ลิ้งค์เชื่อมต่อ

จีนปฏิเสธคำกล่าวหาว่าพยายามจะก่อความแตกแยกในภาคีอาเซียน


ប្រទេសចិន​ថាតំបន់​ដែលផាត់ព៌ណ​នៃសមុទ្រចិន​ជាដែនរបស់ខ្លួន។ រដ្ឋាភិបាល​ឯទៀត​ក៏ទាមទារ​យ៉ាងដូច្នេះ។
ប្រទេសចិន​ថាតំបន់​ដែលផាត់ព៌ណ​នៃសមុទ្រចិន​ជាដែនរបស់ខ្លួន។ រដ្ឋាភិបាល​ឯទៀត​ក៏ទាមទារ​យ៉ាងដូច្នេះ។

จีนปฏิเสธคำกล่าวหาว่าพยายามก่อความแตกแยกในภาคีอาเซียน เพื่อเพิ่มอิทธิพลในทะเลจีนใต้ที่หลายชาติอ้างสิทธิทับซ้อนรวมทั้งจีนเอง

จีนปฏิเสธคำกล่าวหาว่าพยายามจะก่อความแตกแยกในภาคีอาเซียน เพื่อเพิ่มอิทธิพลความกดดันในบริเวณทะเลจีนใต้ที่หลายชาติอ้างสิทธิทับซ้อนรวมทั้งจีนเอง

คำกล่าวหานี้มีขึ้นหลังจากที่ที่ประชุมสุดยอดของอาเซียนที่กรุงพนมเปญในเดือนที่แล้ว ไม่สามารถมีถ้อยแถลงร่วมกันออกมาได้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ร่วมกันก่อตั้งสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียนขึ้นมาเมื่อ 45 ปีที่แล้ว

ผู้สังเกตการณ์บางรายให้ความเห็นว่า จีนไม่อยากเห็นภาคีอาเซียนมีจุดยืนร่วมกันในเรื่องทะเลจีนใต้ เพราะเชื่อว่าการเจรจากับแต่ละประเทศจะง่ายกว่า

คำปฏิเสธของจีนครั้งนี้ ออกมาในรูปของบทความตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ ซินหว่า ซึ่งนอกจากบอกปัดคำกล่าวหาแล้ว ยังกล่าวโทษด้วยว่า เป็นความพยายามของชาติตะวันตกที่จะกระตุ้นความไม่ไว้วางใจและการเป็นปรปักษ์ระหว่างจีนกับประเทศเพื่อนบ้าน

บทความของซินหว่าเมื่อวันจันทร์ชี้แนะไว้ด้วยว่า ความแตกแยกในชาติภาคีอาเซียนนั้น เป็นผลมาจากการแทรกแซงของชาติตะวันตกบางชาติที่ต้องการจะแบ่งแยกเอเชีย ซึ่งเป็นที่เข้าใจว่า ซินหว่าหมายถึงความพยายามของรัฐบาลสหรัฐเมื่อเร็วๆนี้ ที่จะหันหน้าเข้าหา (pivot) เอเชีย

อาจารย์ Carl Thayer ผู้เชี่ยวชาญเรื่องอาเซียนที่มหาวิทยาลัย New South Wales ในออสเตรเลีย บอกว่าปัญหาความขัดแย้งเรื่องทะเลจีนใต้มีมานานแล้ว ไม่เกี่ยวกับการตัดสินใจทางนโยบายของสหรัฐเมื่อเร็วๆนี้เลย เพราะฉะนั้นการจะกล่าวโทษสหรัฐ หรือจะให้ความสำคัญกับสหรัฐว่าเป็นผู้ก่อเหตุนั้น ไม่ตรงกับความเป็นจริง

อาจารย์ Carl ยอมรับว่า ฟิลิปปินส์กับเวียตนาม ซึ่งเป็นภาคีอาเซียนสองประเทศที่คัดค้านต่อต้านการกล่าวอ้างสิทธิของจีนในบางพื้นที่ในทะเลจีนใต้อย่างเปิดเผยมากกว่าใครเพื่อนนั้น ดูกล้าหาญมากขึ้น หลังการปรับนโยบายของสหรัฐ แต่กล่าวไว้ด้วยว่า เมื่อเร็วๆนี้ เจ้าหน้าที่ของสหรัฐได้ออกมาเรียกร้องขอให้มีความอดกลั้นระหว่างกัน

บทความของซินหว่าเผยแพร่ออกมาในขณะที่รัฐมนตรี Yang Jiechi ของกระทรวงการต่างประเทศจีนใกล้จะเสร็จสิ้นการเดินทางเยือนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเวลารวมห้าวัน โดยพยายามจะสื่อข้อความถึงประเทศในภูมิภาคนี้ว่า จีนเต็มใจที่จะทำงานกับผู้นำในภูมิภาคในเรื่องจรรยาบรรณ หรือ Code of Conduct สำหรับทะเลจีนใต้ที่เก็บค้างกันมานานแล้ว เพื่อลดความตึงเครียดในบริเวณดังกล่าว

อาจารย์ Carl Thayer เชื่อว่า การเดินทางเยือนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครั้งนี้ เป็นความพยายามของปักกิ่งที่จะจำกัดความเสียหายจากการประชุมสุดยอดอาเซียนในเดือนที่แล้ว ซึ่งมีผู้วิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นผลของการแสดงอำนาจของจีนต่ออาเซียน

ผู้เชี่ยวชาญเรื่องอาเซียนของมหาวิทยาลัย New South Wales ผู้นี้ ให้ความเห็นว่า การเยือนของรัฐมนตรีต่างประเทศจีนครั้งนี้ มุ่งจะปลอบประโลมด้วยการรับประกันว่า อย่างน้อยกำลังจะเริ่มต้นทำงานในเรื่องทะเลจีนใต้ที่คั่งค้างมานาน โดยเฉพาะการเจรจาเรื่อง Code of Conduct

อย่างไรก็ตาม หลังการพบหารือกับรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศจีน นาย Anifah Aman รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของมาเลย์เซีย ออกมาเรียกร้องให้ภาคีอาเซียนปรับความเข้าใจระหว่างกัน ก่อนจะเจรจากับจีน ซึ่งทำให้มีคำถามตามมาว่า ปักกิ่งประสบความสำเร็จในการส่งรัฐมนตรีต่างประเทศออกเยือนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือไม่

จีนอ้างสิทธิเหนือทะเลจีนใต้ ซึ่งมีบริเวณราวๆ 3.5 ล้านตารางกิโลเมตร เกือบทั้งหมด เป็นที่เข้าใจกันว่าทะเลจีนใต้เป็นแหล่งพลังงานมหาศาล และยังเป็นเส้นทางเดินเรือสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในโลก นอกจากจีนแล้ว ฟิลิปปินส์ บรูไน มาเลย์เซีย ไต้หวัน และเวียตนาม ได้อ้างสิทธิเหนือบางส่วนของทะเลแห่งนี้ด้วย



XS
SM
MD
LG