ลิ้งค์เชื่อมต่อ

ประเทศหมู่เกาะแปซิฟิก ระดมทุน ‘500 ล้านดอลลาร์‘ ป้องกันแนวชายฝั่งจากโลกร้อน


ภาพแนวชายฝั่งประเทศในแถบหมู่เกาะแปซิฟิก
ภาพแนวชายฝั่งประเทศในแถบหมู่เกาะแปซิฟิก

เมื่อเร็ว ๆ นี้ นักวิทยาศาสตร์ได้เปิดเผยรายชื่อประเทศในหมู่เกาะแปซิฟิกที่เชื่อว่าเป็นแนวหน้าของการต่อสู้กับภาวะโลกร้อน โดยแนวชายฝั่งของประเทศเหล่านี้มีความเสี่ยงต่อภาวะ “ใกล้สูญพันธุ์มากที่สุดในโลก” โดยประเทศที่ว่า ได้แก่ นีอูเอ หมู่เกาะมาร์แชลล์ ไมโครนีเซีย มัลดีฟส์ และปาเลา

ปธน.ซูร์แองเกล วิปส์ จูเนียร์ แห่งสาธารณรัฐปาเลา
ปธน.ซูร์แองเกล วิปส์ จูเนียร์ แห่งสาธารณรัฐปาเลา

ซูร์แองเกล วิปส์ จูเนียร์ ประธานาธิบดีของประเทศปาเลา ในภูมิภาคโอเชียเนีย ให้สัมภาษณ์ว่า ในฐานะประเทศที่ตั้งอยู่ท่ามกลางมหาสมุทร การปกป้องมหาสมุทรต่าง ๆ จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเพราะผืนน้ำเหล่านี้คือ แหล่งกักเก็บคาร์บอนที่ใหญ่ที่สุด

ประธานาธิบดีปาเลา ยังระบุด้วยว่า การอนุรักษ์มหาสมุทรก็ถือเป็นวิถีชีวิตสำหรับผู้คนที่อาศัยอยู่ในหมู่เกาะแปซิฟิกมาอย่างยาวนานแล้วด้วย

สตีเวน วิคเตอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ประมง และสิ่งแวดล้อมของปาเลา
สตีเวน วิคเตอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ประมง และสิ่งแวดล้อมของปาเลา

สตีเวน วิคเตอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ประมง และสิ่งแวดล้อมของปาเลา ยกตัวอย่างที่เกิดขึ้นในยุค 90 โดยเล่าว่า “ชาวประมงและหัวหน้าท้องถิ่นได้มารวมตัวกัน แล้วตัดสินใจว่าพื้นที่เหล่านี้มีความจำเป็น ควรพักการตกปลา เพื่อให้ (ธรรมชาติ) สามารถฟื้นตัวได้”

ในการประชุม COP28 เมื่อปีที่แล้ว ประเทศต่างๆ ในหมู่เกาะแปซิฟิกได้ประกาศโครงการ “Blue Pacific Prosperity Initiative” และได้ระดมทุน 228 ล้านดอลลาร์ จัดตั้งกองทุนมูลค่า 500 ล้านดอลลาร์ เพื่อที่จะอนุรักษ์พื้นที่ราว 30% ของมหาสมุทรไว้

โครงการ National Geographic’s Pristine Seas คือโครงการที่กำลังให้ความช่วยเหลือประเทศปาเลาในการจัดตั้งพื้นที่คุ้มครองทางทะเลและพร้อมให้คำแนะนำแก่ประเทศอื่น ๆ ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกในเรื่องนี้อยู่

เอนริก ซาลา ผู้ก่อตั้งโครงการ Pristine Seas
เอนริก ซาลา ผู้ก่อตั้งโครงการ Pristine Seas

เอนริก ซาลา ผู้ก่อตั้งโครงการ Pristine Seas กล่าวว่า “เราจะอยู่ที่นั่นไปอีกนาน เพื่อให้แน่ใจว่า พื้นที่คุ้มครองทั้งหลายจะได้รับการออกแบบอย่างเหมาะสมและตั้งอยู่ในทำเลที่ถูกต้อง เพื่อให้เป็นประโยชน์สูงสุดสำหรับสัตว์ทะเล สำหรับคนในพื้นที่ และสำหรับโลกใบนี้”

วิกเตอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ปาเลา มีความหวังที่จะเห็นงานวิจัยของโครง Pristine Seas ช่วยให้ความกระจ่างเกี่ยวกับทรัพยากรใต้ทะเลน้ำลึกของปาเลา ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่ชนพื้นเมืองยังมีไม่มากนัก อย่างเช่น ช่วยให้คนในท้องที่เข้าใจว่า ทำไมปลาจึงไปรวมตัวกันบริเวณไกลโพ้นนอกแนวแนวปะการัง เป็นต้น

ซาลา ผู้ก่อตั้งโครงการ Pristine Seas กล่าวเสริมว่า หนึ่งในแนวทางฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว คือ การกั้นกำแพงพื้นที่ประมงที่สำคัญ เพราะในระยะเวลาห้าถึงสิบปี วิธีดังกล่าวจะช่วยทำให้ธรรมชาติกลับมามีสภาพที่ดีขึ้น และในระยะยาว จะช่วยรับมือกับปัญหาภาวะโลกร้อนได้

ซาลา อธิบายว่า “แพลงก์ตอนในมหาสมุทร คือสาหร่ายที่มีขนาดเล็กมาก และถือเป็นแบคทีเรียที่อาศัยอยู่นอกชายฝั่ง พวกมันช่วยดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มนุษย์เราเป็นผู้ก่อขึ้นในแต่ละปีถึงราว 1 ใน 4”

ภาวะใต้ท้องทะเลในรัฐซาบะฮ์ ประเทศมาเลเซีย
ภาวะใต้ท้องทะเลในรัฐซาบะฮ์ ประเทศมาเลเซีย

ส่วนประธานาธิบดีวิปส์ จูเนียร์ แห่งปาเลา เผยเป้าหมายที่ต้องการเห็นกองทุนขยายมูลค่าไปแตะที่ 2,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อช่วยเหลือ 15 ประเทศที่กำลังตกอยู่ในความคับขันในการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติที่ล้ำค่า โดยผู้นำประเทศปาเลาย้ำว่า กองทุนที่เกิดขึ้นไม่ใช่การลงทุนเพื่อภูมิภาคหมู่เกาะแปซิฟิกเท่านั้น แต่เป็นยังการช่วยปกป้องโลกของเราด้วย

  • ที่มา: วีโอเอ

กระดานความเห็น

XS
SM
MD
LG