ลิ้งค์เชื่อมต่อ

การตัดต่อยีนพืชเเละสัตว์แนวใหม่ปรับโฉมหน้าการผลิตอาหารของสหรัฐฯ


FILE - This Sept. 27, 2018 photo shows petri dishes with citrus seedlings that are used for gene editing research at the University of Florida in Lake Alfred, Florida.
FILE - This Sept. 27, 2018 photo shows petri dishes with citrus seedlings that are used for gene editing research at the University of Florida in Lake Alfred, Florida.

นักวิทยาศาสตร์ในสหรัฐฯเริ่มใช้วิธีดัดแปลงยีนพืชเเละสัตว์แบบใหม่

please wait

No media source currently available

0:00 0:03:37 0:00

วัวนมพันธุ์โฮลสไตน์ (Holstein) เป็นวัวที่ให้ผลผลิตสูงเเต่เป็นวัวที่มีเขาที่ค่อนข้างอันตราย

อัลลิสัน แวน อีนเนนนัม แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียร์ แดวิส กล่าวว่าวัวนมพันธุ์นี้ค่อนข้างอันตรายสำหรับคนงานเเละวัวตัวอื่นๆ ซึ่งปกติเเล้ว ต้องมีการจับตัดเขาทิ้ง แต่เทคโนโลยีการตัดต่อยีนเฉพาะอย่างทิ้งทำให้วัวพันธุ์นี้ไม่มีเขาอีกต่อไป

แวน อีนเนนนัม กล่าวว่าเทคโนโลยีนี้เหมือนกับกรรไกรโมเลกุลที่สามารถสั่งให้ตัดดีเอ็นเอจุดใดจุดหนึ่งออกจากโครงสร้างยีนทั้งหมดเเละสามารถใช้ยีนใหม่ที่มีคุณสมบัติที่ต้องการใส่ลงไปทดแทน

ในกรณีของวัวนมพันธุ์โฮลสไตน์ นักพันธุศาสตร์ทดแทนยีนตัวที่ทำให้วัวขนิดนี้มีเขา ด้วยข้อมูลทางพันธุกรรมจากวัวแองกัส (Angus) ที่ไม่มีเขา

เทคโนโลยีการตัดต่อยีนนี้จะกลายเป็นการทำพันธุวิศวกรรมสมัยใหม่เเละเริ่มมีผลต่ออุตสาหกรรมผลิตอาหารเเล้ว นอกเหนือจากการความสำเร็จในการทำให้วัวนมโฮลสไตน์ไร้เขา

นักวิทยาศาสตร์ได้ตัดต่อยีนถั่วเหลืองเพื่อให้ปลอดจากไขมันไม่อิ่มตัวเวลานำไปผลิตเป็นน้ำมันถั่วเหลือง เเละยังตัดแต่งยีนของเห็นเพื่อให้ไม่กลายเป็นสีน้ำตาลอย่างรวดเร็ว

บรรดานักวิทยาศาสตร์กำลังหวังว่าเทคโนโลยีใหม่การดัดแต่งยีนนี้อาจช่วยแก้ไขปัญหาใหญ่ๆ หลายอย่างที่เกิดขึ้นกับการปลูกพืชอาหารและการเลี้ยงสัตว์

ยกตัวอย่างโรคกรีนนิ่ง (greening disease) ที่ทำลายผลผลิตผลไม้ตระกูลส้มของสหรัฐฯ อย่างรุนแรงเเละพบว่าระบาดในอินเดียกับจีนด้วย

เฟรก มิทเทอร์ แห่งมหาวิทยาลัยฟลอริด้ากล่าวว่าโรคพืชชนิดนี้ทำให้ผลผลิตส้มจากราว 240 ล้านกล่องต่อปีเมื่อ 15-18 ปีที่แล้วลงมาอยู่ที่ 45 ล้านกล่องในฤดูเก็บเกี่ยวที่ผ่านมา

บรรดานักวิทยาศาสตร์เหล่านี้กำลังทดลองปรับเเต่งรหัสพันธุกรรมของพืชเพื่อพัฒนาต้นส้มที่ต่อต้านต่อโรคชนิดนี้ โดยไม่ใช้พันธุกรรมจากพืชอื่นเสริมเข้าไป แต่เป็นการกระตุ้นให้ต้นส้มวิวัฒนาการคุณสมบัติต่อต้านเชื้อโรคขึ้นเองตามธรรมชาติ

มิทเทอร์กล่าวว่าทีมนักวิจัยของเขากำลังมุ่งเปลี่ยนลำดับดีเอ็นเอของพืชซึ่งเป็นลำดับที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ

ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าสำคัญมากที่ต้องชี้ให้เห็นความเเตกต่างระหว่างพันธุวิศวกรรมกับการดัดแปลงยีน

เจนนิเฟอร์ คุซมา นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยรัฐนอร์ท แคโรไลนา กล่าวว่าจีเอ็มโอเป็นเทคโนโลยีรุ่นเเรก ซึ่งเป็นการนำยีนชนิดใหม่ใส่เข้าไปในพืช โดยยีนตัวใหม่จะเข้าไปอยู่ในจุดในจุดหนึ่งก็ได้ของโคโมโซม ในขณะที่ การดัดแปลงพันธุกรรมด้วยการตัดเเต่ง คล้ายๆกับการตัดประโยคหนึ่งประโยคหรือคำหนึ่งคำออกไป ซึ่งเป็นการตัดตรงจุดและเฉพาะเจาะจง

แม้ว่าจะมีการตัดแต่งยีนตรงจุด คุซมานยังกังวลเกี่ยวกับอาหารที่ใช้เทคโนโลยีพันธุวศวกรรมเพราะการเปลี่ยนแปลงเเม้จะน้อยนิด อาจสร้างผลกระทบแบบไม่จงใจ

เธอต้องการเห็นอาหารจีเอ็มโอทุกอย่างเข้าสู่ขั้นตอนการรับรองที่เข้มข้นเป็นกรณีกรณีไปเพื่อค้นหาผลกระทบจากการปรับเเต่งยีนที่อาจเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต

(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)

XS
SM
MD
LG