ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักพิทักษ์สิ่งแวดล้อมบอกว่าขยะพลาสติคกำลังทำลายชีวิตสัตว์ทะเล อาหารของสัตว์ทะเลและมหาสมุทร


นักพิทักษ์สิ่งแวดล้อมบอกว่าขยะพลาสติคกำลังทำลายชีวิตสัตว์ทะเล อาหารของสัตว์ทะเลและมหาสมุทร
นักพิทักษ์สิ่งแวดล้อมบอกว่าขยะพลาสติคกำลังทำลายชีวิตสัตว์ทะเล อาหารของสัตว์ทะเลและมหาสมุทร

นักพิทักษ์สิ่งแวดล้อมบอกว่าขยะพลาสติคกำลังทำลายชีวิตสัตว์ทะเล อาหารของสัตว์ทะเลและมหาสมุทร นอกจากนี้ ยังพบหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า พลาสติคเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของโซ่อาหารในทะเลแล้วด้วย นักพิทักษ์สิ่งแวดล้อมบอกว่ามลพิษจากพลาสติคร้ายแรงยิ่งกว่าบรรยากาศโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง และเรียกร้องให้ร่วมกันปกป้องมหาสมุทร แห่งกำเนิดชีวิตมนุษย์ ไว้ให้กับคนรุ่นหลัง

องค์การสหประชาชาติประมาณว่า เราแต่ละคนใช้พลาสติคกันปีละเกือบ 140 กิโลกรัม และอย่างน้อยเวลานี้ พลาสติค 6.4 ล้านตันเวียนว่ายอยู่ในมหาสมุทร โดยเฉพาะในบริเวณที่เรียกว่า The Great Pacific Garbage Patch หรือแหล่งขยะใหญ่ในทะเลแปซิฟิค


นอกจากนี้ ยังพบหลักฐานที่แสดงให้เห็นด้วยแล้วว่า พลาสติคเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของโซ่อาหารในทะเลแล้วด้วย

กัปตัน Charles Moore นักพิทักษ์สิ่งแวดล้อม ผู้ก่อตั้งมูลนิธิ Algalita Marine Research ที่มุ่งศึกษาเรื่องสภาพแวดล้อมของมหาสมุทร เรียกยุคสมัยนี้ ว่าเป็นยุคพลาสติค

เขาบอกว่า มีการผลิตพลาสติคระหว่าง 250 ถึง 300 ล้านตันทุกปี หรือจะเทียบให้เห็นชัดขึ้น ก็กล่าวได้ว่า ทุกๆสองปี เราผลิตพลาสติคที่มีน้ำหนักรวมแล้วเท่ากับน้ำหนักของประชากร 7 พันล้านคนในโลก

นักพิทักษ์สิ่งแวดล้อมผู้นี้เพิ่งมีหนังสือออกมาใหม่หนึ่งเล่ม ซึ่งตั้งชื่อว่า “Plastic Ocean” หรือมหาสมุทรพลาสติค กัปตัน Moore บอกว่า แม้จะมีความพยายามในการนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ หรือการรีไซเคิลนั้น มีการรีไซเคิลพลาสติคไม่ถึง 5% และที่เอาไปทิ้งทะลกันนั้น มีมากเกือบ 3% และว่าเศษขยะพลาสติคที่ทิ้งกันในทะเล ทำลายชีวิตสัตว์น้ำนับล้านๆตัวทุกปี

กัปตัน Charles Moore ผู้ก่อตั้งมูลนิธิ Algalita Marine Research บอกว่า มีลูกนก Albatross มากกว่าหนึ่งแสนตัวตายลงทุกปี และในท้องนั้นเต็มไปด้วยพลาสติค และพบสัตว์น้ำที่เลี้ยงลูกด้วยนมราวๆหนึ่งแสนตัวที่เข้าไปพัวพันกับขยะพลาสติคและตายเพราะหนีออกมาไม่ได้

นักพิทักษ์สิ่งแวดล้อมผู้นี้บอกว่า ในบริเวณที่เรียกกันว่า The Great Pacific Garbage Patch นั้น น้ำหนักของขยะพลาสติคมากกว่า Plankton ซึ่งเป็นอาหารของสัตว์น้ำ ถึงหกต่อหนึ่ง และว่าจนทุกวันนี้เรือทุกลำก็ยังทิ้งขยะลงทะเล โดยไม่สนใจกับข้อตกลงระหว่างประเทศที่ห้ามการกระทำดังกล่าว ของที่ทิ้งกันนั้น มีตั้งแต่สารเคมีสังเคราะห์ ยาฆ่าแมลง ของเสียนิวเคลียร์ ไปจนถึงสารทำลายประสาท และแก๊สพิษมัสตาร์ด

กัปตัน Charles Moore ได้ร่วมมือกับนักสร้างภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม Bill McDonald ถ่ายทำสารคดีเกี่ยวกับพลาส-ติคในทะเล

นักสร้างภาพยนตร์ Bill McDonald บอกว่า ไม่มีอะไรสวยงามเลยในแม่น้ำที่เต็มไปด้วยขยะ เขาได้เห็นนกกระสาตกใจกลัวแผ่นสตีโรโฟมที่ลอยอยู่รอบๆตัว นกนางนวลที่พยายามจะกินถุงมือยาง และสัตว์อื่นๆที่ค้นหาอาหารตามกองขยะสารสังเคราะห์

กัปตัน Charles Moore บอกว่ามลพิษจากพลาสติคร้ายแรงยิ่งกว่าบรรยากาศโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง และเรียกร้องให้ร่วมกันปกป้องมหาสมุทร แหล่งกำเนิดชีวิตมนุษย์ ไว้ให้กับคนรุ่นหลัง

XS
SM
MD
LG