หัวหน้าองค์กรด้านการพัฒนาและประชากรของสหประชาชาติ Jose Miguel Guzman ยกย่องการที่ประชากรโลกมีอายุเฉลี่ยเพิ่มขึ้นว่าเป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของมวลมนุษยชาติ ซึ่งเป็นผลพวงมาจากการพัฒนาด้านสุขอนามัย โภชนาการ การแพทย์ ระบบการดูแลสุขภาพ การศึกษาและเศรษฐกิจ แต่ก็นำมาซึ่งความท้าทายหลายประการเช่นกัน
คุณ Jose Miguel Guzman ผู้จัดทำรายงานฉบับใหม่เรื่องประชากรสูงวัยกล่าวว่า การที่ประชากรโลกมีอายุเฉลี่ยเพิ่มขึ้นนั้น ยังหมายถึงความต้องการด้านต่างๆเพิ่มขึ้นด้วย เช่นความมั่นคงทางรายได้ และการดูแลสุขภาพในระยะยาว ซึ่งล้วนก่อให้เกิดความท้าทายด้านเศรษฐกิจสังคมซึ่งต้องอาศัยนโยบายที่เข้มแข็งเหมาะสมในการจัดการ
ปัจจุบันญี่ปุ่นคือประเทศที่มีอายุเฉลี่ยของประชากรสูงที่สุด โดย 30% ของคนญี่ปุ่นจัดว่าเป็นคนสูงอายุ ซึ่งรายงานของสหประชาชาติชิ้นนี้ระบุว่าภายในช่วงกลางศตวรรษนี้จะมี 64 ประเทศที่มีสัดส่วนประชากรสูงอายุในระดับเดียวกับญี่ปุ่น รายงานยังบอกด้วยว่าประเทศกำลังพัฒนาคือกลุ่มที่มีอายุเฉลี่ยของประชากรเพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็วที่สุด ปัจจุบันอายุเฉลี่ยของประชากรในประเทศกำลังพัฒนาคือ 68 ปี และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 74 ปีภายในไม่ถึง 40 ปีข้างหน้า ส่วนประเทศพัฒนาแล้วนั้นมีอายุเฉลี่ยประชากรที่ 78 ปีและคาดว่าจะเพิ่มเป็น 83 ปี
คุณ Richard Blewett ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ HelpAge International ผู้ร่วมจัดทำรายงานชิ้นนี้ชี้ว่า รัฐบาลหลายประเทศมองว่าประชากรสูงอายุไม่ใช่สินทรัพย์ทางเศรษฐกิจ และมิได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการขยายตัวของประชากรกลุ่มนี้มากนัก
คุณ Blewett ยังอ้างอิงผลการสำรวจในรายงานด้วยว่า ผู้สูงอายุราว 67% เป็นกังวลต่อปัญหาการถูกกีดกันด้านการจ้างงานมากที่สุด แต่ก็มีบางประเทศเช่นอาฟริกาใต้และบราซิลที่เริ่มมีการร่างกฎหมายต่างๆและมีโครงการสวัสดิการสังคมเพื่อรองรับประชากรสูงอายุ นอกจากนี้ที่ออสเตรเลีย บางชุมชนยังได้เริ่มปรึกษากับบรรดาผู้สูงอายุเพื่อปรับปรุงระบบการจราจรต่างๆให้สอดคล้องกับอายุเฉลี่ยของประชากรมากขึ้น
คุณ Martha Farnsworth Riche อดีตหัวหน้าสำนักงานสำมะโนประชากรสหรัฐ ระบุว่ามาตรการหนึ่งที่เริ่มนำมาใช้คือการเพิ่มเวลาให้คนเดินข้ามถนนได้นานขึ้น นอกจากนี้ยังมีโครงการปรับปรุงระบบประกันสังคมในประเทศพัฒนาแล้ว การสร้างระบบสวัสดิการสังคมในประเทศกำลังพัฒนาเพื่อรองรับประชากรสูงอายุแทนระบบเดิมที่ครอบครัวเป็นผู้ดูแลกันเอง ตลอดจนการลงทุนในด้านสุขภาพอนามัยและสาธารณสุขเพื่อให้คนสูงอายุกระฉับกระเฉงต่อไปอีกนาน
