ลิ้งค์เชื่อมต่อ

การประชุมการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกที่เมืองแคนคูนจบลงโดยที่ประชุมมีมติจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือประเทศยากจนในการรับมือโลกร้อน


การประชุมการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกที่เมืองแคนคูนจบลงโดยที่ประชุมมีมติจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือประเทศยากจนในการรับมือโลกร้อน
การประชุมการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกที่เมืองแคนคูนจบลงโดยที่ประชุมมีมติจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือประเทศยากจนในการรับมือโลกร้อน

หลังการเจรจายาวนานเป็นเวลา 2 สัปดาห์ เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาผู้แทนจากมากกว่า 190 ประเทศสรุปการประชุมว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกที่เมืองตากอากาศแคนคูน ประเทศเม็กซิโก โดยมีข้อตกลงให้จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือประเทศยากจนในการจัดการกับปัญหาภาวะโลกร้อนและจัดให้มีองค์กรสำหรับให้คำแนะนำเกี่ยวกับปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญหลายคนบอกว่าความสำเร็จสูงสุดของการประชุมครั้งนี้ คือการทำให้กระบวนการเจรจาเรื่องการรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกยังคงดำเนินต่อไป

ประธานาธิบดีเม็กซิโก Phelipe Galderon กล่าวปิดการประชุมว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกที่เมืองตากอากาศแคนคูน ยกย่องความสำเร็จของการประชุม โดยข้อตกลงสำคัญที่เกิดขึ้นจากการประชุมในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา คือการจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือประเทศยากจนทั้งในด้านการบรรเทาผลกระทบจากภาวะโลกร้อนและการปรับตัว โดยประเทศพัฒนาแล้วเป็นผู้จัดกาความช่วยเหลือและเงินทุน

ก่อนหน้าการประชุม ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เชื่อว่าการประชุมครั้งนี้จะไม่มีความคืบหน้ามากนัก สืบเนื่องความล้มเหลวจากการประชุมครั้งที่แล้วที่กรุงโคเปนเฮเกน แต่นักรณรงค์ด้านส่งแวดล้อมกลับพอใจต่อผลการประชุมที่เมืองแคนคูน โดยเชื่อว่าเป็นความก้าวหน้าที่จะต่อยอดไปถึงการประชุมครั้งหน้าที่เมืองเดอบาน อาฟริกาใต้ แม้ผู้เชี่ยวชาญบางคนจะแย้งว่า การประชุมที่เมืองเดอบานปีหน้าก็ไม่น่าจะเกิดข้อตกลงที่เป็นรูปธรรมขึ้นได้ เพราะมีเวลาน้อยเกินไป

หนึ่งในประเด็นสำคัญที่ยังคงถกเถียงกันอยู่คือเรื่องโครงการลดมลพิษซึ่งเกิดจากการตัดไม้ทำลายป่าและป่าเสื่อมโทรม หรือเรียกย่อๆว่า REDD โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องเงินทุนและแผนการจัดตั้งเขตป่าสงวนในประเทศยากจน บรรดาองค์กรด้านวิ่งแวดล้อมเชื่อว่าความก้าวหน้าของ REDD มีนัยสำคัญ เพราะป่าไม้คือแหล่งดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซดืจากชั้นบรรยากาศโลก โดยรายงานสถิติชี้ว่า ในแต่ละปีพื้นที่ป่าไม้ทั่วโลกกำลังหดหายไปหลายสิบล้านไร่ เนื่องมาจากการลักลอบทำลายป่า

นอกจากนี้ นักวิจารณ์บางคนยังได้ตั้งคำถามถึงค่าใช้จ่ายและมลพิษที่ปล่อยออกมาระหว่างการประชุมที่เมืองแคนคูน โดยเฉพาะการใช้เครื่องปรับอากาศทำความเย็นในห้องประชุมใหญ่ตลอดการประชุม 2 สัปดาห์ หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งในอังกฤษรายงานว่า รอยเท้าคาร์บอนหรือผลกระทบในรูปของการผลิตก๊าซคาร์บอนที่เกิดจากการประชุมครั้งนี้มีปริมาณถึง 25,000 ตัน มากกว่ารอยเท้าคาร์บอนที่ประเทศในอาฟริกาบางประเทศผลิตออกมาในช่วงเวลาเดียวกัน

XS
SM
MD
LG