ลิ้งค์เชื่อมต่อ

สงครามการค้า 'สหรัฐฯ-จีน' ลุกลามสู่เทคโนโลยีโดรน


please wait

No media source currently available

0:00 0:03:31 0:00

ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ซึ่งลุกลามไปถึงการซื้อขายแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีต่างๆ ได้ก่อให้เกิดความกังวลว่าอาจเกิด “สงครามเทคโนโลยี” ระหว่างประเทศมหาอำนาจสองประเทศนี้ได้

เครื่องบินโดรน เป็นเทคโนโลยีอีกประเภทหนึ่งที่กำลังถูกรัฐบาลสหรัฐฯ จับตามองว่าอาจถูกใช้ในการขโมยข้อมูลสำคัญซึ่งกระทบต่อความมั่นคงของสหรัฐฯ ได้เช่นกัน

บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ของจีน DJI คือผู้ผลิตโดรนที่หน่วยงานตำรวจและดับเพลิงของสหรัฐฯ ใช้กันอยู่ทั่วไป แต่รัฐบาลสหรัฐฯ มีคำเตือนออกมาเมื่อเร็วๆ นี้ว่า เครื่องบินโดรนที่ผลิตในจีนอาจถูกใช้ในการขโมยข้อมูลสำคัญได้

The DJI Phantom 3, a consumer drone, takes flight after it was unveiled at a launch event in Manhattan, New York, April 8, 2015.
The DJI Phantom 3, a consumer drone, takes flight after it was unveiled at a launch event in Manhattan, New York, April 8, 2015.

ปัจจุบัน สำนักงานดับเพลิงเมืองฟรีมองต์ รัฐแคลิฟอร์เนีย มีโดรนไว้ใช้งานทั้งหมด 14 ลำ ซึ่งถูกนำไปใช้ในการช่วยชีวิตคน และเพิ่มความปลอดภัยให้กับเจ้าหน้าที่ดับเพลิง

กล้องอินฟาเรดที่ติดไว้กับโดรนสามารถตรวจพบระดับความร้อนจากร่างกายมนุษย์ได้ ซึ่งช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถช่วยเหลือเด็กหูหนวกคนหนึ่งที่ติดอยู่ในบ้านที่ถูกไฟไหม้เมื่อเร็วๆ นี้

คุณเจฟฟ์ เครฟเวน รักษาการ ผอ.ฝ่ายปฏิบัติการของสำนักงานดับเพลิงเมืองฟรีมองต์ กล่าวว่า โดรนได้กลายมาเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญในการทำงานของหน่วยดับเพลิง ทั้งในการช่วยระบุตำแหน่งต่างๆ การค้นหาและช่วยชีวิต

หัวหน้าเจ้าหน้าที่ดับเพลิงผู้นี้บอกด้วยว่า ในอนาคตรถดับเพลิงทุกคันจะมีเครื่องบินโดรนติดตั้งไว้ด้วยอย่างน้อย 1 ลำ

Drones State Transportation Departments
Drones State Transportation Departments

อย่างไรก็ตาม ปัญหาสำคัญคือ โดรนเหล่านั้นผลิตโดยบริษัทเทคโนโลยีจีน DJI ที่กำลังถูกจับตามองจากรัฐบาลสหรัฐฯ จากประเด็นเรื่องความมั่นคง

กระทรวงความมั่นคงมาตุภูมิสหรัฐฯ ระบุถึงความกังวลว่าโดรนที่ผลิตในประเทศจีนอาจส่งข้อมูลลับกลับไปยังบริษัทแม่ได้

และตั้งแต่ปี ค.ศ. 2017 เป็นต้นมา กองทัพสหรัฐฯ ได้มีคำสั่งห้ามใช้โดรนที่ผลิตโดยบริษัท DJI ซึ่งเป็นผู้ผลิตโดรนรายใหญ่ที่สุดในโลก

คุณโรเมโอ เดอร์สเชอร์ หัวหน้าฝ่ายความปลอดภัยสาธารณะของบริษัท DJI ปฏิเสธข้อกล่าวหาของรัฐบาลอเมริกัน และว่าเวลานี้มีหน่วยงานของสหรัฐฯ มากกว่า 1,000 แห่ง ที่ใช้โดรนของบริษัท ซึ่งได้ช่วยชีวิตผู้คนทั่วโลกไปแล้วมากกว่า 200 คน

คุณเดอร์สเชอร์ บอกว่า บริษัท DJI มิได้ต้องการควบคุมหรือเก็บรวบรวมข้อมูลใดๆ และในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ผู้ใช้โดรนของบริษัทมีทางเลือกมากขึ้นในการปกป้องข้อมูลส่วนตัวของพวกเขาเอง

drone
drone

ด้านคุณเจฟฟ์ เครฟเวน สำนักงานดับเพลิงเมืองฟรีมองต์ กล่าวว่า ทางหน่วยงานของตนตระหนักถึงความกังวลเรื่องความมั่นคง และพยายามหาทางป้องกันไม่ให้ข้อมูลสำคัญต่างๆ ถูกส่งผ่านโดรนกลับไป เช่น ไม่ต้องเชื่อมต่อโดรนกับอินเทอร์เน็ตระหว่างการทำงาน

เจ้าหน้าที่อเมริกันผู้นี้ยอมรับว่า เทคโนโลยีโดรนที่ผลิตในประเทศจีนนี้จะยังคงมีความสำคัญต่อไปในการช่วยชีวิตคนที่ตกอยู่ในอันตราย ในขณะที่สงครามการค้าระหว่างประเทศมหาอำนาจทางเทคโนโลยีสองประเทศนี้ก็คงจะยังไม่จบลงง่ายๆ เช่นกัน

(ทรงพจน์ สุภาผล เรียบเรียงรายงานจากผู้สื่อข่าว Michelle Quinn)

XS
SM
MD
LG