กลุ่มต่อต้านความยากจนในตุรกี เรียกร้องให้รัฐบาลจัดตั้งสถานค้าประเวณีผู้ชายขึ้นมาบริการผู้หญิง เพื่อจะได้มีความเท่าเทียมกันทางเพศ
ความมุ่งหมายที่แท้จริงของการเรียกร้องครั้งนี้ ก็เพื่อให้รัฐบาลหันมาสนใจกับความยากจนของผู้หญิง และให้ความช่วยเหลิอผู้หญิงที่ยากจน และต้องทำงานค้าประเวณีตามสถานที่ที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นมาโดยเฉพาะ
Hayrettin Bulan ของกลุ่ม Sefkat Der ซึ่งทำงานต่อต้านความยากจน ประกาศเรียกร้องให้รัฐบาลจัดตั้งสถานค้าประเวณีผู้ชายขึ้นมาเพื่อบริการผู้หญิง เขายอมรับว่า ที่เรียกร้องในเรื่องนี้ ก็เพราะหาทางแก้ไขปัญหาการค้าประเวณีของผู้หญิงตามสถานที่ที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นมาอย่างถูกต้องตามกฎหมายไม่ได้
นักรณรงค์ต่อสู้เพื่อสิทธิสตรีในตุรกีผู้นี้ให้ความเห็นว่า สถานค้าประเวณีผู้หญิงที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นมา คือการปกป้องคุ้มครองทาสทางเพศอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และเมื่อรัฐบาลยืนยันการกระทำเช่นนั้น ก็ควรจัดตั้งสถานค้าประเวณีผู้ชายขึ้นมาบริการผู้หญิงบ้างเพื่อความเท่าเทียมกันทางเพศ
Hayrettin Bulan ของกลุ่ม Sefkat Der กล่าวเตือนว่า ถ้ากระทรวงมหาดไทยของตุรกีปฏิเสธคำร้องของเขา เขาจะยื่นคำร้องต่อศาลสิทธิมนุษยชนของยุโรป
แม้นักรณรงค์ของกลุ่ม Sefkat Der ผู้นี้จะยอมรับว่า รัฐบาลตุรกีคงจะไม่ยอมทำตามคำเรียกร้องของเขา เขาเชื่อว่าคำพิพากษาตัดสินของศาลยุโรปในข้อหาว่าตุรกีละเมิดข้อกำหนดของ “ความเท่าเทียมกันทางเพศ” จะเป็นเครื่องพิสูจน์การตีสองหน้าของตุรกีต่อโลกได้ และว่าจะใช้ค่าปรับเป็นตัวเงินที่ศาลจะกำหนดลงมาในการช่วยเหลือให้ผู้หญิงที่ต้องค้าประเวณี แสวงหาอาชีพใหม่ในการหาเลี้ยงตนเองได้
ขณะนี้มีสถานค้าประเวณีผู้หญิงของรัฐบาลตุรกีอยู่ 56 แห่งทั่วประเทศ และมีผู้หญิงทำงานอยู่ทั้งหมดราวๆ 3,000 คน คนหนึ่งในจำนวนนั้นคือ Ayse Turkucu ซึ่งในที่สุดแล้ว สามารถเลิกอาชีพค้าประเวณี และออกมาตั้งตัวได้เอง เธอบอกว่า กว่าจะทำได้สำเร็จก็ประสบความยากลำบากเป็นอย่างยิ่ง
Ayse Turkucu บอกว่าเธอหลุดพ้นออกมาได้โดยการแต่งงาน หลังจากที่ต้องทำงานอยู่นานถึง 20 ปี ตามสถานค้าประเวณีต่างๆกัน 7 แห่ง เธอเล่าว่าได้พบเห็นมามากมาย ทั้งการกระทำทารุณกรรม การใช้ความรุนแรง และการเสพยาเสพติด เธอกล่าวหาว่ารัฐบาลมีฐานะเป็นผู้สมรู้ร่วมคิด ในขณะที่ผู้หญิงถูกปฏิบัติเสมือนกับเป็นสิ่งที่ไร้ค่า เธอให้ความเห็นส่งท้ายว่า ถ้าการค้าขายผู้หญิงทำกันได้ง่ายๆอย่างนี้ ก็เชื่อว่าควรเปิดสถานค้าประเวณีผู้ชาย เพราะตุรกีมีผู้หญิงมากกว่า 30 ล้านคนที่อาจเป็นลูกค้าได้
แต่คงไม่มีโอกาสที่รัฐบาลตุรกีจะจัดตั้งสถานค้าประเวณีผู้ชายขึ้นมาตามคำเรียกร้อง เพราะพรรคการเมืองที่ปกครองประเทศมาเป็นเวลาอย่างน้อยสิบปีแล้วนี้เป็นพรรคเคร่งศาสนาอิสลาม ซึ่งได้ค่อยๆลดจำนวนสถานค้าประเวณีผู้หญิงลงมาเหลือเพียงครึ่งหนึ่งของที่เคยมีมา
