ลิ้งค์เชื่อมต่อ

นักวิจัยมะเร็งในสหรัฐเริ่มทำบลูพริ้นท์ลักษณะยีนเซลมะเร็งรังไข่เพื่อช่วยเลือกยาบำบัดให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน


นักวิจัยมะเร็งในสหรัฐเริ่มทำบลูพริ้นท์ลักษณะยีนเซลมะเร็งรังไข่เพื่อช่วยเลือกยาบำบัดให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน
นักวิจัยมะเร็งในสหรัฐเริ่มทำบลูพริ้นท์ลักษณะยีนเซลมะเร็งรังไข่เพื่อช่วยเลือกยาบำบัดให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน

มะเร็งรังไข่เป็นสาเหตุให้ผู้หญิงมากมายทั่วโลกเสียชีวิตเพราะกว่าจะปรากฏอาการก็สายเกินไป ทำให้มะเร็งรังไข่ได้ชื่อว่าเป็นนักฆ่าเงียบ ในสหรัฐ มีผู้หญิงราว 22,000 คนป่วยด้วยมะเร็งรังไข่เมื่อปีที่ผ่านมา จากจำนวนนี้ 14,000 พันคนเสียชีวิต ประมาณว่ามีผู้ป่วยมะเร็งรังไข่รายใหม่ทั่วโลกปีละ 200,000 รายและโอกาสรักษาให้หายยังมีน้อย

คุณเชียล่า คอนเนอร์ ได้รับการยืนยันจากแพทย์ผู้วินิจฉัยโรคว่าเป็นมะเร็งรังไข่เมื่อปีพุทธศักราช 2551 ตอนนั้นมะเร็งเริ่มเข้าสู่ระยะลุกลามแล้ว คุณคอนเน่อร์เข้ารับการผ่าตัดเอาเนื้องอกออกแล้วใช้เคมีบำบัด แต่กลับเป็นซ้ำถึงสี่ครั้งในช่วงสี่ปีที่ผ่านมา


คุณเชียร่า คอนเน่อร์ กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่า เธอมีช่วงที่มะเร็งเข้าภาวะสงบนานที่สุดแปดเดือน เธอลองใช้ยารักษาหลายอย่าง ยาบางตัวใช้ได้ผลระยะหนึ่งเท่านั้น ส่วนยาบางตัวเมื่อรับประทานแล้ว ทำให้มีอาการป่วยซับซ้อนมากขึ้น

คุณคอนเนอ่ร์เล่าว่า ยาบางตัวทานแล้วทำให้ผิวหนังที่มือและเท้าลอก เกิดอาการเจ็บปวดรุนแรงที่บริเวณปากจนต้องเข้าโรงพยาบาลเพราะไม่สามารถรับประทานอาหารได้และต้องพึ่งยาแก้ปวดอย่างแรง เมื่อเร็วๆนี้ คุณเชียร่า คอนเน่อร์ ตัดสินใจออกจากการทดลองใช้ยารักษาที่คลีนิคเพราะมะเร็งหวนกลับและรุนแรงมากขึ้น เธอตัดสินใจเลิกการบำบัดมะเร็งทั้งหมด

คุณลอร่า ชอว์เว่อร์ เป็นนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยโรคมะเร็งและยังเป็นผู้พัฒนายาบำบัดมะเร็งเพื่อการค้าและเคยเป็นมะเร็งรังไข่แต่โรคเข้าสู่ภาวะสงบมานานห้าปีแล้ว เธอกล่าวถึงกรณีของคุณคอนเนอร์ว่าเป็นคนหนึ่งในผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ส่วนใหญ่ที่โรคมะเร็งรุนแรงจนรักษายาก

คุณลอร่า ชอว์เว่อร์กล่าวว่า ตัวเธอเข้ารับการบำบัดรักษาเหมือนผู้ป่วยคนอื่นๆ เป็นวิธีบำบัดมะเร็งรังไข่ที่ใช้กันมานานราวสามสิบปีแล้วหรือนานกว่านั้น ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดและใช้เคมีบำบัด ส่วนใหญ่ตอบสนองต่อการรักษาแบบเดียวกัน

คุณชอว์เว่อร์โชคดีกว่าผู้ป่วยมะเร็งรังไข่คนอื่นๆอีกจำนวนมาก ประมาณว่าผู้ป่วยมะเร็งชนิดนี้ราว 75 เปอร์เซ็นต์ กลับเป็นซ้ำอีกเพราะมะเร็งหวนคืนภายหลังเข้ารับการบำบัด

และเมื่อคนไข้มะเร็งกลับเป็นซ้ำอีก การรักษาต่อมาจะเป็นการคาดเดามากกว่า คุณชอว์เว่อร์กล่าวว่ามะเร็งรังไข่ในผู้ป่วยแต่ละคนมีความแตกต่างกันไปและตอบสนองต่อยาแตกต่างกันด้วย มีผู้ป่วยจึงต้องเปลี่ยนจากเคมีบำบัดขนานนี้ไปใช้ขนานอื่นตลอดเวลาเป็นการทดลองไปเรื่อยๆโดยไม่รู้ว่าจะได้ผลหรือไม่

ในปีพุทธศักราช 2551 คุณลอร่า ชอว์เว่อร์ ก่อตั้งมูลนิธิ Clarity เป็นมูลนิธิไม่หวังผลกำไรที่ช่วยทำบลูพริ้นท์ลักษณะของยีนในเซลมะเร็งรังไข่แก่ผู้ป่วยแต่ละคนเพื่อช่วยในการตัดสินใจว่าควรใช้ยาตัวไหนบำบัดผู้ป่วยแต่ละคนเพราะยาแต่ละขนานได้ผลในผู้ป่วยแต่ละคนไม่เหมือนกัน

ปกติแพทย์ใช้วิธีวิเคราะห์ลักษณะของยีนเซลมะเร็งในผู้ป่วยมะเร็งทั่วไปอยู่แล้ว แต่นี่เป็นครั้งแรกที่เริ่มนำมาใช้ในผู้ป่วยมะเร็งรังไข่

มูลนิธิ Clarity ทำการเปรียบเทียบลักษณะเซลมะเร็งรังไข่ของผู้ป่วยกับข้อมูลของผู้ป่วยคนอื่นๆที่มีอยู่ในระบบดาต้าเบสเพื่อดูว่ายาตัวไหนจากจำนวนยารักษามะเร็งสิบกว่าตัวที่ใช้รักษาผู้ป่วยมะเร็งรังไข่น่าจะได้ผลดีที่สุด เธอบอกว่า แนวการรักษาแบบนี้ช่วยพยุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้นหลังมะเร็งรังไข่กลับเป็นอีกและน่าจะนำไปสู่การพัฒนายาบำบัดตัวใหม่ๆที่มีผลโดยเฉพาะทางออกมารักษามะเร็งชนิดนี้

XS
SM
MD
LG