ทางการสหรัฐฯ จะไม่นำมาตรการปกป้องหมีกริซลี่ในแถบอุทยานแห่งชาติเยลโลสโตนกลับมาใช้ แม้ว่าศาลเคยตั้งคำถามถึงเหตุผลการโอนอำนาจจัดการดูแลหมีกริซลี่ให้แก่เจ้าหน้าที่ระดับมลรัฐ ซึ่งกำลังวางแผนเปิดให้ประชาชนทั่วไปล่าสัตว์ได้
กระทรวงกิจการภายในสหรัฐฯ เปิดเผยถึงการตัดสินใจนี้ หลังการตรวจสอบเป็นเวลาหลายเดือน ถึงคำสั่งเมื่อปีที่แล้ว ให้ยกเลิกการปกป้อง ที่มีมาตั้งแต่ ค.ศ. 1975 ซึ่งได้เคยคุ้มครอง หมีกริซลี่ที่มีอยู่ 700 ตัว ในอุทยานแห่งชาติเยลโลสโตน และบริเวณรอบๆ
การตรวจสอบในครั้งนั้นมีขึ้น เมือศาลรัฐบาลกลางวินิจฉัยกรณีเกี่ยวกับหมาป่าสีเทา ในแถบ Great Lakes
ศาลระบุว่ากระทรวงกิจการภายในควรให้ความสำคัญต่อการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของประชากรสัตว์
เช่นเดียวกับ หมาป่าสีเทา ในแถบ Great Lakes หมีกรีซลี มีจำนวนมากขึ้นโดยรวม แต่หากพิจารณาไปที่แหล่งที่อยู่ หมีเหล่านี้หายไปจากถิ่นเดิมตามประวัติของสายพันธุ์
อย่างไรก็ตาม กระทรวงกิจการภายในไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาล และตัดสินใจยกเลิกการคุ้มครองหมีกรีซลี ในในแถบอุทยานแห่งชาติเยลโลสโตน
กระทรวงกล่าวว่าจำนวนหมีกริซลีกลับคืนสู่สภาพปกติแล้ว และบอกด้วยว่าหมีพันธุ์นี้ที่อยู่นอกอุทยานแห่งชาติเยลโลสโตนยังคงได้รับการคุ้มครองในฐานะสัตว์ป่าหายาก
สามรัฐในเขตอุทยานแห่งชาติเยลโลสโตนประกอบด้วย ไวโอมิง ไอดาโฮ และมอนทานา
ไวโอมิง และไอดาโฮ เสนอให้ล่าหมีได้อย่างจำกัดในฤดูใบไม้ร่วงนี้ ส่วน มอนทานาตัดสินใจที่จะห้ามล่าหมีในปีนี้
การล่าหมีกริซลี่อย่างถูกกฏหมาย มีขึ้้นครั้งสุดท้ายในช่วงปีทศวรรษที่ 1970
นักอนุรักษ์สัตว์ รวมไปถึงบรรดาชนเผ่าอเมริกัน คัดค้านการยกเลิกการคุ้มครองหมีกริซลี ในเยลโลสโตนโดยแย้งว่าการฆ่าหมีกริซลี่นั้นจะลดโอกาสที่หมีจะขยายพันธุ์ในบริเวณอื่นๆ