ลิ้งค์เชื่อมต่อ

อดีตประธานเฟดฯคนสำคัญ 'พอล โวล์คเกอร์' เสียชีวิต


Former US Federal Reserve Bank Chairman Paul Volker listens to opening statements in the confirmation hearing for New York Federal Reserve Bank President Timothy Geithner, US President Barack Obama's nominee for Treasury Secretary, before the Senate…
Former US Federal Reserve Bank Chairman Paul Volker listens to opening statements in the confirmation hearing for New York Federal Reserve Bank President Timothy Geithner, US President Barack Obama's nominee for Treasury Secretary, before the Senate…

นายพอล โวล์คเกอร์ (Paul Volker) อดีตประธานระบบธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด (Federal Reserve) ผู้มีบทบาทในยุคสำคัญของเศรษฐกิจอเมริกัน เสียชีวิตในวันจันทร์ ด้วยวัย 92 ปี

เขาเป็นผู้ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ สู่ระดับที่สูงสุดในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษที่ 80 เพื่อรับมือกับเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรุนเเรง จนในเวลาต่อมาเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย

นายโวล์คเกอร์ รับมือกับอัตราเงินเฟ้อระดับ 13% ในปี ค.ศ. 1979 และ 1980 ด้วยการขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องจากร้อยละ 11 มาสู่ที่ร้อยละ 20 ในปลายปี 1980

เขาถูกวิจารณ์อย่างหนัก หลังเศรษฐกิจอเมริกันถดถอย ในเวลาต่อมาอัตราคนว่างงานพุ่งขึ้นแตะร้อยละ 10.8 ในสองเดือนสุดท้ายของ ค.ศ. 1982

คนในธุรกิจก่อสร้างจำนวนมาก ประท้วงนโยบายของนายโวล์คเกอร์ ด้วยการนำก้อนอิฐ และไม้กระดานส่งไปรษณีย์ไปยังสำนักงานใหญ่ของเฟด ผู้ที่ทำธุรกิจขายรถยนต์ส่งกุญเเจรถที่ขายไม่ออกมาที่ตึกของธนาคารกลางเช่นกัน

นอกจากนี้ เกษตรกรอเมริกันในช่วงนั้นขับรถเเทรคเตอร์เข้ามาประท้วงในกรุงวอชิงตัน และปิดถนนหน้าที่ทำการของธนาคารกลาง

อย่างไรก็ตามเมื่อเวลาผ่านไป นายโวล์คเกอร์ ลดอัตราดอกเบี้ย และช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัว จนประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน ประกาศว่า "รุ่งอรุณแห่งอเมริกา" ได้กลับมาอีกครั้งหนึ่ง

พอล โวล์คเกอร์ ผู้ที่มีรูปร่างใหญ่กับความสูง 200 เซนติเมตร อำลาตำแหน่งประธานเฟดในปี ค.ศ. 1987 และผู้ที่มารับหน้าที่ต่อคือ นายอลัน กรีนสเเปน

อย่างไรก็ตามเมื่อ เศรษฐกิจอเมริกันเผชิญวิกฤต 11 ปีก่อน ประธานาธิบดีบารัก โอบามา เเต่งตั้งให้นายโวล์คเกอร์เข้ามาช่วยเป็นที่ปรึกษา โดยเฉพาะเรื่องกฎระเบียบสำหรับธนาคารในการลงทุน จนเกิดกฎระเบียบชื่อ 'Volker Rule' ซึ่งช่วยเปลี่ยนกฎหมายสำหรับภาคการเงินครั้งใหญ่ของสหรัฐฯ

XS
SM
MD
LG