ที่มหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ดในสหรัฐ ศาสตราจารย์มาร์ค จาค็อปสัน ได้พัฒนาเครื่องมือระบบคอมพิวเตอร์ขึ้นมาชิ้นแรกเพื่อใช้วัดปริมาณฝุ่นละอองควันเสียที่ปะปนอยู่้ในชั้นบรรยากาศของโลก ศาสตราจารย์จาค็อปสันคำนวณว่าฝุ่นละอองจากควันเสียเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อนสิบห้าถึงยี่สิบเปอร์เซ็น
ศาสตราจารย์มาร์ค จาค็อปสัน นำเสนอผลการศึกษาเรื่องละอองควันเสียต่อภาวะโลกร้อนที่งานประชุมของสมาคม American Chemical Society จัดที่รัฐโคโลราโดเมื่อเร็วๆนี้ โดยชี้ว่า คาร์บอนดำที่พบในละอองฝุ่นควันเสีย เมื่อปะปนในก้อนเมฆ ทำให้เมฆร้อนขึ้น
ศาสตราจารย์จาค็อปสันกล่าวว่าฝุ่นคาร์บอนดำเพิ่มระดับความร้อนในเมฆบนท้องฟ้าและระดับความร้อนจะสูงขึ้นหากตัวคาร์บอนดำไปผสมอยู่ภายในเม็ดน้ำในตัวก้อนเมฆมากกว่าหากเกาะอยู่ด้านนอกก้อนเมฆ เขายืนยันว่าฝุ่นคาร์บอนดำสามารถเผาผลาญก้อนเมฆให้ระเหยหายไปได้อย่างรวดเร็วด้วย
ศาสตราจารย์จาค็อปสันชี้ว่าถ้าหากเราดูภาพถ่ายอากาศทางเซ็ทเทิลไลท์ เราจะมองไม่เห็นก้อนเมฆเหนือท้องฟ้าบางประเทศที่มีระดับมลพิษทางอากาศสูง อาทิ ในจีนกับอินเดีย
ก๊าสคาร์บอนด์ไดออกไซด์สามารถคงอยู่ในอากาศได้นานสี่สิบถึงห้าสิบปี แต่ฝุ่นคาร์บอนดำนี้จะคงอยู่แค่ระยะเวลาสั้นๆตั้งแต่หนึ่งสัปดาห์ถึงสิบวันแล้วจะหายไป
แต่ศาสตราจารย์จาค็อปสันบอกว่าแม้อายุจะสั้นฝุ่นคาร์บอนดำสามารถทำให้อากาศร้อนได้มากกว่าก๊าสคาร์บอนไดออกไซด์ถึงหนึ่งล้านเท่า จึงจะเป็นมากที่ต้องหาทางควบคุมปริมาณฝุ่นคาร์บอนดำจากละอองควันไฟจากไม้และควันไอเสียจากเครื่องยนตร์ดีเซลถ้าหากต้องการลดภาวะโลกร้อน