ลิ้งค์เชื่อมต่อ

การสูบบุหรี่จัดเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความจำเสื่อม


การสูบบุหรี่จัดเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความจำเสื่อม
การสูบบุหรี่จัดเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความจำเสื่อม

การสูบบุหรี่จัดเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความจำเสื่อม

รายงานวิจัยของบริษัท Kaiser Permanente เก็บข้อมูลด้านสุขภาพและพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชากรอเมริกันในรัฐแคลิฟอร์เนียมากกว่า 21,000 คน ตั้งแต่ช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมา แล้วนำมาวิเคราะห์อาการของโรคความจำเสื่อมแบบต่างๆรวมทั้งโรคอัลไซเมอร์ส พบว่าผู้ที่สูบบุหรี่จัดคือสูบอย่างน้อยวันละ 40 มวนหรือ 2 ซอง มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคความจำเสื่อมเพิ่มขึ้นกว่าปกติถึง 2 เท่า

คุณ Rachel Whitmer แห่งแผนกวิจัยของบริษัท Kaiser Permanente ชี้ว่า ความเสี่ยงดังกล่าวไม่จำกัดเพียงแต่ผู้ที่สูบจัดเกินวันละ 2 ซองเท่านั้น แต่ผู้ที่สูบบุหรี่วันละ 1-2 ซอง ก็มีโอกาสเป็นโรคความจำเสื่อมเพิ่มขึ้นถึง 44% และผู้ที่สูบวันละประมาณครึ่งซองถึง 1 ซอง มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 37% เช่นกัน

รายงานระบุว่ายังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดว่าทำไมผู้ที่สูบบุหรี่จัดในช่วงวัยกลางคนจึงมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความจำเสื่อม โดยก่อนหน้านี้ รายงานวิจัยหลายชิ้นของคุณ Whitmer ชี้ให้เห็นถึงปัจจัยเกี่ยวกับสุขภาพด้านอื่นๆที่ส่งผลต่ออาการความจำเสื่อม เช่นการเป็นโรคอ้วนหรือความดันโลหิตสูง ซึ่งคุณ Whitmer เชื่อว่าอะไรก็ตามที่ส่งผลลบต่อหัวใจ ก็ส่งผลร้ายต่อสมองเช่นกัน

เจ้าหน้าที่แผนกวิจัยของบริษัท Kaiser Permanente ผู้นี้แนะนำว่า เมื่อนึกถึงปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ ให้ระลึกไว้ว่าสิ่งนั้นสามารถก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคความจำเสื่อมได้เช่นเดียวกัน

รายงานวิจัยชิ้นนี้ปรากฎอยู่ในวารสาร Archives of Internal Medicine ซึ่งพิมพ์เผยแพร่โดยสมาคมการแพทย์อเมริกัน

XS
SM
MD
LG