คณะผู้แทนรัฐบาลไทย นำโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ มาริษ เสงี่ยมพงษ์ เข้าร่วมการประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติครั้งที่ 79 ที่นครนิวยอร์ก ระหว่างวันที่ 22-28 กันยายน 2567 โดยได้กล่าวถ้อยแถลงในการประชุมสุดยอดเพื่ออนาคต (Summit of the Future) และในการอภิปรายทั่วไปของสมัชชาใหญ่ยูเอ็น รวมทั้งได้ร่วมงานเลี้ยงรับรองเนื่องในโอกาสที่ประเทศไทยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Human Rights Council: HRC) วาระปี ค.ศ. 2025 - 2027 ด้วย
วีโอเอภาคภาษาไทย สัมภาษณ์อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ นิกรเดช พลางกูร ถึงภารกิจสำคัญของคณะผู้แทนไทยในการประชุม UNGA ครั้งนี้ รวมถึงการหารือกับคณะผู้บริหารของบริษัทเอกชนรายใหญ่ในสหรัฐฯ เพื่อชักชวนไปลงทุนที่ประเทศไทย ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในช่วงที่ผ่านมา
อาจจะไม่ได้พูดตรง ๆ แต่ว่าแน่นอนเขา expect ว่าเขาก็อยากให้ท่านนายกมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขาก็มีความตื่นตัวรับรู้รับทราบดีว่า เรามีนายกหญิงที่อายุน้อยที่สุดเป็นนายกหญิงคนที่สองของไทยอธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ นิกรเดช พลางกูร
“เขาเวลคัมการเปลี่ยนแปลงของเมืองไทยนะฮะ การเปลี่ยนแปลงในเชิงการเมืองที่ตั้งแต่ท่านอดีตนายกเศรษฐาเข้ามาก็มาจากกระบวนการเลือกตั้งที่ชัดเจน หลังจากนั้นก็เป็นไปตามกระบวนการทางกฎหมายที่มีการเตรียมตัวนายก แต่การเตรียมตัวนายกก็เกิดขึ้นในระยะเวลาค่อนข้างรวดเร็วแล้วก็เป็น transition ที่สมูทนะฮะที่ไม่ได้มีประเด็นอะไร เขาก็ได้เห็นแล้วเขาก็พูดขึ้นมาเองด้วยว่า เขาสังเกตถึงความต่อเนื่องด้านนโยบายที่เปิดกว้าง ความต่อเนื่องด้านนโยบาย ความชัดเจนของนโยบาย clarity และ continuity ของ policy ด้านเศรษฐกิจที่เราต้องการจะมี productive role ต้องการมีบทบาทที่สร้างสรรค์นะครับ เราให้เศรษฐกิจเป็น priority หลักของเรา ดังนั้นบริษัทภาคเอกชนเหล่านั้นเขาก็กลับมาให้ความสนใจมากยิ่งขึ้นนะครับ เพราะฉะนั้นไอ้ core message ่เราพูดกับเขาไปเนี่ยผมคิดว่ามันได้รับการตอบสนองที่เป็นเชิงบวกนะครับ”
อธิบดีกรมสารนิเทศ กล่าวด้วยว่า หลายประเทศคาดหวังจะได้เห็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ แพทองธาร ชินวัตร เดินทางมาร่วมประชุมครั้งนี้ แต่ก็เข้าใจได้ถึงสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทย
“อาจจะไม่ได้พูดตรง ๆ แต่ว่าแน่นอนเขา expect ว่าเขาก็อยากให้ท่านนายกมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขาก็มีความตื่นตัวรับรู้รับทราบดีว่า เรามีนายกหญิงที่อายุน้อยที่สุดเป็นนายกหญิงคนที่สองของไทย เขาก็อยากเจอก็เป็นเรื่องธรรมดา และแน่นอนถ้าท่านนายกมาด้วยตนเองการ instill confidence การสร้างความมั่นใจมันสูงขึ้นตามมาแน่ ๆ นะครับ แต่ก็อย่างที่ผมเรียนก็คือว่าครั้งนี้ท่านไม่สะดวกที่จะมา ด้วยภารกิจหลายอย่างที่เมืองไทยมันมีเรื่องน้ำท่วมเรื่องอะไรด้วยที่ท่านก็จะต้อง address เรื่องประเด็นปัญหาในเมืองไทยตอนนี้ อย่างไรก็ดี ก็ยืนยันครับว่าเราพร้อมรับเขานะครับ แล้วก็จะพยายามจัดให้ได้พบท่านนายกด้วยตอนที่ไป (เมืองไทย) นะครับ ก็น่าจะเป็น message ที่เคลียร์แต่ถามว่าถ้าท่านมาดีกว่าไหมก็น้ำหนักคงสูงขึ้น”
