ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิทยาศาสตร์พบซากฟอสซิลสัตว์คล้ายจระเข้ที่มีฟันแบบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม


นักวิทยาศาสตร์พบซากฟอสซิลสัตว์คล้ายจระเข้ที่มีฟันแบบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม
นักวิทยาศาสตร์พบซากฟอสซิลสัตว์คล้ายจระเข้ที่มีฟันแบบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

นักวิทยาศาสตร์ขุดพบซากฟอสซิลสัตว์ดึกดำบรรพ์รูปร่างคล้ายจระเข้ในแอฟริกา สัตว์นั้นมีฟันคล้ายฟันของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ซึ่งบ่งชี้ว่า สัตว์ยุคก่อนประวัติศาสตร์คล้ายจระเข้ตัวนี้อาจกัดและเคี้ยวอาหารได้ ขณะที่จระเข้ยุคปัจจุบันไม่มีความสามารถที่ว่านั้น นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า ซากฟอสซิลสัตว์เลื้อยคลานอายุกว่า 100 ล้านปีที่พบทั่วพื้นที่ตอนใต้ของทวีปแอฟริกา อาจอาศัยอยู่ในระบบนิเวศที่แปลกไม่เหมือนที่อื่นใด ซึ่งจะเห็นได้จากลักษณะรูปทรงของฟัน การศึกษาสัตว์เลื้อยคลานยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่คล้ายจระเข้ และมีฟันลักษณะแปลกออกไปเช่นนี้ อาจช่วยอธิบายเกี่ยวกับวิวัฒนาการของจระเข้ยุคปัจจุบันที่มีฟันแหลมคมซี่เท่า ๆ กัน เรียงเป็นแถวเสมอกัน

นักวิทยาศาสตร์ขุดพบซากฟอสซิลสัตว์ดึกดำบรรพ์รูปร่างคล้ายจระเข้ในแอฟริกา สัตว์นั้นมีฟันคล้ายฟันของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ซึ่งบ่งชี้ว่า สัตว์ยุคก่อนประวัติศาสตร์คล้ายจระเข้ตัวนี้อาจกัดและเคี้ยวอาหารได้ ขณะที่จระเข้ยุคปัจจุบันไม่มีความสามารถที่ว่านั้น

นักดึกดำบรรพ์วิทยาขุดพบซากฟอสซิลสัตว์คล้ายจระเข้ล่าสุดที่ริมฝั่งแม่น้ำสายหนึ่งในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของทานซาเนีย ในบริเวณที่เคยขุดพบซากฟอสซิลของสัตว์อื่น ๆ ที่มีชีวิตอยู่ในยุค mid-cretaceous เมื่อราว 100 ล้านปีมาแล้ว

สัตว์เลื้อยคลานดึกดำบรรพ์ที่ว่านี้ ตัวเล็กกว่าแมวบ้าน มีสมองขนาดกำไว้ในมือได้ แผงกระดูกยาวลงไปถึงหางคล้ายจระเข้ยุคปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์บอกว่า ลักษณะที่สะดุดตาที่สุดคือ ฟัน

Patrick O’Conner แห่ง Ohio University กล่าวว่า เมื่อพิจารณาดูตามรูปทรงและความเกี่ยวโยงกันระหว่างฟันแต่ละซี่แล้ว ก็พอจะบอกได้ว่า มีลักษณะคล้ายฟันของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมมาก Patrick O’Connerเป็นหัวหน้าคณะนักดึกดำบรรพ์วิทยานานาชาติที่พบซากฟอสซิลสัตว์คล้ายจระเข้ที่สมบูรณ์ทั้งตัวตัวหนึ่งเมื่อปี 2551 และตั้งแต่นั้นก็พบทรากบางส่วนของสัตว์อื่นๆ อีก 7 ชนิด

ซากฟอสซิลล่าสุดที่พบ เป็นส่วนกระโหลก ซึ่งมีฟันกัดแหลมคมอยู่ด้านหน้าสำหรับการกัดฉีกทึ้งอาหาร และมีกรามล่างบนอยู่ด้านหลังสำหรับบดเคี้ยวอาหาร ซึ่งต่างจากฟันจระเข้ยุคปัจจุบัน ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ฟันจระเข้ยุคปัจจจุบันมีขนาดเท่าๆ กันและทุกซี่แหลมคมมาก

Paul Filmer ผู้อำนวยการโครงการธรณีวิทยา และชีววิทยาดึกดำบรรพ์ของมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติซึ่งร่วมงานกับ National Geographic Society ในการขุดค้นนี้กล่าวว่า จระเข้ที่เราคุ้นเคยนั้น พออ้าปาก จะเห็นฟันแหลมคมซี่เท่าๆ กันเรียงเป็นแถว ฟันแบบนี้งับจับเหยื่อและกัดฉีกทึ้งเป็นอาหาร

นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า จระเข้ยุคปัจจุบันไม่ได้วิวัฒนาการมาจากสัตว์คล้ายจระเข้ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่จัดไว้ในจำพวกสัตว์เลื้อยคลานยุคโบราณที่เรียกว่า notosuchians ซึ่งหายสาบสูญไปในช่วงเดียวกับที่ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ นักดึกดำบรรพ์วิทยาอธิบายว่า สัตว์เลื้อยคลานยุคโบราณจำพวก notosuchians นั้นจัดจำแนกตามลักษณะที่ต่างกันของโครงสร้าง และรูปแบบการเรียงตัวของฟัน

นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า ซากฟอสซิลสัตว์เลื้อยคลานอายุ กว่า 100 ล้านปีที่พบทั่วพื้นที่ตอนใต้ของทวีปแอฟริกา อาจอาศัยอยู่ในระบบนิเวศที่แปลกไม่เหมือนที่อื่นใด ซึ่งจะเห็นได้จากลักษณะรูปทรงของฟัน การศึกษาสัตว์เลื้อยคลานยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่คล้ายจระเข้ และมีฟันลักษณะแปลกออกไปเช่นนี่ อาจช่วยอธิบายเกี่ยวกับวิวัฒนาการของจระเข้ยุคปัจจุบัน ว่าเพราะอะไรจึงมีฟันแหลมคมเรียงเป็นแถวเป็นแนวเสมอกันแบบนั้น

รายงานการค้นพบซากฟอสซิลสัตว์เลื้อยคลานยุคดึกดำบรรพ์คล้ายจระเข้ ที่มีฟันแบบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมนี้ ลงพิมพ์ในวารสาร Nature

XS
SM
MD
LG