ลิ้งค์เชื่อมต่อ

การติดเชื้อ Superbug ในสหรัฐฯ เพิ่มมากขึ้นในขณะที่อัตราการเสียชีวิตลดลง


An employee at a microbiological laboratory in Berlin displays MRSA, a drug-resistant "superbug" that can cause deadly infections.
An employee at a microbiological laboratory in Berlin displays MRSA, a drug-resistant "superbug" that can cause deadly infections.

“Superbug” หรือเชื้อโรคที่ดื้อยาเรียกได้ว่าเป็นภัยคุกคามสุขภาพสาธารณะชน จนอาจทำให้ความก้าวหน้าทางการแพทย์ถดถอยลงไปหนึ่งศตวรรษ ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหลายๆ คนเตือนว่าการติดเชื้อดังกล่าวอาจทำให้เชื้อโรคบางชนิดไม่สามารถรักษาให้หายได้

please wait

No media source currently available

0:00 0:04:00 0:00

เมื่อไม่นานมานี้มีข่าวที่น่าประหลาดใจว่า อัตราการเสียชีวิตจากการติดเชื้อ Superbug ในสหรัฐฯ ดูเหมือนจะลดน้อยลง กล่าวคือในปีพ.ศ. 2560 มีชาวอเมริกันราว 36,000 คนเสียชีวิตจากการติดเชื้อดื้อยา ในขณะที่ปี พ.ศ. 2556 มีอัตราการเสียชีวิตด้วยสาเหตุเดียวกันนี้ราว 44,000 คน ข้อมูลดังกล่าวมาจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ หรือ CDC (U.S. Centers for Disease Control and Prevention)

รายงานของ CDC เมื่อเร็วๆ นี้ระบุว่าอัตราการเสียชีวิตที่ลดลงนั้นส่วนใหญ่เป็นผลมาจากความพยายามครั้งสำคัญของบรรดาโรงพยาบาลต่างๆ ในการควบคุมการแพร่กระจายการติดเชื้อที่เป็นอันตรายอย่างมากชนิดนี้

อย่างไรก็ตามแม้ว่าอัตราการเสียชีวิตจากการติดเชื้อโรคดื้อยา จะลดน้อยลง แต่อัตราการติดเชื้อชนิดที่ไม่ได้เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตกลับเพิ่มขึ้นทั่วประเทศจาก 2.6 ล้านคนในปีพ.ศ. 2556 เป็น 2.8 ล้านคนในปีพ.ศ. 2560 เนื่องจากมีการพัฒนาของเชื้อโรคที่ก่อปัญหาตัวใหม่ขึ้น และการติดเชื้อ Superbugs ก็มักจะเกิดขึ้นบ่อยครั้งนอกโรงพยาบาล

Bradley Frazee แพทย์ห้องฉุกเฉินที่โรงพยาบาลแคลิฟอร์เนีย ยกตัวอย่างการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ที่สามารถรักษาได้อย่างง่ายดายด้วยยาปฏิชีวนะทั่วไปตามคลีนิคแพทย์ แต่ตอนนี้เป็นเรื่องทั่วๆ ไปที่จะเห็นว่ามีผู้หญิงสุขภาพดีที่อายุยังน้อยติดเชื้อดังกล่าวจนต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลหลังจากที่การรักษาที่คลีนิคแพทย์ไม่ได้ผล

เขากล่าวอีกว่า แพทย์ไม่เคยมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับเรื่องเชื้อโรคที่ดื้อยาปฏิชีวนะมาก่อนเลย แต่เมื่อปีที่แล้วเขาได้เป็นหัวหน้าในการเขียนรายงานซึ่งระบุว่า มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะที่ดื้อยามากกว่า 1,000 รายที่โรงพยาบาลไฮแลนด์ ในเมืองโอ๊คแลนด์

ทั้งนี้มีการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างแพร่หลายในสหรัฐฯ เป็นครั้งแรกในช่วงยุค 1940 และในปัจจุบัน แพทย์ใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าหรือควบคุมแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการติดเชื้อทุกชนิด ตั้งแต่คออักเสบไปจนถึงกาฬโรค แต่ยาปฏิชีวนะบางตัวก็หยุดทำงาน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าการใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินไปและการใช้ที่ผิดวิธีทำให้ยาเหล่านี้มีประสิทธิภาพลดลง

รายงานเมื่อปีพ.ศ. 2556 ชี้ว่าการติดเชื้อโรคดื้อยา ทำให้มีผู้เสียชีวิตในสหรัฐฯ มากกว่า 23,000 คน และทำให้มีผู้ติดเชื้อปีละมากกว่าสองล้านกรณี และตัวเลขดังกล่าวเกิดจากการติดเชื้อโรคที่เป็นอันตรายที่สุดถึง 17 ชนิดด้วยกัน

แต่ข้อมูลของปีนี้ ไม่ได้รวมเอาอัตราการเสียชีวิตและการเจ็บป่วยนับพันรายจากเชื้อโรคร้ายที่มีชื่อว่า Clostridium difficile ซึ่งเป็นปัญหาที่ใหญ่กว่าเพราะในขณะที่ยาปฏิชีวนะสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่นๆ ได้ แต่ C. diff กลับสามารถเติบโตขึ้นอย่างไม่สามารถควบคุมได้ แต่ข่าวดีก็คือจำนวนกรณีการติดเชื้อ C. diff และจำนวนการเสียชีวิตจากเชื้อโรคชนิดนี้ก็ลดลงด้วยเช่นเดียวกัน

เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของสหรัฐฯ กล่าวชื่นชมโรงพยาบาลต่างๆ ในเรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างระมัดระวังมากขึ้น และมีการแยกผู้ป่วยที่ติดเชื้อดื้อยาออกจากผู้ป่วยอื่นๆ และพวกเขายังเชื่อว่างบประมาณสำหรับการทดลองในห้องปฏิบัติการของรัฐบาล ช่วยให้นักวิจัยสามารถระบุเชื้อโรคที่ดื้อยาและหาทางรับมือกับเชื้อโรคเหล่านั้นได้อย่างรวดเร็ว

อย่างไรก็ตาม Michael Craig หัวหน้าคณะวิจัยเรื่อง Superbug แห่งศูนย์ควบคุมป้องกันโรคสหรัฐฯกล่าวทิ้งท้ายว่า ยังมีผู้คนอีกมากมายที่กำลังจะเสียชีวิตลง และว่าหนทางยังอีกยาวไกลกว่าที่จะสามารถเอาชนะเชื้อโรคดื้อยา Superbug ได้

XS
SM
MD
LG