ลิ้งค์เชื่อมต่อ

มีสัญญาณบ่งบอกที่แสดงให้เห็นถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศห่อหุ้มโลกต่อมหาสมุทรและชีวิตและสัตว์น้ำในทวีปยุโรป


มีสัญญาณบ่งบอกที่แสดงให้เห็นถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศห่อหุ้มโลกต่อมหาสมุทรและชีวิตและสัตว์น้ำในทวีปยุโรป
มีสัญญาณบ่งบอกที่แสดงให้เห็นถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศห่อหุ้มโลกต่อมหาสมุทรและชีวิตและสัตว์น้ำในทวีปยุโรป

นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า น้ำแข็งในขั้วโลกเหนือที่ละลายออกมา ทำให้ Algae (แอลจี) ซึ่งเป็นพืชทะเลแซลล์เดียว ที่รวมถึงสาหร่ายทะเล เดินทางจากมหาสมุทรแปซิฟิคเข้าไปในมหาสมุทรแอตแลนติคได้ แอลจีทะเลซึ่งมีอยู่อย่างมากมายในมหาสมุทรแปซิฟิคตอนเหนือ มีบทบาทสำคัญในการดูดซับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศโลก และเวลานี้ขยายตัวลงไปถึงตอนกลางของมหาสมุทร แอตแลนติคแล้ว นักวิทยาศาสตร์บอกว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นให้ทั้งผลดีและและผลเสียได้ และในแต่ละบริเวณก็จะแตกต่างกันไป บอกไม่ได้แน่ แต่ที่บอกได้แน่ๆก็คือ ให้เตรียมตัวรับการเปลี่ยนแปลงกันได้แล้ว

นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า น้ำแข็งในขั้วโลกเหนือที่ละลายออกมา ทำให้ Algae (แอลจี) ซึ่งเป็นพืชทะเลแซลล์เดียว ที่รวมถึงสาหร่ายทะเล เดินทางจากมหาสมุทรแปซิฟิคเข้าไปในมหาสมุทรแอตแลนติคได้

การขยายถิ่นฐานของแอลจีที่ว่านี้ พบเห็นเป็นครั้งแรกในการสำรวจเมื่อปีค.ศ. 1999 หนึ่งปีหลังจากที่น้ำแข็งขั้วโลกเหนือละลายออกมากพอที่จะช่วยให้แอลจีไหลตามน้ำออกจากมหาสมุทรแปซิฟิคเข้าไปในมหาสมุทรแอตแลนติคได้

นักสมุทรศาสตร์ Philip Reid ของมูลนิธิ Alister Hardy กล่าวว่า ครั้งสุดท้ายที่มีน้ำทะเลไหลระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิคกับแอตแลนติคได้อย่างสะดวกสะบายเช่นนี้ เกิดขึ้นเมื่อ 2 – 3 ล้านปีที่แล้ว

แอลจีทะเลซึ่งมีอยู่อย่างมากมายในมหาสมุทรแปซิฟิคตอนเหนือ มีบทบาทสำคัญในการดูดซับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศโลก และเวลานี้ขยายตัวลงไปถึงตอนกลางของมหาสมุทรแอตแลนติคแล้ว

นักสมุทรศาสตร์ Philip Reid บอกว่าเห็นแอลจีนี้เป็นประจำทุกปี และไม่แน่ใจว่า มีผลกระทบอย่างไรบ้างต่อพืชและสัตว์ทะเลอื่นๆ รู้แต่เพียงว่า แอลจีนี้เป็นสัญญาณบ่งบอกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น กล่าวคือ น้ำแข็งขั้วโลกเหนือละลาย และกำลังละลายในอัตราที่เร่งความเร็วขึ้นอยู่ตลอดเวลา ในขณะที่น้ำในมหาสมุทรอุ่นขึ้น

ผลการศึกษาระบุว่า ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา ระหว่าง ค.ศ. 2005 ถึง 2010 อุณหภูมิในขั้วโลกเหนือสูงขึ้นมากที่สุด นับตั้งแต่เริ่มวัดกันในปี 1880 เป็นต้นมา

นอกจากแอลจีแล้ว ในปีที่แล้วยังพบด้วยว่า มีปลาวาฬสีเทาปรากฏให้เห็นในมหาสมุทรแปซิฟิค ปลาวาฬพันธุ์นี้เคยมีถิ่นฐานอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติค แต่ถูกล่าจนสูญพันธุ์เมื่อ 300 ปีที่แล้ว

นักชีววิทยาสัตว์น้ำ Katya Philippart ของโครงการวิจัยการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศและระบบนิเวศน์ทางทะเลของยุโรป เรียกย่อๆว่า CLAMER บอกว่า จากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น มีแนวโน้มกว้างๆที่เห็นได้สามแนวด้วยกัน

นักชีววิทยาผู้นี้กล่าวว่า แนวโน้มแรก คือ การเปิดขั้วโลกเหนือ ซึ่งมีสัญญาณบ่งบอกหลายอย่าง แนวโน้มที่สอง คือการที่ปลาพันธุ์ต่างๆโยกย้ายถิ่นฐานขึ้นเหนือ เห็นได้ตามตลาดปลาในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรป และแนวโน้มที่สาม คือการที่สัตว์บางชนิดเริ่มเปลี่ยนเวลาการเกิดและการเติบโต ซึ่งส่งผลกระทบถึงสัตว์อื่นๆได้ ตัวอย่างเช่น นก Puffin ซึ่งปกติแล้ว จะมีปลา Herring ให้เลี้ยงลูกอ่อนได้ แต่การเปลี่ยนแปลงบรรยากาศโลกและระบบนิเวศน์ทางทะเล ทำให้ปลา Herring เดินทางผ่านบริเวณที่นก Puffin อยู่ ก่อนที่ลูกนกจะออกจากไข่ เพราะฉะนั้น เวลานี้ นก Puffin ไม่มีปลา Herring สำหรับเลี้ยงลูกได้

นักชีววิทยาสัตว์น้ำ Katya Philippart บอกว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นให้ทั้งผลดีและผลเสียได้ และในแต่ละบริเวณก็จะแตกต่างกันไป บางที่อาจจะมีปลามากขึ้น แต่บางที่อาจจะลดลง บอกไม่ได้แน่ แต่ที่บอกได้แน่ๆก็คือ ให้เตรียมตัวรับการเปลี่ยนแปลงกันได้แล้ว

เกี่ยวข้อง

XS
SM
MD
LG