ศาลสูงสหรัฐมีคำพิพากษาลงมาเมื่อวันอังคาร ตัดสินว่า ดร. สุภาพ เกิดแสง ไม่มีความผิดในการซื้อหนังสือหรือตำราภาษาอังกฤษที่พิมพ์ในต่างประเทศ และนำไปขายทาง eBay แก่นักศึกษาในสหรัฐในราคาที่ถูกกว่าตำราที่พิมพ์และขายในสหรัฐเอง
คำพิพากษาที่ว่านี้ มีผู้พิพากษาศาลสูง 6 คนที่เห็นด้วย และ 3 คนที่คัดค้าน
คำตัดสินของศาลสูงกลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นในปีที่แล้ว ที่เห็นด้วยกับโจทก์ คือบริษัท John Wiley & Sons ที่กล่าวหาว่า ดร.สุภาพ เกิดแสง ละเมิดลิขสิทธิ์ของบริษัทในการนำหนังสือที่บริษัทมีลิขสิทธิ์และพิมพ์ในต่างประเทศ เข้าไปขายในสหรัฐ และสั่งปรับดร. สุภาพเป็นเงินหกแสนดอลล่าร์ หรือราวๆ 18 ล้านบาท
สหรัฐมีกฎหมายที่ระบุว่า เมื่อบริษัทธุรกิจขายผลิตภัณฑ์ที่มีลิขสิทธิ์ไปแล้ว ผู้ซื้อมีสิทธิ์ที่จะนำผลิตภัณฑ์นั้นๆไปขายได้ในภายหลัง
ทนายของดร. สุภาพอาศัยกฎหมายดังกล่าวเป็นหลักในการสู้คดี และส่วนใหญ่ของผู้พิพากษาศาลสูงของสหรัฐเห็นด้วย
ในคำพิพากษา ซึ่งมีความยาว 33 หน้า ผู้พิพากษา Stephen Breyer ให้เหตุผลว่า คำกล่าวหาของโจทก์ ซึ่งมุ่งจะจำกัดการขายหนังสือมือสอง อาจส่งผลเสียให้กับห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์ที่ต้องการจะให้ยืม หรือจัดแสดงผลงานที่ผลิดในต่างประเทศ ในขณะที่ผู้บริโภคอาจมีปัญหาในการขายรถ เครื่องคอมพิวเตอร์ และผลิตภัณฑ์อื่นๆที่มีส่วนประกอบผลิตในต่างประเทศได้
ผู้พิพากษา 3 คนที่คัดค้านคำตัดสินดังกล่าว ให้ความเห็นว่า คำพิพากษาครั้งนี้ขัดกับเจตนารมณ์ของรัฐสภาที่ต้องการปกป้องลิขสิทธิ์ของผู้พิมพ์หนังสือ
นอกจากบรรดาสำนักพิมพ์ต่างๆจะไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษานี้แล้ว วงการบันเทิงและอุตสาหกรรม Software ก็มีถ้อยแถลงออกมาคัดค้าน โดยให้เหตุผลว่า เป็นคำตัดสินที่ขัดกับนโยบายการค้าของรัฐบาล อาจทำให้บริษัทธุรกิจต่างๆไม่อยากเสนอขายสินค้าในต่างประเทศในราคาที่ถูกกว่าที่ขายในสหรัฐ เพราะจะพากันกลัวว่า จะมีการนำสินค้าเหล่านั้นกลับเข้าไปขายในสหรัฐ
แม้คำพิพากษาของศาลสูงจะกล่าวว่าเข้าใจประเด็นเรื่องการตั้งราคาสินค้าแตกต่างกันเพื่อให้แข่งขันได้ในตลาดต่างๆในโลก แต่ก็ยืนยันว่า ไม่มีหลักการพื้นฐานใดๆในกฎหมายเรื่องลิขสิทธิ์ที่บ่งชี้ว่า ผู้พิมพ์หนังสือมีสิทธิ์จะห้ามการขายหนังสือมือสองได้
