ลิ้งค์เชื่อมต่อ

“ฟาร์มผึ้งกลางเมือง” หนทางช่วยแมลง สิ่งแวดล้อม และแหล่งอาหารโลก


Bees are pollinating
Bees are pollinating

แมลงผสมเกสรที่อยู่กันเป็นกลุ่มทั้งหลาย อาทิ ผึ้ง ผีเสื้อ และกลุ่มแมลงอื่น ๆ กำลังตกอยู่ในภาวะถูกคุกคามจากการสูญเสียถิ่นที่อยู่หรือการทำลายล้างทั้งในระดับท้องถิ่นและในระดับโลกในเวลานี้ โดยภาวะที่ว่ามีที่มาจากสถานการณ์อย่างเช่น เมื่อเราเปลี่ยนป่าให้เป็นไร่ข้าวโพด แมลงผสมเกสรพื้นเมืองแทบทุกตัวในป่าผืนนั้นก็จะสูญหายไปในไม่ช้า

A butterfly is pollinating
A butterfly is pollinating

วิลเลียม ฮาห์น ศาสตราจารย์คุณวุฒิด้านชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ ในกรุงวอชิงตัน กล่าวด้วยเหตุผลข้างต้น การทำฟาร์มผึ้งพันธุ์ตะวันตก (Western honeybee) ที่ถูกนับว่าเป็นสัตว์ที่มีเกษตรกรนำมาเลี้ยงอยู่บ้างมักจะถูกเลี้ยงในกล่อง เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยรักษาให้จำนวนประชากรผึ้งของโลกไม่ลดลงเหมือนประชากรผึ้งที่ใช้ชีวิตอยู่ตามธรรมชาติ

ศาสตราจารย์ฮาห์น เล่าย้อนให้ฟังถึงความสนใจของเขาในการเลี้ยงผึ้ง ว่า “แรกเริ่มมีเพื่อนร่วมงานที่สนใจการเลี้ยงผึ้งในเมือง (urban beekeeping) เลยได้ทดลองเลี้ยงผึ้งหนึ่งรัง แต่ปรากฏว่า ในปีแรกประสบความล้มเหลว ก่อนที่จะเลี้ยงได้สำเร็จในช่วงไม่กี่ปีหลังจากนั้น”

ทั้งนี้ ผึ้งพันธุ์ตะวันตก คือ ผึ้งน้ำหวาน (Honeybees) ที่คาดว่า น่าจะถูกนำเข้ามายังสหรัฐฯ จากทวีปยุโรปเป็นครั้งแรกในช่วงราวปี 1622

William Hahn, Adjunct Professor of Biology, Georgetown University
William Hahn, Adjunct Professor of Biology, Georgetown University

ศาสตราจารย์ฮาห์น อธิบายว่า กล่องเลี้ยงผึ้งที่ใช้นั้นประกอบด้วยกล่องทึบที่มีตะแกรงมุ้งลวดวางอยู่ข้างใต้ เพื่อใช้ระบายอากาศ และป้องกันไม่ให้น้ำผึ้งถูกขโมยไป และในบางช่วงของปีที่ผึ้งไม่สามารถหาน้ำหวานจากเกสรดอกไม้มาเก็บไว้ในรังได้ พวกมันก็จะไปขโมยน้ำหวานจากนิคมผึ้งอื่น ๆ ที่อ่อนแอกว่ามาเก็บไว้ในรังแบบกล่องนี้ที่มีการปกป้องคุ้มครองได้ดีกว่าแทน

William Hahn's boxes-turned bee hive
William Hahn's boxes-turned bee hive

สำหรับในสหรัฐฯ การที่ประชากรผึ้งทำการผสมเกสร ถือว่ามีประโยชน์มากกว่าเพียงแค่การผลิตน้ำผึ้งออกมา

Bee propolis and honey
Bee propolis and honey

ในส่วนของโครงสร้างภายในรังผึ้งแบบกล่องนี้ จะมีของเหลวลักษณะเหนียว ที่เรียกกันว่า กาวผึ้ง (propolis) ซึ่งเป็นยางไม้ที่ผึ้งเก็บมาเพื่อใช้สร้างตัวรังสำหรับกักเก็บน้ำผึ้ง ส่วนน้ำผึ้งที่ได้จากหลอดรวงที่ปิดแล้วจะเรียกว่า “capped honey” เป็นส่วนที่คนเราสามารถรับประทานได้ด้วย

ในส่วนวรรณะของผึ้งภายในนิคมหนึ่ง ๆ นั้นจะประกอบด้วย ผึ้งงาน ผึ้งตัวผู้ และผึ้งนางพญา โดยผึ้งตัวผู้จะมีขนาดตัวที่ใหญ่กว่าผึ้งงาน และพวกมันมีหน้าที่เพียงอย่างเดียว คือ การผสมพันธุ์กับผึ้งนางพญา และเมื่อทำหน้าที่นั้นเสร็จสมบูรณ์ ผึ้งตัวผู้จะตายลงทันที

ศาสตราจารย์ฮาห์น กล่าวว่า จำนวนของผึ้งแต่ละวรรณะจะแตกต่างกันออกไป โดยในแต่ละนิคมผึ้งมักมีผึ้งนางพญาเพียงตัวเดียว มีผึ้งงานจำนวนมากกว่า 40,000 ตัว ส่วนจำนวนของผึ้งตัวผู้จะขึ้นอยู่กับช่วงเวลาของปี โดยภายในรังอาจจะมีหลายพันตัวหรืออาจจะไม่มีสักตัว ก็เป็นไปได้

ในภาวะที่ปกติ ผึ้งนางพญาที่มีความสมบูรณ์ จะทำการวางไข่และหลั่งสารฟีโรโมนเพื่อสื่อสารกับสมาชิกภายในรัง เมื่อผึ้งตัวอื่น ๆ รับรู้ได้ถึงความเป็นปกติ ก็จะทำหน้าที่ของตนต่อไป ซึ่งรวมถึงการปกป้องรังของตนเองจากผู้บุกรุกและศัตรูผึ้ง

Inside bee hive
Inside bee hive

ศาสตราจารย์ด้านชีววิทยาท่านนี้ให้ความเห็นทิ้งท้ายว่า ในภาพรวมระดับโลกนั้น แมลงผสมเกสรที่อยู่กันเป็นกลุ่มนั้นกำลังเผชิญกับปัญหาจำนวนที่ลดลงอยู่จริง แต่ผึ้งพันธุ์ตะวันตกที่มีเกษตรกรเลี้ยงกันอยู่ทั่วไม่ได้รอดพ้นจากภัยคุกคามทั้งหมดเสียทีเดียว เพียงแต่ปัญหาต่าง ๆ นั้นเป็นเรื่องคล้าย ๆ กับการทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ทั่ว ๆ ไป เช่น ปัญหาจากและศัตรูที่ล่าผึ้งเป็นอาหาร รวมทั้ง เรื่องเชื้อโรค ซึ่งเป็นประเด็นที่ผู้เลี้ยงจำเป็นต้องจัดการให้ได้เท่านั้นเอง

  • ที่มา: วีโอเอ
XS
SM
MD
LG