ในส่วนของการสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Human Rights Council: HRC) วาระปี ค.ศ. 2025 – 2027 ซึ่งจะมีการประกาศผลในวันที่ 9 ตุลาคม ปีนี้ วีโอเอไทยได้สัมภาษณ์อธิบดีกรมองค์การระหว่างเทศ พินทุ์สุดา ชัยนาม เกี่ยวกับประโยชน์ของไทยที่จะได้จากการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของคณะมนตรีด้านสิทธิมนุษยชน
“ก็แน่นอนค่ะ คือไทยเองเนี่ยการที่เราเข้าไปเราก็พร้อมที่จะ หนึ่ง เพื่อที่เราจะนําแนวที่ดีระหว่างประเทศมาปรับกับประเทศของเราในการยกระดับสิทธิมนุษยชนของประเทศ แล้วสอง ก็จะเป็นผลดีว่าถ้าในกรณีที่ไทยสมัครการเลือกตั้งสมัครเป็นสมาชิกในกรอบอื่น อย่างเช่น OECD การที่ไทยมีการปรับด้านมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนก็จะเอื้อนะคะต่อการที่จะเข้าเป็นสมาชิกในกรอบอื่นที่เขาก็ได้ให้ความสําคัญกับเรื่องมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนสากลด้วยค่ะ”
เค้ามีข้อห่วงกังวลในเชิงของเสรีภาพในการแสดงออกนะคะ ก็คือสิทธิทางการแสดงออก สิทธิทางพลเมือง ทางการเมือง แต่ขณะเดียวกันเค้าก็ยอมรับในความก้าวหน้าของด้านเศรษฐกิจ สิทธิทางเศรษฐกิจแล้วก็สังคมของไทย ซึ่งค่อนข้างก้าวหน้ามากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาคเดียวกันอธิบดีกรมองค์การระหว่างเทศ พินทุ์สุดา ชัยนาม
คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติมีหน้าที่สำคัญในการสอดส่องดูแลการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นทั่วโลก หยุดยั้งการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้น สร้างบรรทัดฐานของการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และให้ข้อเสนอแนะรวมทั้งส่งเสริมขีดความสามารถสำหรับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศต่างๆ
HRC ประกอบด้วยประเทศสมาชิก 47 ประเทศ การเลือกตั้งสมาชิกจะกระทำโดยวิธีการลงคะแนนเสียงแบบลับโดยประเทศสมาชิกสหประชาชาติ 192 ประเทศ ประเทศที่จะเข้าเป็นสมาชิกได้จะต้องได้รับคะแนนเสียงอย่างน้อยกึ่งหนึ่งของจำนวนประเทศสมาชิกสหประชาชาติ โดยมีวาระในการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี
อธิบดีพินทุ์สุดายังได้กล่าวถึงความกังวลของประเทศตะวันตกเกี่ยวกับประวัติด้านสิทธิมนุษยชนของไทย เช่น ความกังวลเรื่องการจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง และการใช้กฎหมายมาตรา 112 ที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการสมัครเข้าเป็นสมาชิกในครั้งนี้ และคำอธิบายที่ให้กับประเทศเหล่านั้น
“เค้ามีข้อห่วงกังวลในเชิงของเสรีภาพในการแสดงออกนะคะ ก็คือสิทธิทางการแสดงออก สิทธิทางพลเมือง ทางการเมือง แต่ขณะเดียวกันเค้าก็ยอมรับในความก้าวหน้าของด้านเศรษฐกิจ สิทธิทางเศรษฐกิจแล้วก็สังคมของไทย ซึ่งค่อนข้างก้าวหน้ามากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาคเดียวกัน แล้วเค้าก็ยอมรับว่า มันไม่มีประเทศไหนที่มีสิ่งเรียกว่าประวัติสิทธิมนุษยชนที่ขาวสะอาดหรือว่าสมบูรณ์แบบอ่ะค่ะ ดังนั้นการที่จะพิจารณาเลือกเนี่ยก็คือนอกจากสมุดพกก็คือผลคะแนนที่ได้ทํามาแล้วเนี่ย มันก็จะมีอีกปัจจัยอื่นที่จะต้องพิจารณาด้วย อย่างความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างกัน หรือว่าการเมืองระหว่างประเทศจะต้องนํามาสู่การพิจารณาด้วยค่ะ”
