ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ทีมนักวิจัยใช้เส้นไหมพรมสกัดยูเรเนียมจากน้ำทะเล ตั้งเป้าใช้ผลิตเชื้อเพลิงนิวเคลียร์


FILE - Cooling towers are seen at the Beaver Valley Power Station in Shippingport, Pennsylvania, Dec. 11, 2000.
FILE - Cooling towers are seen at the Beaver Valley Power Station in Shippingport, Pennsylvania, Dec. 11, 2000.
please wait

No media source currently available

0:00 0:03:24 0:00

ทีมนักวิจัยใช้เส้นไหมพรมอะครีลิคธรรมดาๆ ที่เราใช้ถักเสื้อกันหนาวพัฒนาเป็นเทคโนโลยีที่สามารถสร้างพลังงานเเก่อนาคตได้

เชียน หวาย ประธานแห่ง LCW Supercritical Technologies กล่าวว่าหลังการทดลองหลายครั้ง ทีมนักวิจัยได้ค้นพบสภาพที่พร้อมที่สุดในการสกัดยูเรเนียมจากน้ำทะเลด้วยเส้นไหมพรมอะคริลิค

ในมหาสุมทร มียูเรเนียมอยู่ราว 3 ส่วนต่อหนึ่งพันล้านส่วน เเต่ปริมาณน้อยนิดนี้เมื่อรวมกันเเล้วจะได้ยูเรเนียมที่นำไปทำเป็นเชื้อเพลิงได้ถึงเกือบ 4 พันตัน ซึ่งเพียงพอในการนำไปใช้เป็นพลังงานของเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูได้ต่อไปอีกนานหลายร้อยปี

เพื่อค้นหาสภาพที่พร้อมสมบูรณ์ที่สุดในการสกัดยูเรเนียม ทีมนักวิจัยได้ผูกเส้นไหมพรมสีส้มกับพื้นของสระน้ำที่ห้องทดลอง Pacific Northwest National Laboratory ในเมืองซีแอทเติล ทีมนักวิจัยใช้กังหันใบพัดเพื่อทำให้น้ำทะเลไหลเวียนเหนือเส้นไหมพรมเหล่านี้นานหนึ่งเดือน เพื่อเลียนแบบคลื่น

ทีมนักวิจัยได้ตรวจสอบเส้นไหมพรมเป็นประจำ เพื่อดูว่ามีสารยูเรเนียมติดอยู่บนผิวหน้าของเส้นไหมพรมมากแค่ไหน

แกรี่ จิลล์ นักวิจัยแห่ง Pacific Northwest National Laboratory กล่าวว่า ทีมงานสามารถควบคุมน้ำทะเลโดยใช้น้ำทะเลจากธรรมชาติ ยังสามารถควบคุมอุณหภูมิของน้ำทะเลที่ใช้ได้ด้วย มีการควบคุมการไหลของกระเเสน้ำ ซึ่งสำคัญมากต่อความสามารถในการสกัดยูเรเนียมจากน้ำทะเล

หลังจากนั้น ทีมนักวิจัยส่งเส้นไหมพรมไปยัง LCW Supercritical Technologies เพื่อเข้ากระบวนการสกัดผงยูเรเนียม ขั้นตอนนี้สามารถผลิตเค้กเหลืองได้ 5 กรัม ซึ่งเค้กเหลืองนี้เป็นผงละเอียดสีเหลืองเป็นส่วนประกอบหลักของแท่งเชื้อเพลิงที่ใช้ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์

ปริมาณเค้กเหลือง 5 กรัมอาจดูไม่เยอะ แต่หากเพิ่มระดับการผลิตมากขึ้น ก็จะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมพลังงานนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ เป็นอย่างมาก ซึ่งมาถึงตอนนี้ ต้องนำเข้ายูเรเนียมเกือบ 90 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณที่ต้องการใช้ทั้งหมด นอกจากนี้ เทคโนโลยีนี้ยังอาจนำไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ อีกด้วย

เชียน หวาย ประธานแห่ง LCW Supercritical Technologies กล่าวว่าไหมพรมอะคริลิคนี้ยังสามารถนำไปสกัดสารโลหะหนัก โลหะที่มีมูลค่าสูง จึงสามารถใช้งานได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการสกัดเอาสารโลหะหนักที่เป็นพิษออกจากลำน้ำ ในบ่อบำบัดน้ำเสีย เเละยังใช้ในการดูดซับสารโลหะที่มีมูลค่าออกจากแม่น้ำได้ด้วย

(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)

XS
SM
MD
LG