ลิ้งค์เชื่อมต่อ

สหรัฐฯ เครียด! ต้องการมันสมองนอกประเทศ แต่กลัวถูกจารกรรมข้อมูล


FILE - In this July 16, 2019, file photo people walk past an entrance to Widener Library, behind, on the campus of Harvard University, in Cambridge, Mass. International student enrollment in U.S. universities has retreated in the past three years.
FILE - In this July 16, 2019, file photo people walk past an entrance to Widener Library, behind, on the campus of Harvard University, in Cambridge, Mass. International student enrollment in U.S. universities has retreated in the past three years.

ในเวลานี้ นักการเมืองสหรัฐฯ กำลังถกประเด็นหาวิธีที่จะช่วยให้อเมริกาได้เปรียบจีนในศึกการแข่งขันความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีกันอยู่ และบางคนเชื่อว่า ผู้นำจีนก็กำลังหวังว่า สิ่งที่สหรัฐฯ กำลังพยายามทำอยู่นี้ จะจบลงด้วยความล้มเหลว

มุมมองดังกล่าวนั้นสะท้อนภาพความกังวลในแวดวงงานวิจัยของสหรัฐฯ ที่มีมหาวิทยาลัยหลายแห่งเป็นด่านหน้าในการดำเนินงานด้านการค้นคว้าเพื่อพัฒนาประเทศและป้องกันการถูกหาประโยชน์จากจีน

อย่างไรก็ดี ผลวิจัยล่าสุดระบุว่า นักวิชาการ 3 ใน 4 คนที่กำลังทำงานวิจัยอยู่ในสหรัฐฯ นั้นเป็นชาวต่างชาติ ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความเป็นจริงว่า สหรัฐฯ นั้น อยู่ในภาวะขาดแคลนบุคคลากรภายในประเทศที่มีความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์มากพอจะมารับหน้าที่นี้

Institute of International Education's data on international scholars in US
Institute of International Education's data on international scholars in US

และการที่มีชาวต่างชาติจำนวนมากทำหน้าที่ค้นคว้าวิจัยในสหรัฐฯ ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงของภาวะสมองไหลไปโดยปริยาย

คารี บิงเกน อดีตผู้ช่วยรองรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ ระบุว่า “นักวิจัยที่มาศึกษาในระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอกในสหรัฐฯ มักต้องเดินทางกลับประเทศของพวกเขาเมื่อจบการศึกษา เพราะปัญหาเกี่ยวกับกฎหมายตรวจคนเข้าเมือง”

บิงเกน ซึ่งเคยรับผิดชอบงานด้านข่าวกรองและความมั่นคงของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงแห่งชาติ 18 คน ที่ลงนามในจดหมายการร้องขอให้สภาคองเกรสยกเลิกโควตาการอนุมัติการออกเอกสารให้ผู้อพยพเข้าประเทศที่มีประวัติการศึกษาในระดับปริญญาโทขึ้นไป ในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้แล้ว และเธอ ระบุว่า “ถ้าสหรัฐฯ จะชนะศึกการแข่งขันด้านเทคโนโลยีให้ได้ เราจำเป็นต้องพึ่งมันสมองทั้งที่มีอยู่ในสหรัฐฯ และจากทั่วโลก”

แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงบางราย เช่น จามิล จาฟเฟอร์ ซึ่งเป็นอดีตอัยการกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ชี้ว่า มุมมองดังกล่าวเป็นการเปิดช่องให้จีนถือโอกาสที่สหรัฐฯ ต้องพึ่งพาผู้มีความสามารถจากต่างชาติ หาประโยชน์ใส่ตนได้อย่างง่ายดาย

จาฟเฟอร์ กล่าวว่า “ทางการจีนส่งคนจำนวนมากมายังสหรัฐฯ ในรูปแบบของนักค้นคว้าวิจัย นักศึกษา หรือ ผู้มาพักอาศัยเป็นการชั่วคราว หนำซ้ำยังร่วมมือกับสถาบันการศึกษาหลายแห่งในสหรัฐฯ ผ่านโครงการ Thousand Talents program เพื่อขโมยทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ”

Song Guo Zheng, former Ohio State professor arrested for involvement in China's talent recruitment.
Song Guo Zheng, former Ohio State professor arrested for involvement in China's talent recruitment.

