ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ทำเนียบขาวสั่งทบทวนรายงานภาวะโลกร้อน ชี้ขัดแย้งกับความเชื่อของรัฐบาล 'ทรัมป์'


Sea ice melts on the Franklin Strait along the Northwest Passage in the Canadian Arctic Archipelago, July 22, 2017. Because of climate change, more sea ice is being lost each summer than is being replenished in winters. Less sea ice coverage also means th
Sea ice melts on the Franklin Strait along the Northwest Passage in the Canadian Arctic Archipelago, July 22, 2017. Because of climate change, more sea ice is being lost each summer than is being replenished in winters. Less sea ice coverage also means th

จุดยืนของรัฐบาลสหรัฐฯปธน.ทรัมป์ ที่เชื่อว่า 'มนุษย์ไม่ใช่สาเหตุของสภาวะโลกร้อน' คือเหตุสำคัญที่ทำเนียบขาวสั่งทบทวนรายงานภาวะโลกร้อนประจำปีซึ่งจัดทำโดยนัักวิจัยจากหน่วยงานสิ่งแวดล้อม NOAA ที่มีผลวิจัยระบุว่าโลกกำลังเผชิญกับภาวะโลกร้อนมากที่สุดเท่าท่ี่เคยมีมา่

ที่สหรัฐฯ รายงานนี้ได้ยืนยันว่ากิจกรรมของมนุษย์ส่งผลให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์

อากาศที่ร้อนขึ้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนเป็นเหตุให้เกิดไฟไหม้ป่ารุนแรงในเเคนาดาเมื่อปีที่แล้ว ส่วนอินเดียก็เจอกับปัญหาขาดเเคลนน้ำเนื่องจากอากาศที่ร้อนรุนแรงและภาวะเเห้งเเล้ง

รายงานสภาพภูมิอากาศโลก ปี พ.ศ. 2559 โดยสำนักงานทะเลวิทยาและชั้นบรรยากาศโลกเเห่งชาติสหรัฐฯ หรือ NOAA เปิดเผยว่า โลกประสบกับสภาพอากาศที่ร้อนมากที่สุดเป็นประวัติการณ์เมื่อปีที่ผ่านมา

Deke Arndt ผู้ร่วมร่างรายงานชิ้นนี้เเละผู้เชี่ยวชาญแห่งสำนักงานทะเลวิทยาและชั้นบรรยากาศโลกเเห่งชาติสหรัฐฯ กล่าวว่ารายงานชิ้นนี้ยืนยันสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์รู้กันดีอยู่เเล้ว นั่นก็คือโลกกำลังอุ่นขึ้นและจะยังอุ่นขึ้นต่อไป ซึ่งจะเกิดปัญหาต่างๆ ตามมาทั่วโลก

รายงานชิ้นนี้ชี้ว่าปรากฏการณ์เอลนีลโญ่ที่รุนแรงขึ้นกว่าปกติเป็นเหตุให้อุณหภูมิของโลกผันผวนรุนแรง เกิดความเเห้งเเล้งและภาวะฝนตกหนัก

ซึ่งความผันผวนของสภาพภูทิอากาศโลกปีต่อปีเหล่านี้เกิดขึ้นในขณะที่มีการสั่งสมมากขึ้นของเเก๊สเรือนกระจกที่ทำให้โลกร้อนขึ้น โดยเพิ่มขึ้นไปอยู่ในระดับที่สูงที่สุดในอย่างน้อย 800,000 ปี

บรรดานักวิทยาศาสตร์เหล่านี้ได้มอบรายงานฉบับร่างจากหน่วยงานรัฐบาล 13 แห่งเเก่หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ส ซึ่งยืนยันว่ากิจกรรมของมนุษย์เป็นต้นเหตุอันดับเเรกของภาวะโลกร้อนและไม่มีคำอธิบายอย่างอื่นนอกเหนือจากนี้

