ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ไก่ขันตามระบบนาฬิกาชีวิต


ทีมนักวิจัยญี่ปุ่นชี้ว่าไก่ขันในตอนเช้าตอนพระอาทิตย์ขึ้นน่าจะเนื่องจากการทำงานของกลไกในร่างกายที่เรียกว่าระบบนาฬิกาชีวิตที่ควบคุมพฤติกรรมของไก่ตามวงจรชีวิตยี่สิบสี่ชั่วโมงต่อวัน

เสียงไก่ขันทักทายรับเเสงพระอาทิตย์ตอนรุ่งอรุณทำหน้าที่เหมือนนาฬิกาปลุกเตือนให้หลายๆคนตื่นขึ้นรับเช้าวันใหม่ แล้วไก่รู้ได้ยังงัยว่าต้องขันตอนกี่โมง หรือว่า ไก่มีระบบรับรู้เวลาภายในตัว ทำให้ไก่ทำงานเป็นเหมือนนาฬิกาปลุกอย่างที่ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเข้าใจ หรือว่าไก่เพียงเเค่ตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบตัว เช่นจะต้องขันตอนเช้าเพราะเห็นแสงพระอาทิตย์หรือเพราะปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมอื่นๆ

คุณทากาชิ โยชิมูระ แห่งมหาวิทยาลัย Nagaya University ชี้ว่า เสียงไก่ขันเป็นสัญลักษณ์ของยามรุ่งอรุณในหลายๆประเทศ คุณโยชิมูระได้ระบุในข้อเขียนที่ตีพิมพ์ในสารสาร the Current Biology เมื่อเร็วๆนี้ว่าไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าการขันของไก่ในตอนเช้าเป็นผลสืบเนื่องจากการทำงานของระบบกลไกนาฬิกาชีวิตของไก่ หรือว่า เป็นการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นภายนอกร่างกาย กันแน่

คุณโยชิมูระกล่าวว่าไก่ไม่ได้ขันเฉพาะตอนพระอาทิตย์ขึ้นเท่านั้น แต่ยังขันในเวลาอื่นๆด้วยซึ่งเเสดงว่าเป็นการตอบสนองต่อปัจจัยภายนอกร่างกาย อาทิ แสงไฟจากรถยนต์ หรือเสียงไก่ตัวอื่นขันอยู่ใกล้ๆอาจจะกระตุ้นให้ไก่ขันตอบก็ได้

เพื่อค้นหาว่าปัจจัยภายในกับปัจจัยภายนอก อย่างไหนมีบทบาทต่อการขันของไก่มากกว่ากัน คุณโยชิมูระและคุณสึโยชิ ชิมมูระ เพื่อนร่วมงานวิจัย ทำการทดลองด้วยการนำไก่กลุ่มหนึ่งไปไว้ในห้องที่ควบคุมเเสงให้มืดสลัว แล้วเดินกล้องบันทึกภาพเพื่อสังเกตุพฤติกรรมและฟังเสียงของไก่

แม้จะอยู่ในห้องที่เเสงสลัวๆตลอดเวลา ไก่กลุ่มนี้ยังขันในตอนเช้าตามปกติ แสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมนี้ได้รับอิทธิพลจากระบบนาฬิกาชีวิตของไก่ที่ทำงานตลอดเวลาเป็นวงจารอบละยี่สิบสี่ชั่วโมง เช่นเดียวกับระบบนาฬิกาชีวิตในคน พืชและสัตวอื่นๆ

ทีมนักวิจัยญี่ปุ่นยังพบว่าแม้ไก่อาจจะไก้รับแรงกระตุ้นให้ขันในเวลาอื่นๆตลอดวัน แต่ไก่จะขันเสียงดังมากที่สุดในตอนเช้า

หลังจากอยู่ในห้องที่มีแสงสลัวๆนานวันเข้า ไก่เริ่มขันไม่ค่อยตรงตามเวลาเช้าอย่างที่เคยขัน ทำให้นักวิจัยเชื่อว่าระบบนาฬิกาชีวิตของไก่เริ่มอ่อนแอลงเพราะไก่อยู่ในสภาพแสงสลัวตลอดเวลานั่นเอง

ทีมนักวิจัยเชื่อว่าพฤติกรรมของไก่แบบนี้ชี้ว่านอกจากระบบนาฬิกาชีวิตของไก่จะเป็นตัวควบคุมให้ไก่ขันในตอนเช้าตรู่แล้ว ยังช่วยควบคุมระดับการตอบสนองของไก่ต่อสิ่งกระตุ้นภายนอกด้วย

คุณโยชิมูระเเละคุณชิมมูระกล่าวว่าการวิจัยนี้เป็นเพียงเเค่จุดเริ่มต้นของความพยายามของทีมวิจัยในการเรียนรู้ให้ลึกซึ้งมากขึ้นถึงการขันตามธรรมชาติของไก่ ซึ่งยังไม่มีใครเรียนรู้ เช่นเดียวกันเสียงนกร้องเพลงและเสียงพูดของคนเรา

คุณโยชิมูระกล่าวปิดท้ายรายงานจากผู้สื่อข่าววีโอเอว่าเรายังไม่รู้สาเหตุว่าทำไมสุนัขต้องเท่าโฮ่งๆ หรือแมวต้องร้องเหมียวเหมียว เขากล่าวว่า ทีมงานต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับกลไกของพฤติกรรมที่ถูกควบคุมโดยพันธุกรรมและพวกเขาเชื่อว่าไก่จะเป็นขุมความรู้ที่จะช่วยพวกเขาค้นหาคำตอบในเรื่องนี้ได้
XS
SM
MD
LG