ลิ้งค์เชื่อมต่อ

'ทรัมป์' กับเทคนิคเจรจาต่อรองแบบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์บนเวทีโลก รุ่งหรือร่วง?


President Donald Trump points to members of the media as he arrives on the South Lawn of the White House in Washington, May 25, 2018. Trump accused The New York Time of using a "phony source" who turned out to be a White House official briefing several re
President Donald Trump points to members of the media as he arrives on the South Lawn of the White House in Washington, May 25, 2018. Trump accused The New York Time of using a "phony source" who turned out to be a White House official briefing several re

นักวิเคราะห์มองว่าเวทีการเมืองระหว่างประเทศยากกว่า เพราะเงินไม่ใช่คำตอบของทุกสิ่ง

please wait

No media source currently available

0:00 0:03:53 0:00

การที่ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศยกเลิก และกลับมาให้ความหวังอีกครั้งเรื่องการเจรจาสุดยอดกับผู้นำเกาหลีเหนือภายในช่วงเวลาเพียงข้ามวันเมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้ว เป็นสิ่งที่นักวิเคราะห์ชี้ว่ามักเป็นรูปแบบของการเจรจาต่อรองของประธานาธิบดีทรัมป์เอง ตั้งแต่สมัยทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

โดยก่อนหน้านี้ เมื่อประธานาธิบดีทรัมป์ประกาศถอนตัวจากข้อตกลงเรื่องนิวเคลียร์ที่ทำไว้กับอิหร่าน ผู้นำสหรัฐฯ ก็ได้กล่าวเสริมว่า ตนยินดีจะเจรจากับอิหร่านอีกครั้ง ถ้าจะทำให้ได้ข้อตกลงควบคุมโครงการนิวเคลียร์ที่ดีขึ้น

และดูเหมือนว่าท่าทีในการเจรจาต่อรองนี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะกับอิหร่านเท่านั้น เพราะประธานาธิบดีทรัมป์ก็แสดงออกคล้ายๆ กัน เมื่อประกาศถอนสหรัฐฯ จากข้อตกลงกรุงปารีส รวมทั้งจากข้อตกลงการค้าเสรี TPP ด้วย

เกี่ยวกับเรื่องนี้ นาย Doug Bandow นักวิจัยอาวุโสของสถาบัน CATO บอกว่า นี่เป็นรูปแบบที่คาดหมายได้สำหรับ โดนัลด์ ทรัมป์ ผู้ก่อร่างสร้างตัวจากธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมักขู่ว่าจะถอนตัวจากการเจรจาหากไม่ได้เงื่อนไขข้อตกลงตามที่ตนต้องการ

นักวิเคราะห์ผู้นี้ยังชี้ด้วยว่า ประธานาธิบดีทรัมป์นำทักษะการเจรจาในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มาใช้กับการเจรจาระหว่างประเทศ คือพยายามกดดันฝ่ายตรงข้ามอย่างหนัก โดยขู่ว่าจะถอนตัว และสันนิษฐานว่าคู่เจรจาก็ต้องการให้มีข้อตกลงเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม คุณ Doug Bandow ชี้ว่าสิ่งที่อาจใช้ได้ผลในโลกธุรกิจ อาจไม่สำเร็จเสมอไปในเวทีการเจรจาเรื่องการเมืองระหว่างประเทศ ซึ่งมีความสลับซับซ้อนมากกว่า

เพราะในเวทีการเมืองระหว่างประเทศนั้น เงินหรือผลประโยชน์ทางธุรกิจไม่ใช่ปัจจัยชี้ขาดเสมอไป อีกทั้งยังมีผู้เล่นซึ่งมีบทบาทหลากหลายมากกว่า โดยมีเหตุผลจูงใจต่างๆ กันไป ไม่จำกัดเฉพาะเรื่องตัวเงินเท่านั้น

ส่วนคุณ Gwenda Blair ผู้เขียนอัตชีวประวัติของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ตั้งข้อสังเกตเช่นกันว่า ประธานาธิบดีทรัมป์เติบโตขึ้นมาในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์โดยเรียนรู้จากบิดา และเข้าใจเป็นอย่างดีว่าอาคารสิ่งก่อสร้างต่างๆ จะสร้างขึ้นได้อย่างไร โดยไม่จำเป็นต้องทำการบ้านอย่างหนักเหมือนในเรื่องเกาหลีเหนือซึ่งต้องการข้อมูลและความเข้าใจอย่างถ่องแท้มากกว่า

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่สนับสนุนประธานาธิบดีทรัมป์ โต้ว่า โดนัลด์ ทรัมป์ต้องการข้อตกลงที่ดีกว่าจากการเจรจาต่อรองสำหรับคนอเมริกัน ไม่ว่าข้อตกลงนั้นจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอิหร่าน เป็นข้อตกลงเพื่อควบคุมสภาพภูมิอากาศโลก ข้อตกลงการค้าเสรี TPP หรือข้อตกลงเพื่อลดอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือก็ตาม


XS
SM
MD
LG