอย่างมากจากผู้บริโภคในฝรั่งเศสเพราะเห็นว่าผลิตในดินแดนที่เคยเป็นอณานิคมของฝรั่งเศส
ในอดีต ฝรั่งเศสเป็นผู้นำต้นโกโก้ไปส่งเสริมให้ชาวนาเวียดนามปลูกในสมัยอณานิคมฝรั่งเศสรุ่งเรืองสูงสุดในช่วงปลายศตรววษที่ 19 แต่ 20 ปีให้หลัง ชาวนาเวียดนามได้ ผลผลิตโกโก้ไม่มากนัก คุณมาครูต้าได้ค้นพบข้อมูลยืนยันความล้มเหลวของการปลูกโกโก้ในเวียดนามในช่วงที่ยังเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสในบันทึกทางประวัติศาสตร์แห่งชาติในฝรั่งเศส
คุณมาครูต้ากล่าวว่ามีกฏหมายในปีคริสตศักราช 1907 ที่พูดถึงเงินสนับสนุนแก่ชาวนาที่ปลูกโกโก้ว่ารัฐบาลฝรั่งเศสจะเลิกให้เงินอุดหนุนเพราะการปลูกโกโก้ไม่ได้ผล
การปลูกโกโก้ในเวียดนามหยุดชะงักไปจนกระทั่งมาถึงในช่วงต้นคริสตศักราช 1980 โดยรัสเซียเสนอให้ความช่วยเหลือแก่เวียดนามในการปลูกต้นโกโก้เพื่อส่งออกเม็ดโกโก้ อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ไปไม่ถึงไหนเพราะรัสเซียล่มสลายในปีคริสตศักราช 1989 ต้นโกโก้เกือบทั้งหมดถูกตัดทิ้ง
ต้นโกโก้ในเวียดนามปัจจุบันปลูกเมื่อราวสิบปีที่แล้ว เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสร้างรายได้เสริมแก่ชาวนาและเพื่อแก้ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า
คุณเดา ตัง ฮัว ผู้จัดการฝ่าย sourcing ของบริษัทช็อคโกแล็ตมาครูกล่าวว่าผู้ปลูกโกโก้มีรายได้ไม่มาก พวกเขาปลูกต้นโกโก้ผสมผสานกับพืชอื่นๆบนที่ดินทำกินเพื่อสร้างรายได้เสริม แต่เขาชี้ว่าการปลูกกาแฟสร้างรายได้แก่ชาวนามากกว่าหลายเท่าตัว
เขากล่าวว่าทางบริษัทจ่ายค่าเม็ดโกโก้แก่ชาวนาในราคาสูงกว่าราคาตลาดเพราะเป็นเม็ดโกโก้ที่เลือกเก็บด้วยมือ โดยทางบริษัทจ่ายให้ชาวนากิโลกรัมละ 2.5ดอลล่าร์สหรัฐหรือราว 75 บาท ในขณะที่บริษัทใหญ่ๆจ่ายน้อยกว่าราว 20 ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ แต่เขากล่าวว่าบริษัทมาครูยังเป็นธุรกิจขนาดเล็กและไม่ได้รับซื้อเม็ดโกโก้จากชาวนาทุกคนเป็นประจำ
ด้วยรสชาดที่ไม่เหมือนใครและกระดาษห่อที่น่าสนใจ ช็อคโกแลตยี่ห้อมาครูได้รับความนิยมจากผู้ค้าปลีกในยุโรป อเมริกา ออสเตรเลียและในสิงค์โปร์
แม้ว่าการใช้ความเป็นอดีตอณานิคมฝรั่งเศสเป็นจุดขายที่สร้างความสนใจแก่คนจำนวนมาก คุณทีโป ซูชุง ผู้จัดการด้านอาหารและเครื่องดื่มที่โรงแรม Metropole ในกรุงฮานอย กล่าวว่าจุดขายนี้ใช้ได้เฉพาะกับผู้บริโภคในยุโรปเท่านั้น
เขากล่าวว่าในด้านการตลาด จุดขายนี้อาจจะใช้ได้ โดยเฉพาะสื่อโทรทัศน์ฝรั่งเศสมักนิยมส่งเสริมให้คนใส่ใจกับรากเหง้าของตนเอง แต่สำหรับตัวเขาแล้ว คนฝรั่งเศสก็คือคนธรรมดาทั่วไป ไม่ได้มีอะไรสลักสำคัญไปกว่าคนชาติอื่น เขากล่าวว่าผู้บริโภคในยุโรปอาจจะมองว่าสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศอย่างเวียดนามเป็นสินค้าบริโภคที่หรูหรา แปลกใหม่และเลิศเลอ แต่ในแถบประเทศเพื่อนบ้าน สินค้าผลิตในเวียดนามถูกมองว่าเป็นของถูกและคุณภาพต่ำ
