ลิ้งค์เชื่อมต่อ

คณะกรรมาธิการ'ยูเอ็น' เรียกร้องให้สตรีมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเท่าเทียมบุรุษ


Women's rights activists and opposition party leaders on Monday, June 19, 2006 demanded a top army general be fired for his reported remarks that female officers have no place in India's army. (AP Photo/M. Lakshman, File)
Women's rights activists and opposition party leaders on Monday, June 19, 2006 demanded a top army general be fired for his reported remarks that female officers have no place in India's army. (AP Photo/M. Lakshman, File)
UN Urge Equality Women Decision Making
please wait

No media source currently available

0:00 0:05:21 0:00


คณะกรรมาธิการว่าด้วยสถานภาพสตรีแห่งสหประชาชาติ หรือ Commission on the Status of Women ได้ถกเถียงกันอย่างหนักก่อนที่จะลงนามรับรองพิมพ์เขียว 23 หน้าอีกครั้ง เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ ในคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา เป็นเวลา 25 ปีหลังจากที่มีการลงนามรับรองปฏิญญาปักกิ่งเพื่อความก้าวหน้าของสตรี

คณะกรรมาธิการว่าด้วยสถานภาพสตรียังชี้ให้เห็นถึงปัญหาสำคัญต่าง ๆ มากมายในปัจจุบัน รวมถึงความไม่เท่าเทียมกันระหว่างอำนาจของเพศชายและเพศหญิงในตำแหน่งบุคคลสาธารณะ และผลกระทบที่กว้างขึ้นเรื่อย ๆ ของการใช้ความรุนแรงต่อสตรีและเด็กหญิงในโลกดิจิตัล

คณะผู้แทนจากประเทศต่าง ๆ ถกเถียงเรื่องรายละเอียดและการเลือกใช้ภาษาในพิมพ์เขียวดังกล่าวจนถึงเกือบนาทีสุดท้าย ครอบคลุมถึงประเด็นเกี่ยวกับ ผู้หญิงปกป้องสิทธิมนุษยชน (women human rights defenders) ความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศ รวมไปถึงสิทธิทางการสืบพันธุ์และสุขภาพทางเพศ ซึ่งทำให้เห็นว่ายังมีการต่อต้านสิทธิสตรีและการปฏิเสธที่จะแก้ปัญหาเรื่องอัตลักษณ์ทางเพศ

PALESTINIAN-GAZA-UN-RIGHTS-WOMEN'S DAY
PALESTINIAN-GAZA-UN-RIGHTS-WOMEN'S DAY

ชาติตะวันตกบางประเทศได้พยายามให้คณะกรรมมาธิการฯ ยอมรับผู้หญิงข้ามเพศ และผู้หญิงที่มีการแสดงออกไม่สอดคล้องกับเพศสถานะตามความคาดหวังของสังคมและวัฒนธรรม (transgender and gender non-conforming women) แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จ

สหภาพยุโรป (European Union) หรือ อียู กล่าวว่า อียูต้องการจะเห็นการใช้ “ภาษาที่กล้าและมุ่งมั่นกว่านี้” โดยย้ำว่าความพยายามอย่างเป็นระบบของสมาชิกบางประเทศที่ต้องการจะล้มความพยายามสร้างความเสมอภาคทางเพศ แสดงให้เห็นว่ายังมีการต่อต้านสิทธิสตรีอยู่

ด้านแชนนอน โควัลสกี ผู้อำนวยการด้านการส่งเสริมสิทธิและนโยบายของ International Women’s Health Coalition กล่าวในการแถลงข่าวว่า รัสเซียเป็นประเทศแนวหน้าที่ “พยายามที่จะปฏิเสธไม่ให้สตรีและเด็กหญิงได้รับสิทธิของพวกเขา”

โควัลสกียังกล่าวด้วยว่า สันตะสำนัก (The Holy See) ซึ่งเป็นองค์กรบริหารส่วนกลางของคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั้งหมด ที่ตั้งอยู่ในนครรัฐวาติกัน มักจะเห็นด้วยกับรัสเซีย ในขณะที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย บาห์เรน และคิวบา แสดงความไม่เห็นด้วยในหลายเรื่อง ซาอุดิอาระเบียย้ำว่า การอ้างอิงถึงเพศ “หมายถึงหญิงและชาย” และการแต่งงานหมายถึงการแต่งงาน “ระหว่างหญิงและชาย” ส่วนประเทศจีน ต่อต้านการใช้คำว่า “ผู้หญิงปกป้องสิทธิมนุษยชน”

Phumzile Mlambo-Ngcuka, United Nations Under-Secretary-General and Executive Director of U.N. Women, speaks during an interview with The Associated Press in Sarajevo, Bosnia-Herzegovina, Nov. 5, 2019.
Phumzile Mlambo-Ngcuka, United Nations Under-Secretary-General and Executive Director of U.N. Women, speaks during an interview with The Associated Press in Sarajevo, Bosnia-Herzegovina, Nov. 5, 2019.