ความมุ่งหมายที่แท้จริงของการเรียกร้องครั้งนี้ ก็เพื่อให้รัฐบาลหันมาสนใจกับความยากจนของผู้หญิง และให้ความช่วยเหลิอผู้หญิงที่ยากจน และต้องทำงานค้าประเวณีตามสถานที่ที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นมาโดยเฉพาะ
Hayrettin Bulan ของกลุ่ม Sefkat Der ซึ่งทำงานต่อต้านความยากจน ประกาศเรียกร้องให้รัฐบาลจัดตั้งสถานค้าประเวณีผู้ชายขึ้นมาเพื่อบริการผู้หญิง เขายอมรับว่า ที่เรียกร้องในเรื่องนี้ ก็เพราะหาทางแก้ไขปัญหาการค้าประเวณีของผู้หญิงตามสถานที่ที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นมาอย่างถูกต้องตามกฎหมายไม่ได้
นักรณรงค์ต่อสู้เพื่อสิทธิสตรีในตุรกีผู้นี้ให้ความเห็นว่า สถานค้าประเวณีผู้หญิงที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นมา คือการปกป้องคุ้มครองทาสทางเพศอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และเมื่อรัฐบาลยืนยันการกระทำเช่นนั้น ก็ควรจัดตั้งสถานค้าประเวณีผู้ชายขึ้นมาบริการผู้หญิงบ้างเพื่อความเท่าเทียมกันทางเพศ
Hayrettin Bulan ของกลุ่ม Sefkat Der กล่าวเตือนว่า ถ้ากระทรวงมหาดไทยของตุรกีปฏิเสธคำร้องของเขา เขาจะยื่นคำร้องต่อศาลสิทธิมนุษยชนของยุโรป
แม้นักรณรงค์ของกลุ่ม Sefkat Der ผู้นี้จะยอมรับว่า รัฐบาลตุรกีคงจะไม่ยอมทำตามคำเรียกร้องของเขา เขาเชื่อว่าคำพิพากษาตัดสินของศาลยุโรปในข้อหาว่าตุรกีละเมิดข้อกำหนดของ “ความเท่าเทียมกันทางเพศ” จะเป็นเครื่องพิสูจน์การตีสองหน้าของตุรกีต่อโลกได้ และว่าจะใช้ค่าปรับเป็นตัวเงินที่ศาลจะกำหนดลงมาในการช่วยเหลือให้ผู้หญิงที่ต้องค้าประเวณี แสวงหาอาชีพใหม่ในการหาเลี้ยงตนเองได้
ขณะนี้มีสถานค้าประเวณีผู้หญิงของรัฐบาลตุรกีอยู่ 56 แห่งทั่วประเทศ และมีผู้หญิงทำงานอยู่ทั้งหมดราวๆ 3,000 คน คนหนึ่งในจำนวนนั้นคือ Ayse Turkucu ซึ่งในที่สุดแล้ว สามารถเลิกอาชีพค้าประเวณี และออกมาตั้งตัวได้เอง เธอบอกว่า กว่าจะทำได้สำเร็จก็ประสบความยากลำบากเป็นอย่างยิ่ง
Ayse Turkucu บอกว่าเธอหลุดพ้นออกมาได้โดยการแต่งงาน หลังจากที่ต้องทำงานอยู่นานถึง 20 ปี ตามสถานค้าประเวณีต่างๆกัน 7 แห่ง เธอเล่าว่าได้พบเห็นมามากมาย ทั้งการกระทำทารุณกรรม การใช้ความรุนแรง และการเสพยาเสพติด เธอกล่าวหาว่ารัฐบาลมีฐานะเป็นผู้สมรู้ร่วมคิด ในขณะที่ผู้หญิงถูกปฏิบัติเสมือนกับเป็นสิ่งที่ไร้ค่า เธอให้ความเห็นส่งท้ายว่า ถ้าการค้าขายผู้หญิงทำกันได้ง่ายๆอย่างนี้ ก็เชื่อว่าควรเปิดสถานค้าประเวณีผู้ชาย เพราะตุรกีมีผู้หญิงมากกว่า 30 ล้านคนที่อาจเป็นลูกค้าได้
แต่คงไม่มีโอกาสที่รัฐบาลตุรกีจะจัดตั้งสถานค้าประเวณีผู้ชายขึ้นมาตามคำเรียกร้อง เพราะพรรคการเมืองที่ปกครองประเทศมาเป็นเวลาอย่างน้อยสิบปีแล้วนี้เป็นพรรคเคร่งศาสนาอิสลาม ซึ่งได้ค่อยๆลดจำนวนสถานค้าประเวณีผู้หญิงลงมาเหลือเพียงครึ่งหนึ่งของที่เคยมีมา