คุณซูชุง ผู้จัดการด้านอาหารและเครื่องดื่มที่โรงแรม Metropole ในกรุงฮานอย กล่าวอีกว่าช็อคโกแลตมาครูมุ่งเป้าที่ลูกค้าที่มีรสนิยมในการรับประทานช็อคโกแล็ตดำ อาจต้องมีการศึกษาสักหน่อย และด้วยราคาที่แพงถึง 5 ดอลล่าร์สหรัฐต่อแท่งหรือ 150 บาท คงมีผู้บริโภคชาวเวียดนามไม่กี่คนที่สามารถซื้อมารับประทานได้
ทางด้านคุณเดา ตัน ฮัว ผู้จัดการฝ่าย sourcing ของบริษัทช็อคโกแล็ตมาครู กล่าวปิดท้ายรายงานจากผู้สื่อข่าววีโอเอว่าชาวเวียดนามไม่นิยมช็อคโกแล็ตดำอย่างที่บริษัทมาครูผลิตขาย พวกเขานิยมช็อคโกแล็ตนมที่มีรสหวานมากกว่า
เวียดนามปลูกต้นโกโก้มานานแล้ว แต่ยังไม่ได้ผลผลิตมากนัก เมื่อปีที่แล้วเวียดนามผลิตเม็ดโกโก้ได้ประมาณห้าพันตัน ถือว่ายังน้อยมากหากเทียบกับอินโดนีเซีย ประเทศผู้ปลูกโกโก้รายใหญ่อันดับที่สามของโลกที่ผลิตเม็ดโกโก้ได้ปีละห้าแสนตัน
เม็ดโกโก้เวียดนามเกือบทั้งหมดจะถูกส่งออกไปยังต่างประเทศเพื่อแปรรูเป็นผงโกโก้ แม้เม็ดโกโก้จากเวียดนามจะยังมีคุณภาพไม่สูงนัก แต่ก็มีนักลงทุนชาวฝรั่งเศสสองคนนำผงโกโก้ของเวียดนามไปผลิตเป็นแท่งช็อคโกแลตขายในชื่อ Marou และกำลังพยายามปรับปรุงคุณภาพช็อคโกแล็ตจากเวียดนามให้เป็นที่ยอมรับ
คุณวินเซ็น มูครู และคุณเเซมมูเอล มาครูต้า เป็นเจ้าของช็อคโกแลตยี่ห้อมาครูที่ใช้จุดขายที่ว่าช็อคโกแลตของเขาเป็นช็อคโกแลตยี่ห้อแรกในโลกที่มีแหล่งที่มาเพียงเเห่งเดียว
บริษัทช็อคโกเเลตมาครูเริ่มต้นผลิตช็อคโกแล็ตเเท่งในเวียดนามจากโก้โก้ท้องถิ่นเมื่อสามปีที่แล้ว โดยต้องการใช้เม็ดโกโก้ปีละ 10-20 ตัน ทางบริษัทจัดซื้อเม็ดโกโก้จากชาวนาในจังหวัดต่างๆทั่วเวียดนามและผลิตเป็นช็อคโกเเล็ตในโรงงานขนาดย่อมของบริษัท ตั้งอยู่ในนอกเมืองโฮจิมินท์ซิตี้
คุณมาครูต้ากล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าทางบริษัทรับซื้อเม็ดโกโก้จากชาวนาในห้าจังหวัดของเวียดนาม ตนเองกับคุณวินเซ็น มูครู จะเดินทางไปพบกับชาวนาเเต่ละเจ้าเป็นประจำทุกเดือน ในบางจังหวัด มีชาวนาหลายคนที่ทำธุรกิจกับบริษัทแต่ในบางจังหวัดมีชาวนาเพียงรายเดียว
ช็อคโกแลตยี่ห้อมาครูได้รับความสนใจอย่างมากจากผู้บริโภคในฝรั่งเศสเพราะเห็นว่าผลิตในดินแดนที่เคยเป็นอณานิคมของฝรั่งเศส
ในอดีต ฝรั่งเศสเป็นผู้นำต้นโกโก้ไปส่งเสริมให้ชาวนาเวียดนามปลูกในสมัยอณานิคมฝรั่งเศสรุ่งเรืองสูงสุดในช่วงปลายศตรววษที่ 19 แต่ 20 ปีให้หลัง ชาวนาเวียดนามได้ ผลผลิตโกโก้ไม่มากนัก คุณมาครูต้าได้ค้นพบข้อมูลยืนยันความล้มเหลวของการปลูกโกโก้ในเวียดนามในช่วงที่ยังเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสในบันทึกทางประวัติศาสตร์แห่งชาติในฝรั่งเศส
คุณมาครูต้ากล่าวว่ามีกฏหมายในปีคริสตศักราช 1907 ที่พูดถึงเงินสนับสนุนแก่ชาวนาที่ปลูกโกโก้ว่ารัฐบาลฝรั่งเศสจะเลิกให้เงินอุดหนุนเพราะการปลูกโกโก้ไม่ได้ผล