คุณ Jose Miguel Guzman ผู้จัดทำรายงานฉบับใหม่เรื่องประชากรสูงวัยกล่าวว่า การที่ประชากรโลกมีอายุเฉลี่ยเพิ่มขึ้นนั้น ยังหมายถึงความต้องการด้านต่างๆเพิ่มขึ้นด้วย เช่นความมั่นคงทางรายได้ และการดูแลสุขภาพในระยะยาว ซึ่งล้วนก่อให้เกิดความท้าทายด้านเศรษฐกิจสังคมซึ่งต้องอาศัยนโยบายที่เข้มแข็งเหมาะสมในการจัดการ
ปัจจุบันญี่ปุ่นคือประเทศที่มีอายุเฉลี่ยของประชากรสูงที่สุด โดย 30% ของคนญี่ปุ่นจัดว่าเป็นคนสูงอายุ ซึ่งรายงานของสหประชาชาติชิ้นนี้ระบุว่าภายในช่วงกลางศตวรรษนี้จะมี 64 ประเทศที่มีสัดส่วนประชากรสูงอายุในระดับเดียวกับญี่ปุ่น รายงานยังบอกด้วยว่าประเทศกำลังพัฒนาคือกลุ่มที่มีอายุเฉลี่ยของประชากรเพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็วที่สุด ปัจจุบันอายุเฉลี่ยของประชากรในประเทศกำลังพัฒนาคือ 68 ปี และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 74 ปีภายในไม่ถึง 40 ปีข้างหน้า ส่วนประเทศพัฒนาแล้วนั้นมีอายุเฉลี่ยประชากรที่ 78 ปีและคาดว่าจะเพิ่มเป็น 83 ปี
คุณ Richard Blewett ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ HelpAge International ผู้ร่วมจัดทำรายงานชิ้นนี้ชี้ว่า รัฐบาลหลายประเทศมองว่าประชากรสูงอายุไม่ใช่สินทรัพย์ทางเศรษฐกิจ และมิได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการขยายตัวของประชากรกลุ่มนี้มากนัก
คุณ Blewett ยังอ้างอิงผลการสำรวจในรายงานด้วยว่า ผู้สูงอายุราว 67% เป็นกังวลต่อปัญหาการถูกกีดกันด้านการจ้างงานมากที่สุด แต่ก็มีบางประเทศเช่นอาฟริกาใต้และบราซิลที่เริ่มมีการร่างกฎหมายต่างๆและมีโครงการสวัสดิการสังคมเพื่อรองรับประชากรสูงอายุ นอกจากนี้ที่ออสเตรเลีย บางชุมชนยังได้เริ่มปรึกษากับบรรดาผู้สูงอายุเพื่อปรับปรุงระบบการจราจรต่างๆให้สอดคล้องกับอายุเฉลี่ยของประชากรมากขึ้น
คุณ Martha Farnsworth Riche อดีตหัวหน้าสำนักงานสำมะโนประชากรสหรัฐ ระบุว่ามาตรการหนึ่งที่เริ่มนำมาใช้คือการเพิ่มเวลาให้คนเดินข้ามถนนได้นานขึ้น นอกจากนี้ยังมีโครงการปรับปรุงระบบประกันสังคมในประเทศพัฒนาแล้ว การสร้างระบบสวัสดิการสังคมในประเทศกำลังพัฒนาเพื่อรองรับประชากรสูงอายุแทนระบบเดิมที่ครอบครัวเป็นผู้ดูแลกันเอง ตลอดจนการลงทุนในด้านสุขภาพอนามัยและสาธารณสุขเพื่อให้คนสูงอายุกระฉับกระเฉงต่อไปอีกนาน