ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ทรัมป์ – มาคร็อง ปะทะคารมกลางประชุมสุดยอดนาโต้


US President Donald Trump (R) France's President Emmanuel Macron react as they talk during their meeting at Winfield House, London on December 3, 2019.
US President Donald Trump (R) France's President Emmanuel Macron react as they talk during their meeting at Winfield House, London on December 3, 2019.
please wait

No media source currently available

0:00 0:05:10 0:00

เวทีการประชุมองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือหรือ NATO (North Atlantic Treaty Organization) ที่กรุงลอนดอน กลายเป็นพื้นที่ปะทะคารมระหว่างผู้นำสหรัฐฯ และฝรั่งเศสชั่วขณะ

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐฯ และประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาคร็องของฝรั่งเศส แสดงความเห็นที่แตกต่างหลายเรื่อง เช่น การแบ่งภาระค่ายใช้จ่ายของ NATO เรื่องการก่อการร้าย และการบุกดินแดนทางเหนือของซีเรียโดยตุรกี เป็นต้น

บรรยากาศการพูดคุยที่ตึงเครียดต่อหน้านักข่าว เกิดขึ้นหลังจากที่ ผู้นำสหรัฐฯ วิจารณ์ ประธานาธิบดีมาคร็อง จากกรณีที่นายมาคร็อง กล่าวว่า NATO กำลังเผชิญกับ สภาพ ‘สมองตาย’ เนื่องจากบทบาทผู้นำของอเมริกาใน NATO ลดลง

โดนัลด์ ทรัมป์กล่าวว่าคำพูดในเรื่องนี้ของมาคร็อง ไม่เหมาะสมและไม่ให้ความเคารพต่อ NATO

ทรัมป์ – มาคร็อง ปะทะคารมกลางประชุมสุดยอดนาโต้
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:55 0:00

ในการนั่งหารือกันระหว่างผู้นำทั้งสองคน ประธานาธิบดีทรัมป์ เตือนประเทศสมาชิก NATO ที่รับภาระค่าใช้จ่ายด้านกลาโหมของ NATO ไม่ถึงเกณฑ์ 2% ของขนาดเศรษฐกิจของประเทศ ว่าอาจเผชิญกับมาตรการทางเศรษฐกิจ เช่น ภาษีนำเข้าที่เพิ่มขึ้นสำหรับไวน์จาก ฝรั่งเศส เป็นต้น

ทั้งนี้ฝรั่งเศส ให้เงินสนับสนุน NATO เป็นเงินมูลค่า ที่คิดเป็น 1.9% ของจีดีพีของประเทศ และในบรรดาสมาชิก 29 ประเทศ มีเพียง 9 ประเทศที่ปฏิบัติตามเกณฑ์ 2%
ประธานาธิบดีมาคร็องตอบโต้ประธานาธิบดี ทรัมป์ ว่า เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเงินเพียงอย่างเดียว และเขาถามโดนัลด์ ทรัมป์กลับถึงเรื่องความสงบสุขในยุโรป

ผู้นำฝรั่งเศสกล่าวกระทบถึงสหรัฐฯด้วยว่า ขณะนี้ประเทศในยุโรปเผชิญกับความท้าทายใหม่จากขีปนาวุธของรัสเซีย

ถ้อยแถลงดังกล่าวมีขึ้นหลังจากที่รัฐบาลประธานาธิบดีทรัมป์ ถอนตัวออกจากความตกลง เมื่อปี ค.ศ. 1987 ใชยุคปลายสงครามเย็น กับรัสเซีย ในเรื่องการควบคุมขีปนาวุธพิสัยกลาง ในเดือนสิงหาคม

และเมื่อประธานาธิบดีทรัมป์และประธานาธิบดีมาคร็อง กล่าวถึงภัยจากกลุ่มรัฐอิสลาม ทั้งคู่ก็เถียงกันอีก ในการตอบคำถามนักข่าวที่ว่า ฝรั่งเศสจะดำเนินการเพิ่มเติมหรือไม่ในการจัดการกับสมาชิกกลุ่มรัฐอิสลาม ที่ถูกจับกุมตัวในตะวันออกกลาง

ในเรื่องนี้ประธานาธิบดีทรัมป์ กล่าวว่า ฝรั่งเศสสนใจจะรับนักรบกลุ่มรัฐอิสลามไปบ้างหรือไม่ และประธานาธิบดีมาคร็องตอบโต้ว่า สถานการณ์ปัจจุบันเป็นผลของการถอนทหารสหรัฐฯอย่างฉับพลันในดินแดนชาวเคิร์ดที่อยู่ทางเหนือของซีเรีย

ในอดีต ประธานาธิบดีทรัมป์กล่าวว่า NATO เป็นองค์กรที่ “ล้าสมัย” และต้องการถอนสหรัฐฯออกจากการเป็นสมาชิก

แต่ที่การประชุมครั้งนี้ ที่กรุงลอนดอน เขากล่าวว่า NATO ทำงานที่มีจุดหมายที่สำคัญ
ไม่นานนี้ประธานาธิบดีมาคร็องให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร The Economist ว่าประเทศในยุโรปคงไม่สามารถพึ่งพาสหรัฐฯ ในการปกป้องประเทศสมาชิก องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือนี้ได้

นักวิเคราะห์มาร์ติน เควนเซส รองผู้อำนวยการสำนักงานที่กรุงปารีสขององค์กรอเมริกันที่ชื่อ German Marshall Fund กล่าวว่า นายมาคร็องถือว่าอันตรายที่สำคัญมาจากการนิ่งนอนใจ ในเรื่องความมั่นคงของยุโรป และเขาน่าจะต้องการให้เกิดการถกเถียง เพื่อเป็นการเปิดเผยถึงจุดยืนของแต่ละประเทศให้ชัดแจ้ง

นายเควนเซสกล่าวด้วยว่า ภายใต้การเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงของนายมาคร็อง ฝรั่งเศสสามารถแสดงบทบาทเพื่อให้เกิดการปฏิรูปอย่างสร้างสรรค์ต่อ NATO
ทั้งนี้การปะทะคารมระหว่างโดนัลด์ ทรัมป์และเอ็มมานูเอล มาคร็อง เป็นเหตุการณ์ที่ NATO ไม่ต้องการให้เกิดขึ้น เพราะความไม่ลงรอยกันของผู้นำทั้งสอง สร้างบรรยากาศที่ตึงเครียดต่อประเด็นเจรจาที่สำคัญ เช่นการแบ่งภาระค่าใช้จ่ายของ NATO

เลขาธิการใหญ่ NATO เจนส์ สโตลเตนเบิร์ก กล่าวว่าความเป็นผู้นำของสหรัฐฯ ในประเด็นนี้ทำให้เกิดผลที่จับต้องได้

เขากล่าวว่างบประมาณกลาโหมของ NATO เพิ่มขึ้น 1 แสน 3 หมื่นล้านดอลลาร์ ในกลุ่มประเทศสมาชิกที่ไม่ใช่สหรัฐฯ และตัวเลขดังกล่าวน่าจะเพิ่มเป็น 4 แสนล้านดอลลาร์ ในอีก 5 ปีจากนี้

XS
SM
MD
LG