มีนักวิทยาศาสตร์เกือบ 500 คนจาก 62 ชาติทั่วโลก เป็นผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกรายปีนี้

รายงานชิ้นนี้เสนอข้อสรุปที่ขัดเเย้งกับจุดยืนของรัฐบาลสหรัฐฯ ชุดปัจจุบัน นายสก็อต พรุทท์ ผู้บริหารหน่วยงานปกป้องสิ่งเเวดล้อมสหรัฐฯ หรือ EPA ได้โต้เเย้งว่ามนุษย์ไม่ได้เป็นต้นเหตุของภาวะโลกร้อน นายพรุทท์กล่าวว่าตนเชื่อว่ายังต้องมีการถกกันต่อไปถึงความสามารถในการวัดด้วยความถูกต้องว่ากิจกรรมของมนุษย์มีผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศโลก

ความคิดเห็นที่ขัดเเย้งกับข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ของผู้บริหาร EPA กับการถอนตัวของสหรัฐฯ จากข้อตกลงปารีสว่าด้วยภาวะโลกร้อนได้เพิ่มความกังวลมากขึ้นเเก่บรรดานักวิทยาศาสตร์ว่ารัฐบาลของนายทรัมป์จะตัดลดการวิจัยด้านภาวะโลกร้อน

ด้าน ซาร่า เเซนเดอร์ส โฆษกหญิงของทำเนียบขาวกล่าวว่าน่าผิดหวัง แต่ก็เป็นที่คาดการณ์ได้ที่หนังสืิอพิมพ์นิวยอร์กไทม์สตีพิมพ์รายงานฉบับร่างโดยไม่ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาในรายงานกับทางทำเนียบขาวเสียก่อน โดยทางเจ้าหน้าที่รัฐบาลกำลังทบทวนรายงานเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนชิ้นนี้อยู่

อย่างไรก็ตาม นางเเซนเดอร์ส โฆษกหญิงไม่ได้เเสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาในรายงานภาวะโลกร้อนดังกล่าวที่ชี้ว่าเป็นไปได้ที่ความถี่เเละความรุนแรงของภัยธรรมชาติจะยังคงเพิ่มขึ้นต่อไปในอนาคต

รายงานภาวะโลกร้อน Climate Science Special Report พบว่าผลกระทบจากกิจกรรมของคนทำให้อุณหภูมิทั่วโลกเพิ่มขึ้น 0.6 - 0.7 องศาเซลเซียสระหว่างปี ค.ศ 1951 ถึง 2010 และการปล่อยแก๊สเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศเป็นต้นเหตุหลัก

รายงานนี้ชี้ว่าหากมนุษย์หยุดปล่อยแก๊สเรือนกระจกทันที อุณหภูมิของโลกจะยังเพิ่มขึ้นอยู่โดยจะเพิ่มขึ้นอีก 0.3 องศาเซลเซียสในช่วงศตวรรษนี้ เพิ่มจากระดับที่คาดเอาไว้ที่ 2 องศาเซลเซียส

การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกเพียงเล็กน้อย จะมีผลกระทบสำคัญต่อสภาพภูมิอากาศโลก ยกตัวอย่าง อุณหภูมิทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นจาก 1.5 องศาเซลเซียสไปอยู่ที่ 2 องศาเซลเซียส อาจทำให้เกิดพายุฝนที่รุนเเรง คลื่นความร้อนที่ยาวนานขึ้นและทวีความเสียหายเเก่เเนวปะการัง

รายงานผลการศึกษาชิ้นนี้ไม่ได้เสนอข้อเเนะนำทางนโยบาย แต่ได้เน้นถึงความจำเป็นที่ต้องคงระดับการเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยของอุณหภูมิโลกให้อยู่ที่ 2 องศาเซลเซียสด้วยการลดปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศลงให้มากที่สุด

(รายงานโดย Steve Baragona เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)

XS
SM
MD
LG