“เราก็อธิบายว่า มาตรา 112 จริง ๆ แล้วก็สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศนะคะแล้วก็รวมถึงอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเสรีภาพทางการเมืองด้วย ซึ่งมันก็จะมีบางมาตราในอนุสัญญาระหว่างประเทศที่เหมือนให้ข้อยกเว้นว่า เหมือนกับเรามีสิทธิ์ในการแสดงออกได้แต่สิทธิ์นั้นก็ต้องนํามาซึ่งความรับผิดชอบต่อคนอื่นด้วยที่เขาอาจจะได้รับผลกระทบจากการแสดงออกของเรานะคะ แล้วก็สองก็คือ ในสิทธิ์นั้นก็ต้องคํานึงถึงในเรื่องของความเป็นเอกภาพของประเทศ แล้วก็ความมั่นคงของประเทศด้วย ก็คือในอนุสัญญาระหว่างประเทศเนี่ยก็จะมีมาตราที่พูดถึงประเด็นเหล่านี้ด้วย ซึ่งเราก็อธิบายค่อยไปเขาก็ยอมรับว่ามันใช่”
อีกหนึ่งในภารกิจสำคัญของคณะผู้แทนไทยในการเยือนนิวยอร์กครั้งนี้ คือการพบปะกับชุมชนไทยในอเมริกา เพื่อสนับสนุนเรื่องการกระจายซอฟต์พาวเวอร์ของไทย รวมทั้งโครงการ Thai Festival ในหลายประเทศ ซึ่งอธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ นิกรเดช พลางกูร กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า
เรากําลังผลักดันเรื่อง soft power ของเรา คนไทยเหล่านี้ถือเป็น agent ของเรา เป็นหน้าต่างของเราต่อสหรัฐอเมริกา การแพร่ soft power ของเราอย่างดีที่สุดก็คือผ่านคนไทยนั่นเองอธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ นิกรเดช พลางกูร
“คือเรามีชุมชนไทยที่อยู่ในสหรัฐอเมริกาเนี่ยกว่า 300,000 คน ถือเป็นชุมชนที่ใหญ่ที่สุดที่หนึ่ง ใน 300,000 เนี่ย 5000 เป็นนักเรียน ซึ่งผมพูดได้เลยว่าคนไทยที่อยู่ในสหรัฐอเมริกาเป็นคนไทยที่มีศักยภาพสูงทั้งสิ้นนะครับ เป็นบุคคลที่มีศักยภาพสูง เรากําลังผลักดันเรื่อง soft power ของเรา คนไทยเหล่านี้ถือเป็น agent ของเรา เป็นหน้าต่างของเราต่อสหรัฐอเมริกา การแพร่ soft power ของเราอย่างดีที่สุดก็คือผ่านคนไทยนั่นเอง จะเป็นชุมชนไทย จะเป็นร้านอาหารไทย จะเป็น performance ไทยทั้งหลายก็ล้วนเป็นแขนขาของเราในการกระจาย soft power ทั้งสิ้นนะครับ core massage ที่เราจะบอกเขาก็คือว่า หนึ่ง เราอยากให้เขาอยู่ในสหรัฐอเมริกาด้วยการเป็น citizen ที่ดี แล้วเราเองก็อยากจะสร้างโอกาสให้กับ talent เหล่านี้นะครับ ให้เขาอยู่แล้วสร้าง value added ให้กับสังคมสหรัฐด้วยนะครับ ในทางกลับกันเราก็พยายามจะส่งเสริม soft power ของเรามาทางนี้”
อธิบดีนิกรเดช ยังกล่าวถึงโครงการ “Thai Festival” หรือ “งานเทศกาลไทย” ที่จัดขึ้นโดยสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่หลายแห่งทั่วโลก ซึ่งในบางประเทศมีการจัดงานนี้จัดต่อเนื่องมานานกว่าทศวรรษจนกลายเป็นแบรนด์ติดตลาดของชาวต่างชาติและชาวไทยในประเทศนั้น ๆ
“ทางเอกอัครราชทูตเอง ปี 2568 เราจะเริ่มขยายเรื่องการทํา Thai festival ทั่วโลกเลยเกือบ 50 แห่งโดยจะมีการกําหนด theme กําหนด Mood and tone ต่าง ๆ ให้ไปในทิศทางเดียวกัน ที่สหรัฐอเมริกา สถานกงสุลก็จะเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่อง Thai festival เราก็จะ engage คนไทยให้เข้ามามีส่วนร่วม แล้วก็จะใช้ Thai fashion เป็นตัวขยายกระจาย disseminate เรื่อง soft power ของไทยออกไปนะทั้ง 11 สาขาเลย”
- ที่มา: วีโอเอ ภาคภาษาไทย
กระดานความเห็น