ด้าน ฟุมซิเล มลาโบ-งูคา (Phumzile Mlambo-Ngcuka) ผู้อำนวยการขององค์การเพื่อสตรีแห่งสหประชาติ (U.N. Women) กล่าวว่าบางส่วนของข้อตกลงดังกล่าว ทำให้บางประเทศไม่พอใจ ในขณะที่ข้อสรุปและคำแนะนำของเอกสารของคณะกรรมาการธิการว่าด้วยสถานภาพสตรีควรจะ “กล้าและเด็ดเดี่ยวมากกว่านี้” แต่ถึงอย่างนั้น ข้อตกลงที่ได้ก็มีส่วนผลักดันให้เกิดพัฒนาการที่สำคัญต่อการส่งเสริมให้ผู้หญิงดำรงตำแหน่งที่มีผลต่อสังคม

คณะกรรมาธิการฯ ยังยอมรับด้วยว่าถึงแม้จะมีพัฒนาการในด้านต่าง ๆ แต่หนทางที่ผู้หญิงจะได้รับความเท่าเทียมกับผู้ชายยังอีกยาวไกล โดยเฉพาะในเรื่องการเลือกตั้งหรือการแต่งตั้งให้มีบทบาทเป็นผู้ตัดสินใจ หรือผู้บริหาร

คณะกรรมาธิการฯ ยังเห็นว่ามาตรการพิเศษชั่วคราว เช่น การกำหนดให้มีโควต้าผู้บริหารสตรี ยังช่วยทำให้ผู้หญิงมีบทบาทมากขึ้นในสภาระดับท้องถิ่นและระดับชาติ และได้เรียกร้องให้รัฐบาลประเทศต่าง ๆ กำหนดเป้าหมายและห้วงเวลาที่จะสร้างความเสมอภาคทางเพศในตำแหน่งของผู้ที่ได้รับเลือกตั้งให้เข้ามาทำงานเพื่อสังคมอีกด้วย

Women Violence And Abused Concept
Women Violence And Abused Concept

ส่วนเรื่องการใช้ความรุนแรงต่อสตรีในโลกดิจิตัล มลาโบ-งูคาแห่งองค์การเพื่อสตรี กล่าวว่าคณะกรรมาธิการฯ ได้เรียกร้องให้ประเทศสมาชิกมีมาตรการส่งเสริมให้ผู้หญิงเข้าร่วมกิจกรรมในโลกดิจิตัลมากขึ้น รวมทั้งคุ้มครองพวกเขาจากการถูกกลั่นแกล้ง (cyber bullying) หรือการสะกดรอยตามบนโลกออนไลน์ (cyber stalking)

ปฏิญญาปักกิ่งและแผนปฏิบัติการเพื่อความก้าวหน้าของสตรี ที่ได้รับการอนุมัติจากสมาชิก 189 ประเทศในปี พ.ศ.2538 ได้เรียกร้องให้มีการส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศใน 12 ด้าน ให้มีการต่อสู้กับความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศ รวมถึงการส่งเสริมให้เด็กผู้หญิงทุกคนได้รับการศึกษา และให้สตรีได้มีโอกาสดำรงตำแหน่งระดับสูงในภาคธุรกิจและรัฐบาล ตลอดจนในการเจรจาสันติภาพต่าง ๆ อีกด้วย

คำประกาศดังกล่าวยังเป็นเอกสารแรกขององค์การสหประชาชาติ ที่ระบุว่าสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงยังรวมไปถึงสิทธิในการที่จะควบคุมและตัดสินใจ​ “ในเรื่องเพศของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสุขภาพทางเพศและสุขอนามัยเจริญพันธุ์ โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ การบังคับ และการใช้ความรุนแรง”

U.S. Vice President Kamala Harris and U.S. President Joe Biden (not pictured) attend a meeting with bipartisan Senators on infrastructure investment at the Oval Office of the White House in Washington, U.S., February 11, 2021. REUTERS
U.S. Vice President Kamala Harris and U.S. President Joe Biden (not pictured) attend a meeting with bipartisan Senators on infrastructure investment at the Oval Office of the White House in Washington, U.S., February 11, 2021. REUTERS

ในรายงานในวันศุกร์ที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการว่าด้วยสถานภาพสตรียังได้เรียกร้องให้รัฐบาลในทุกระดับของประเทศต่าง ๆ รับรองให้ผู้หญิงสามารถเข้าถึงสิทธิด้านอนามัยเจริญพันธุ์และสิทธิทางเพศอื่น ๆ ได้

แชนนอน โควัลสกี แห่ง International Women’s Health Coalition กล่าวว่า ข่าวดีอย่างหนึ่งของการประชุม คือการที่ผู้นำจากหลายประเทศในกลุ่มประเทศละตินอเมริกาและกลุ่มประเทศหมู่เกาะมหาสมุทรแปซิฟิกได้แสดงออกถึงความเป็นผู้นำอย่างชัดเจนในการส่งเสริมสิทธิสตรี นอกจากนั้น สหรัฐอเมริกายังได้หวนกลับมารับบทบาทผู้นำและผู้ปกป้องสิทธิด้านอนามัยเจริญพันธุ์ ความเท่าเทียมทางเพศ และสิทธิสตรีในหลาย ๆ ด้าน

ช่วงสำคัญของการประชุมดังกล่าว คือการปรากฎตัวผ่านทางออนไลน์ของรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ คามาลา แฮร์ริส ซึ่งกล่าวว่า “สถานภาพของผู้หญิงคือสถานภาพของประชาธิปไตย” และย้ำว่ารัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้การนำของ ประธานาธิบดี โจ ไบเดน จะทำหน้าที่เพื่อพัฒนาทั้งสองอย่างควบคู่กันไป

XS
SM
MD
LG