การปลูกโกโก้ในเวียดนามหยุดชะงักไปจนกระทั่งมาถึงในช่วงต้นคริสตศักราช 1980 โดยรัสเซียเสนอให้ความช่วยเหลือแก่เวียดนามในการปลูกต้นโกโก้เพื่อส่งออกเม็ดโกโก้ อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ไปไม่ถึงไหนเพราะรัสเซียล่มสลายในปีคริสตศักราช 1989 ต้นโกโก้เกือบทั้งหมดถูกตัดทิ้ง
ต้นโกโก้ในเวียดนามปัจจุบันปลูกเมื่อราวสิบปีที่แล้ว เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสร้างรายได้เสริมแก่ชาวนาและเพื่อแก้ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า
คุณเดา ตัง ฮัว ผู้จัดการฝ่าย sourcing ของบริษัทช็อคโกแล็ตมาครูกล่าวว่าผู้ปลูกโกโก้มีรายได้ไม่มาก พวกเขาปลูกต้นโกโก้ผสมผสานกับพืชอื่นๆบนที่ดินทำกินเพื่อสร้างรายได้เสริม แต่เขาชี้ว่าการปลูกกาแฟสร้างรายได้แก่ชาวนามากกว่าหลายเท่าตัว
เขากล่าวว่าทางบริษัทจ่ายค่าเม็ดโกโก้แก่ชาวนาในราคาสูงกว่าราคาตลาดเพราะเป็นเม็ดโกโก้ที่เลือกเก็บด้วยมือ โดยทางบริษัทจ่ายให้ชาวนากิโลกรัมละ 2.5ดอลล่าร์สหรัฐหรือราว 75 บาท ในขณะที่บริษัทใหญ่ๆจ่ายน้อยกว่าราว 20 ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ แต่เขากล่าวว่าบริษัทมาครูยังเป็นธุรกิจขนาดเล็กและไม่ได้รับซื้อเม็ดโกโก้จากชาวนาทุกคนเป็นประจำ
ด้วยรสชาดที่ไม่เหมือนใครและกระดาษห่อที่น่าสนใจ ช็อคโกแลตยี่ห้อมาครูได้รับความนิยมจากผู้ค้าปลีกในยุโรป อเมริกา ออสเตรเลียและในสิงค์โปร์
แม้ว่าการใช้ความเป็นอดีตอณานิคมฝรั่งเศสเป็นจุดขายที่สร้างความสนใจแก่คนจำนวนมาก คุณทีโป ซูชุง ผู้จัดการด้านอาหารและเครื่องดื่มที่โรงแรม Metropole ในกรุงฮานอย กล่าวว่าจุดขายนี้ใช้ได้เฉพาะกับผู้บริโภคในยุโรปเท่านั้น
เขากล่าวว่าในด้านการตลาด จุดขายนี้อาจจะใช้ได้ โดยเฉพาะสื่อโทรทัศน์ฝรั่งเศสมักนิยมส่งเสริมให้คนใส่ใจกับรากเหง้าของตนเอง แต่สำหรับตัวเขาแล้ว คนฝรั่งเศสก็คือคนธรรมดาทั่วไป ไม่ได้มีอะไรสลักสำคัญไปกว่าคนชาติอื่น เขากล่าวว่าผู้บริโภคในยุโรปอาจจะมองว่าสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศอย่างเวียดนามเป็นสินค้าบริโภคที่หรูหรา แปลกใหม่และเลิศเลอ แต่ในแถบประเทศเพื่อนบ้าน สินค้าผลิตในเวียดนามถูกมองว่าเป็นของถูกและคุณภาพต่ำ
คุณซูชุง ผู้จัดการด้านอาหารและเครื่องดื่มที่โรงแรม Metropole ในกรุงฮานอย กล่าวอีกว่าช็อคโกแลตมาครูมุ่งเป้าที่ลูกค้าที่มีรสนิยมในการรับประทานช็อคโกแล็ตดำ อาจต้องมีการศึกษาสักหน่อย และด้วยราคาที่แพงถึง 5 ดอลล่าร์สหรัฐต่อแท่งหรือ 150 บาท คงมีผู้บริโภคชาวเวียดนามไม่กี่คนที่สามารถซื้อมารับประทานได้
ทางด้านคุณเดา ตัน ฮัว ผู้จัดการฝ่าย sourcing ของบริษัทช็อคโกแล็ตมาครู กล่าวปิดท้ายรายงานจากผู้สื่อข่าววีโอเอว่าชาวเวียดนามไม่นิยมช็อคโกแล็ตดำอย่างที่บริษัทมาครูผลิตขาย พวกเขานิยมช็อคโกแล็ตนมที่มีรสหวานมากกว่า