หนึ่งในตัวอย่างของกรณีที่ จาฟเฟอร์ พูดถึงคือ คดีที่มี ซ่ง กัวเจิง อาจารย์วัย 58 ปีของมหาวิทยาลัย Ohio State เป็นผู้ต้องหาที่ยอมรับสารภาพว่า ตนเข้ามาทำงานวิจัยในสหรัฐฯ โดยปิดบังความจริงที่ว่า ตนเองมีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการของรัฐบาลจีนในการใช้เงินช่วยเหลือมูลหลายล้านดอลลาร์จากสหรัฐฯ เพื่อนำไปพัฒนาการแพทย์ของจีน

ปัจจุบัน ซ่ง กำลังรับโทษจำคุกสามปีอยู่ในสหรัฐฯ

และเมื่อเร็ว ๆ นี้ คริสโตเฟอร์ เรย์ ผู้อำนวยการสำนักงานสืบสวนกลางของสหรัฐฯ (FBI) ร่วมกับหน่วยงาน MI5 ซึ่งเป็นหน่วยงานสืบราชการลับของอังกฤษ ออกแถลงการณ์ด่วนเพื่อเตือนภาคธุรกิจเกี่ยวกับความกังวลด้านนี้

Christopher Wray, FBI Director
Christopher Wray, FBI Director

ผอ. FBI กล่าวว่า "รัฐบาลจีนตั้งมั่นที่จะขโมยเทคโนโลยีของคุณ และอะไรก็ตามที่ทำผลักดันอุตสาหกรรมต่าง ๆ ให้เดินหน้าต่อไปได้ เพื่อจะใช้สิ่งเหล่านั้นช่วงชิงธุรกิจไปและเข้ายึดครองตลาด”

และทันทีที่ได้ยินคำกล่าวหาเช่นนี้ จีนก็ออกมาตอบโต้โดยไม่รอช้า

โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน จ้าว ลี่เจียน โต้กลับว่า “คำพูดของเจ้าหน้าที่ด้านข่าวกรองนี้แสดงให้เห็นถึงแนวคิดแบบสงครามเย็นและการมีอคติเหมารวมพฤติกรรมที่หยั่งรากลึก”

Dan Currell, Former Department of Education Adviser
Dan Currell, Former Department of Education Adviser

อย่างไรก็ตาม แดน เคอเรลล์ อดีตที่ปรึกษากระทรวงศึกษาธิการสหรัฐฯ ชี้ว่า มหาวิทยาลัยและองค์กรต่าง ๆ ที่ให้ทุนการค้นคว้าวิจัยนั้นต้องพัฒนาระบบป้องกันข้อมูลการวิจัยที่มีความละเอียดอ่อนได้แล้ว

เคอเรลล์ ให้เหตุผลว่า “ในขณะนี้ ไม่มีระบบใด ๆ เพื่อใช้ในการทบทวนตรวจสอบ และไม่มีการศึกษาว่า เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นได้อย่างไร หรือมีใครเกี่ยวข้องบ้างเลย”

ผู้เชี่ยวชาญอื่น ๆ ซึ่งรวมถึง คารี บิงเกน อดีตผู้ช่วยรองรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ เห็นด้วยว่า การพัฒนาระบบข้างต้นเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับอนาคตของสหรัฐฯ

บิงเกน กล่าวทิ้งท้ายว่า “เรากำลังอยู่ในการแข่งขันทางเทคโนโลยีกับจีน และอเมริกาเองมีโอกาสสูงมากที่จะพบกับความพ่ายแพ้”

  • ที่มา: วีโอเอ

XS
SM
MD
LG