บริษัท eBay, Google และ Costco Wholesale ผู้ขายสินค้าส่งรายใหญ่ในสหรัฐ แสดงความยินดีต่อคำพิพากษาครั้งนี้ โดยบอกว่าเป็นชัยชนะของผู้บริโภคและสำหรับเสรีภาพในการค้า
คำพิพากษาที่ว่านี้ มีผู้พิพากษาศาลสูง 6 คนที่เห็นด้วย และ 3 คนที่คัดค้าน
คำตัดสินของศาลสูงกลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นในปีที่แล้ว ที่เห็นด้วยกับโจทก์ คือบริษัท John Wiley & Sons ที่กล่าวหาว่า ดร.สุภาพ เกิดแสง ละเมิดลิขสิทธิ์ของบริษัทในการนำหนังสือที่บริษัทมีลิขสิทธิ์และพิมพ์ในต่างประเทศ เข้าไปขายในสหรัฐ และสั่งปรับดร. สุภาพเป็นเงินหกแสนดอลล่าร์ หรือราวๆ 18 ล้านบาท
สหรัฐมีกฎหมายที่ระบุว่า เมื่อบริษัทธุรกิจขายผลิตภัณฑ์ที่มีลิขสิทธิ์ไปแล้ว ผู้ซื้อมีสิทธิ์ที่จะนำผลิตภัณฑ์นั้นๆไปขายได้ในภายหลัง
ทนายของดร. สุภาพอาศัยกฎหมายดังกล่าวเป็นหลักในการสู้คดี และส่วนใหญ่ของผู้พิพากษาศาลสูงของสหรัฐเห็นด้วย
ในคำพิพากษา ซึ่งมีความยาว 33 หน้า ผู้พิพากษา Stephen Breyer ให้เหตุผลว่า คำกล่าวหาของโจทก์ ซึ่งมุ่งจะจำกัดการขายหนังสือมือสอง อาจส่งผลเสียให้กับห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์ที่ต้องการจะให้ยืม หรือจัดแสดงผลงานที่ผลิดในต่างประเทศ ในขณะที่ผู้บริโภคอาจมีปัญหาในการขายรถ เครื่องคอมพิวเตอร์ และผลิตภัณฑ์อื่นๆที่มีส่วนประกอบผลิตในต่างประเทศได้
ผู้พิพากษา 3 คนที่คัดค้านคำตัดสินดังกล่าว ให้ความเห็นว่า คำพิพากษาครั้งนี้ขัดกับเจตนารมณ์ของรัฐสภาที่ต้องการปกป้องลิขสิทธิ์ของผู้พิมพ์หนังสือ
นอกจากบรรดาสำนักพิมพ์ต่างๆจะไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษานี้แล้ว วงการบันเทิงและอุตสาหกรรม Software ก็มีถ้อยแถลงออกมาคัดค้าน โดยให้เหตุผลว่า เป็นคำตัดสินที่ขัดกับนโยบายการค้าของรัฐบาล อาจทำให้บริษัทธุรกิจต่างๆไม่อยากเสนอขายสินค้าในต่างประเทศในราคาที่ถูกกว่าที่ขายในสหรัฐ เพราะจะพากันกลัวว่า จะมีการนำสินค้าเหล่านั้นกลับเข้าไปขายในสหรัฐ
แม้คำพิพากษาของศาลสูงจะกล่าวว่าเข้าใจประเด็นเรื่องการตั้งราคาสินค้าแตกต่างกันเพื่อให้แข่งขันได้ในตลาดต่างๆในโลก แต่ก็ยืนยันว่า ไม่มีหลักการพื้นฐานใดๆในกฎหมายเรื่องลิขสิทธิ์ที่บ่งชี้ว่า ผู้พิมพ์หนังสือมีสิทธิ์จะห้ามการขายหนังสือมือสองได้
บริษัท eBay, Google และ Costco Wholesale ผู้ขายสินค้าส่งรายใหญ่ในสหรัฐ แสดงความยินดีต่อคำพิพากษาครั้งนี้ โดยบอกว่าเป็นชัยชนะของผู้บริโภคและสำหรับเสรีภาพในการค้า