ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าปลาขยายพันธุ์ครองมหาสมุทรหลังอุกกาบาตชนโลก


รายงานระบุถึงการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของสัตว์น้ำมากมายที่เป็นผู้ล่า ขณะที่บรรพบุรุษของปลาในปัจจุบันสามารถปรับตัวได้

please wait

No media source currently available

0:00 0:02:50 0:00
Direct link

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเมื่อ 66 ล้านปีก่อน มีอุกกาบาตพุ่งชนพื้นโลกบริเวณแหลม Yucatan ซึ่งนำไปสู่การสูญพันธุ์ของพืชและสัตว์จำนวนมากในเวลาต่อมา รวมทั้งไดโนเสาร์ ล่าสุดรายงานการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Proceedings of National Academy of Science ตั้งสมมติฐานว่า เหตุการณ์ครั้งนั้นอาจเป็นจุดกำเนิดของปลาที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน

Elizabeth Sibert นักชีววิทยาสัตว์โบราณแห่ง University of California San Diego เชื่อว่าเมื่อหลายล้านปีก่อน สิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรบนโลกของเราแตกต่างจากที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบันมาก โดยมีสัตว์น้ำคล้ายปลาฉลามและปลาหมึกยักษ์เป็นผู้ครอบครองมหาสมุทรต่างๆ มีสัตว์เลื้อยคลานอาศัยอยู่ทั่วมหาสมุทร และมีปลาโบราณที่มีครีบคล้ายปลากระเบนซึ่งเป็นต้นกำเนิดของปลาในปัจจุบันเกิดขึ้นมาแล้ว แต่ยังไม่ได้มีจำนวนมากมายดังเช่นปัจจุบัน

Fish teeth and shark scales from sediment in the South Pacific Ocean dating around the mass extinction event 66 million years ago, photographed under a high powered microscope. (Credit: E. Sibert on Hull lab imaging system, Yale University)
Fish teeth and shark scales from sediment in the South Pacific Ocean dating around the mass extinction event 66 million years ago, photographed under a high powered microscope. (Credit: E. Sibert on Hull lab imaging system, Yale University)

นักวิจัยผู้นี้เปรียบเทียบซากฟอสซิลของปลาโบราณกับของปลาฉลามในตะกอนใต้มหาสมุทร ทั้งในส่วนที่เชื่อว่าเกิดก่อนและหลังการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่หรือ Mass Extinction นักวิจัยพบว่าก่อนที่อุกกาบาตจะชนโลก สัดส่วนของปลาโบราณและปลาฉลามในมหาสมุทรยังคงที่ แต่จำนวนปลาได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหลังอุกกาบาตชนโลกแล้ว กล่าวคือซากฟอสซิลของปลาโบราณที่พบในช่วงหลังจากนั้น มากกว่าซากฟอสซิลของปลาฉลามเกิน 2 เท่า

รายงานชี้ว่าการสูญพันธ์ครั้งใหญ่ได้ทำให้สัตว์หลายพันธุ์ทั้งที่อยู่ส่วนบนและส่วนล่างของห่วงโซ่อาหาร ล้มตายไปจำนวนมาก และยังทำให้ปลาโบราณที่มีครีบคล้า่ยปลากระเบน ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็วจนขึ้นมาครองมหาสมุทรแทน และเป็นบรรพบุรุษของปลาเกือบทุกสายพันธุ์ในปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นสิื่งที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากไม่เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่

นักวิจัย Elizabeth Sibert เผยว่าขั้นต่อไปคือการศึกษาซากฟอสซิลของปลาโบราณอีกครั้ง ว่าสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในช่วงเวลานั้นได้อย่างไร จึงทำให้อยู่รอดได้เป็นเวลานานหลายล้านปี ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเรื่องการปรับตัวภายใต้ภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน

ผู้สื่อข่าว Rasanne Skirble รายงาน / ทรงพจน์ สุภาผล เรียบเรียง

XS
SM
MD
LG